ประวัติวัดและพระพุทธรูป
เด็กชายกับตุ๊กตาจีน ในบริเวณพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ภาพ ปี พศ.๒๔๖๐ Cr.หนังสือฟิล์มกระจกจดหมายเหตุ
เด็กชายกับตุ๊กตาจีน ในบริเวณพระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ภาพ ปี พศ.๒๔๖๐ Cr.หนังสือฟิล์มกระจกจดหมายเหตุ
บนหลังคามีนกแร้งเกาะอยู่จำนวนมาก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.ศ. 2363 เกิดโรคห่า (อหิวาตกโรค) ระบาดอย่างหนัก ในกรุงเทพมหานคร ขณะนั้น ยังไม่มีวิธีรักษา และรู้จักการป้องกัน
ภูเขาทอง วัดสระเกศ ถ่ายภาพสมัยรัชกาลที่ ๕ ในภาพจะเห็นเสาสัญญาณธงที่นายพันเอก เจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสง ชูโต) ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาติติดตั้ง สำหรับใช้ในราชการทหาร ปรากฎอยู่ด้านบนด้วย
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง เป็นโบราณสถานที่อยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดที่มีความสำคัญมาแต่โบราณกาล สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘
พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักว้าง ๔ ศอก ฝีมือปั้นสันนิษฐานว่าเป็นยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปที่คู่กับบรมบรรพต (ภูเขาทอง) มาแต่ต้น เล่ากันมาว่าสร้างไว้ให้พุทธบริษัททั่วไปที่ไม่สามารถขึ้นไปบูชาบนองค์บรมบรรพต ได้บูชาที่พระพุทธรูปองค์นี้
โลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร (พระนคร) | Bangkok ถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 1914 (พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๕๗)
วัดเทพธิดารามวรวิหารเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯ ให้สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ หรือ พระเจ้าลูกเธอ พระองศ์เจ้าวิลาส พระราชธิดาองค์ใหญ่ใน รัชกาลที่ 3 สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2379 เสร็จในปี พ.ศ. 2382
ตามพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า มีพระภิกษุไทยคณะหนึ่ง เดินทางไปยังลังกาทวีป เพื่อนมัสการรอยพระพุทธบาท พระสงฆ์ลังกากล่าวว่า ประเทศไทยก็มีรอยพระพุทธบาทอยู่แล้ว ที่เขาสุวรรณบรรพต จึงได้นำความกราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมให้ทรงทราบ และได้สืบหาจนพบรอยพระพุทธบาท เพื่อเป็นที่สักการบูชา เป็นศูนย์รวมแห่งพลังศรัทธาอันยิ่งใหญ่
พระสยามเทวาธิราช เป็นเทวรูปที่สถาปนาขึ้นโดย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2403 เป็นเทวรูปทรงต้นยืน ทรงเครื่องกษัตราธิราช สวมมงกุฎ หล่อด้วยทองคำแท่งทั้งองค์ ทรงสถิตอยู่ในเรือนแก้วที่ทำด้วยไม้จันทน์ แบบวิมานเก๋งจีน เบื้องหลังมีคำจารึกด้วยอักษรจีน แปลเป็นไทยว่า “ที่สิงสถิตแห่งพระสยามเทวาธิราช”
ตามประวัติหลวงพ่อโต องค์นี้ สมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆัง ได้เริ่มต้นสร้างขึ้นมาในปี ๒๔๑๐ จนถึงปี ๒๔๑๕ สมเด็จโต ท่านก็ได้มรณภาพลงก่อนที่จะสร้างเสร็จ และ หลวงปู่ภู จฺนทเกสโร ศิษย์ของท่านจึงดำเนินการสร้างต่อ จนถึงปี ๒๔๖๓