ข่าวประวัติความเป็นมา หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี - kachon.com

ประวัติความเป็นมา หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติวัดและพระพุทธรูป

photodune-2043745-college-student-s

ประวัติความเป็นมา หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

"มงคลวันนี้ " หลวงพ่อโต  วัดป่าเลไลยก์ (ภาพเก่าหาชมยาก) กราบสาธุ  ขอบารมีหลวงพ่อโต  พระพุทธปฏิมาศักดิ์สิทธิ์อายุหลายร้อยปี  โปรดอภิบาลคุ้มครองรักษาลูกหลาน  จงโชคดีมีชัย  หมดทุกข์โศก  ไร้โรคภัย แคล้วคลาดปลอดภัย  ปราศจากศัตรูหมู่มารทั้งหลาย 

ประวัติความเป็นมาหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณกาล ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแลโปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อ พ.ศ. 1724 แสดงว่าวัดนี้ได้สร้างมาแล้วก่อนหน้านั้น องค์พระประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สูงใหญ่ มองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางป่าเลไลยก์ขนาด ใหญ่สูง 23 เมตรเศษ สร้างตามแบบศิลปอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองแท้ ๆ เดิมทีองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระหัตถ์ขวา ส่วนทางพระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระสร้างชิดกับผนังวิหารทำให้แข็งแรง นับเป็นความชาญฉลาดของช่างเป็นอย่างยิ่ง

มีผู้สันนิษฐานว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักหายไป ผู้ที่มาบูรณใหม่ได้ทำเป็นปางป่าเลไลยก์ตามที่นิยมกันในสมัยหลัง ลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย พระวิหารที่สร้างครอบองค์พระ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นว่าที่หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกรประจำพระองค์ คือเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฏอยู่

วัดป่าเลไลยก์เป็นที่คุ้นของคนทั่วไป เนื่องจากปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนแผนเมื่อเยาวัยได้มาบวชเรียนที่วัดนี้ในชื่อว่าเณรแก้ว ความสำคัญของวัดป่าเลไลยก์ตามที่พรรณนาไว้ใน เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนหนึ่งมีดังนี้
ทีนี้จะกล่าวเรื่องเมืองสุพรรณ
จะทำบุญให้ทานการศรัทธา
หญิงชายน้อยใหญ่ไปแออัด
ก่อพระเจดีย์ทรายเรียงรายไป
ยามสงกรานต์คนนั้นก็พร้อมหน้า
ต่างมาที่วัดป่าเลไลยก์
ขนทรายเข้าวัดอยู่ขวักไขว่
จะเลี้ยงพระกะไว้วันพรุ่งนี้......
งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ มีปีละสองครั้ง คือในวันขึ้น 5-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12

ปางป่าเลไลยก์
พระพุทธรูปปางนี้ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งบนก้อนศิลาห้อยพระบาททั้งสอง ทอดพระบาทน้อย ๆ พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุ เป็นกิริยาทรงรับ นิยมเรียกว่า " พระป่าเลไลยก์ " พระพุทธรูปปาง นี้ นิยมสร้างเป็นพระบูชาสำหรับคนเกิดวันพุธกลางคืน นับเข้าในเวลาพระราหูตามพิธีทักษา แม้คนที่มีอายุเข้าในเกณฑ์ดวงชะตาพระราหูเสวยอายุ ก็นิยมบูชาพระปางนี้ถือเป็นพระประจำเทวดานพเคราะห์

พระปางป่าเลไลยก์ นี้ เฉพาะที่เป็นพระขนาดใหญ่ ดูจะหาชมยากเห็นมีอยู่องค์หนึ่งในพระวิหารวัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี สูงถึง ๑๑ วา เป็นพระงามมากองค์หนึ่งทั้งยังบริบูรณ์ดีอยู่ เป็นพระสมัยอยุธยา อยู่ใกล้ทางไปจังหวัดสุพรรณบุรี ผู้มีใจเป็นกุศลผ่านไปน่าจะแวะเข้าไปนมัสการ

ความจริง พระปางนี้คนที่สร้างขึ้นไว้สำหรับบูชา ส่วนมากนิยมสร้างช้างป่าเลไลยก์และลิงร่วมอยู่ด้วย โดยเหตุที่พระพุทธรูปปางนี้ จะได้นามว่าพระปางป่าเลไลยก์ ก็เพราะช้างป่าเลไลยก์เชือกนี้ ดังนั้น จึงมีธรรมเนียมให้สร้างช้างหมอบถวายกระบอกน้ำอยู่แทบพระบาท และลิงนั่งถวายรวงผึ้งเป็นนิมิตร

พระพุทธรูปปางนี้มีตำนานดังนี้
ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ในเมืองโกสัมพี ทรงพระปรารภถึงพระภิกษุมากรูปด้วยกัน เป็นผู้ว่ายาก, วิวาทกัน, ไม่อยู่ในพระโอวาท ประพฤติตามใจตัวด้วยอำนาจมานะทิฏฐิ ทรงพร่ำสอนด้วยประการต่าง ๆ แม้อย่างนั้นแล้ว พระพวกนั้นก็ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เคารพในพระโอวาท ยังวิวาทกัน เป็นฝักเป็นฝ่ายไม่สามัคคีกัน พระบรมศาสดา ยังได้ทรงแสดงผลดีของการเคารพเชื่อฟังในพระโอวาท โดยทรงเล่าเรื่องทีฆาวุกุมารประทานเป็นตัวอย่างโดยพิสดารแล้วทรงประทานโสภณ ธรรม คือธรรมที่ทำให้งาม ๒ ประการ คือ ขันติ ความอดกลั้น, และ โสรัจจะ ความเสงี่ยมเจียมตัว พร้อมกับทรงเตือนซ้ำอีกว่า พวกเธอก็บวชในพระธรรมวินัยที่ตถาคตได้กล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้วก็ชอบที่จะเป็น คนอดทน, ประพฤติตามคำสอน, และ เสงี่ยมเจียมตนอยู่ในโอวาทจะได้เป็นผู้งามในธรรมวินัยนี้ แม้พระบรมศาสดาจะได้ทรงพระกรุณาพร่ำสอนถึงอย่างนี้แล้ว ก็ไม่สามารถจะทำให้สงฆ์สองพวกนั้นปรองดองดีกันได้

นี้แหละสมกับคำที่ นักปราชญ์กล่าวว่า คนตามืดยังพอสอน คนใจมืดแล้วสอนไม่ได้ เพราะคนที่ใจมืดด้วย โมหะ, มานะ, ทิฏฐินั้น ไม่ยอมรับโอวาท คนอย่างนี้ไม่มีใครสอนได้ ดูเถิด แม้แต่พระพุทธเจ้า ประทับสอนอยู่ตรงหน้า เขาก็มองไม่เห็น, ฟังไม่ออก, นรกเท่านั้นที่จะเตือนสติเขาให้สำนึกผิด ต่อมาพระบรมศาสดาทรงดำริว่า การอยู่ร่วมด้วยพระดื้อด้านพวกนี้ลำบาก มีพระประสงค์จะเสด็จหลีกไปอยู่ลำพังพระองค์เดียว จึงได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี ไม่ทรงแจ้งให้พระภิกษุสงฆ์ทราบ ทรงบาตรจีวรของพระองค์เองโดยลำพัง เสด็จไปยังพาลกโลณการาม ทรงแสดงเอกจาริกวัตร (ระเบียบของการจาริกไปคนเดียว) แก่พระภคุเถระในที่นั้น จากอารามนั้นแล้วเสด็จไปแวะที่ปราจีนวังสะมฤคทายวัน ตรัสอานิสงส์สามัคคีรสประทานแก่กุลบุตร ๓ คน แล้วเสด็จเข้าไปประทับที่ร่มไม้ภัทระสาละพฤกษ์ในราวไพรรักขิตวัน โดยผาสุกวิหาร
 
สมัยนั้น มีพญาช้างเชือกหนึ่งชื่อปาลิไลยกะเป็นเจ้าแห่งโขลงช้างใหญ่เกิดเบื่อหน่าย บริวารช้างทั้งหลาย คิดว่า อยู่ร่วมด้วยบริวารช้างเหล่านี้เป็นความลำบาก ทุกครั้งที่น้าวกิ่งไม้หักลงมา บรรดาช้างพลาย, ช้างพัง, ช้างตะกอ, และลูกช้าง ก็แย่งกันหักยอดไม้กินเสียหมด คราวลงสู่บึงน้ำใส ช้างเหล่านี้ก็พากันลงทำให้น้ำขุ่น ต้องกินน้ำขุ่น ต้องเบียดเสียดกับช้างทั้งหลายไม่มีความสะดวกสบาย มีความประสงค์อยากอยู่โดดเดี่ยวโดยลำพัง ครั้นเวลากลางคืนเมื่อช้างทั้งหลายหลับแล้ว พญาช้างปาลิไลยกะ ได้หนีออกจากโขลงแต่เชือกเดียว หาความสุขโดยลำพัง ครั้นเดินเที่ยวมาในชัฏป่าใหญ่ถึงที่ประทับของพระผู้มีพระภาค มีความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค นับแต่แรกที่ได้มองเห็นแต่ไกล จึงเดินเข้ามาใกล้หมอบถวายบังคมแทบพระยุคลบาทด้วยความเคารพรักพร้อมกับมอบ กายถวายชีวิตรับเป็นภาระอยู่อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าตลอดเวลา เริ่มต้นตั้งแต่หักกิ่งไม้มาปัดกวาดบริเวณนั้นให้สะอาด ถอนทิ้งต้นหญ้าและไม้เล็กไม้น้อยในบริเวณให้เตียน ไปตักน้ำใช้น้ำฉันมาถวายให้พระผู้มีพระภาค ได้สรงได้เสวยตามพระพุทธประสงค์อย่างสะดวกสบาย จัดหาผลไม้สุกในป่าเช่นกล้วยและขนุนมาถวายเวลาพระพุทธเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตใน เวลาเช้า ก็เอาบาตรตามไปส่งพระพุทธเจ้าแทบประตูป่า และรออยู่จนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับ รับบาตรจากพระหัตถ์ ตามพระพุทธเจ้ามาจนถึงที่ประทับปฏิบัติบำรุงพระพุทธเจ้าตามวิสัยของตนเป็น อย่างดีทุกประการ ครั้นเสร็จกิจปฏิบัติประจำวันแล้ว ก็หักกิ่งไม้ท่อนหนึ่งมาเป็นอาวุธ คอยพิทักษ์รักษามิให้สัตว์ร้ายมากล้ำกลายตลอดเวลา พระผู้มีพระภาค เสด็จประทับอยู่ด้วยความสงบสุข โดยอาศัยพญาช้างปาลิไลยกะบำรุงรักษา เพราะเหตุนี้ ชัฏป่านี้จึงได้นามว่า "รักขิตวัน" ตั้งแต่นั้นมา

วัน หนึ่ง พญาลิงตัวหนึ่งเที่ยวมาตามยอดไม้โดยลำพัง และเห็นพญาช้างทำงาน ปฏิบัติพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพเป็นอย่างดีเช่นนั้น ก็พอใจ เกิดมีกุศลจิตคิดจะเข้าไปปฏิบัติพระพุทธเจ้าบ้าง เฝ้านั่งมองดูอยู่ว่าเราควรจะทำอะไรดี ทันใดนั้นเองมองเห็นรวงผึ้งจับอยู่บนปลายไม้ มีน้ำผึ้งรวงเต็มอยู่ ก็ดีใจคิดว่าน้ำผึ้งรวงนี้มนุษย์ชอบกินกัน ด้วยเคยเห็นพรานป่าพยายามขึ้นต้นไม้หักเอารวงผึ้งชนิดนี้ไปเสมอ ๆ เราควรจะเอารวงผึ้งนี้แหละไปถวายพระพุทธเจ้า ด้วยแปลกจากผลไม้ที่พญาช้างถวายอยู่แล้ว ครั้นคิดเช่นนั้นแล้ว ก็ปีนป่ายขึ้นยอดไม้ หักเอารวงผึ้งลงมา ไล่ตัวออกหมดแล้วก็น้อมเข้าไปถวายพระพุทธเจ้าด้วยศรัทธา แล้วนั่งเฝ้ามองดูอยู่ว่า พระพุทธเจ้าจะทรงพระกรุณาเสวยหรือไม่ ครั้นเห็นพระพุทธเจ้าเสวยน้ำผึ้งรวงจากรวงผึ้งที่ตนน้อมถวาย ก็มีความยินดีเบิกบานใจ กระโดดโลดเต้นด้วยความดีใจว่า ตนก็มีส่วนได้ทำบุญถวายน้ำผึ้งพระพุทธเจ้า มีความร่าเริงใจกระโจนจากกิ่งไม้นี้ ไปจับกิ่งไม้โน้น แสดงความยินดีตามวิสัยสัตว์ที่ได้ทำบุญสมความประสงค์. การที่พระศาสดาได้เสด็จประทับอยู่ในป่ารักขิตวัน โดยลำพังพระองค์เดียว อยู่ด้วยการทำนุบำรุงของพญาช้างปาลิไลยกะนี้ ได้ปรากฏเป็นเรื่องสำคัญ รู้กันทั่วไปในชมพูทวีป 

หลังจากพระผู้มีพระภาค เสด็จจากโฆสิตาราม มาประทับอยู่ป่ารักขิตวันแล้วไม่นาน อุบาสกอุบาสิการวมทั้งคนใจบุญชาวเมืองโกสัมพีเป็นอันมาก ได้เข้าไปพระวิหารเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นไม่พบ และได้สืบถามได้ความดีแล้วต่างคนก็ต่างมีความน้อยใจ พากันตำหนิติเตียนพระพวกนั้นเป็นอย่างมากว่า พวกท่านบวชในสำนักพระศาสดา เมื่อพระศาสดาประทานโอวาทแนะนำให้สามัคคีกัน ก็ดื้อ, ไม่อยู่ในพระโอวาท ร้ายมาก, ทำให้พระองค์ต้องเดือดร้อน หลบหนีไปอยู่ป่าแต่พระองค์เดียว ให้พวกฉันขาดจากบุญกุศลที่ควรจะได้ถวายบังคมและได้ฟังธรรมจากพระองค์ เพราะพวกท่านเป็นเหตุ ตั้งแต่นี้ไปพวกฉันจะไม่บำรุงท่าน จะไม่ต้อนรับ จะไม่ไหว้ ไม่กราบ จะไม่ทำดีต่อทุก ๆ ประการ แล้วต่างก็เพิกเฉยหันหลังให้ภิกษุเหล่านั้น

เมื่อพระเหล่านั้นไม่ได้ รับการบำรุงจากคนทั้งหลาย ไม่กี่วันก็ซูบผอมเพราะอดอยากปากแห้ง, หมดแรงดื้อด้าน เล็งเห็นโทษของการทะเลาะ โทษของการไม่อยู่ในพระโอวาท หัวโตเป็นเปรตไปตาม ๆ กัน ถูกไฟนรกในมนุษย์บีบคั้น สิ้นพยศร้าย ต่างรูปต่างยอมรับผิด ยอมอดโทษให้แก่กันและกันและประพฤติดีต่อกันเป็นปกติ แล้วพากันเข้าไปหาอุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นสารภาพผิดว่า ท่านทั้งหลาย บัดนี้ข้าพเจ้าสามัคคีดีกันแล้ว ขอท่านทั้งหลาย จงอุปถัมภ์บำรุงอย่างแต่ก่อนเถิด ก็พระคุณท่านได้ทูลขอให้พระศาสดาทรงอดโทษให้แล้วหรือยังเล่า? ยังท่านอุบาสก ถ้าเช่นนั้น พระคุณท่านจงไปทูลขอให้พระองค์ทรงอดโทษให้เสียก่อน เมื่อพระศาสดาทรงอดโทษให้แล้วพวกกระผมจึงจะถวายการอุปถัมภ์บำรุงเช่นเดิม บังเอิญเวลานั้นยังอยู่ภายในพรรษา พระพวกนั้นไม่อาจไปเฝ้าพระศาสดาได้จำต้องอดใจ ทนต่อการลงโทษของอุบาสกอุบาสิกาด้วยการให้อดอยากปากแห้งจนออกพรรษาด้วยความ ทุกข์ยากอย่างยิ่ง

ครั้นออกพรรษาแล้ว บรรดาตระกูลเศรษฐีคฤหบดีใหญ่ ๆ ในพระนครสาวัตถี มีท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี และท่านมหาอุบาสิกาวิสาขาเป็นต้น ได้ส่งหนังสือมาถวายพระอานนท์เถระพุทธอุปัฏฐากว่า ขอให้พระอานนท์ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาให้เสด็จไปพระนครสาวัตถีให้ด้วย แม้ภิกษุตามชนบทต่าง ๆ ประมาณ ๕oo รูป ก็พากันเดินทางไปหาพระอานนทเถระ วอนว่า ท่านอานนท์ นานแล้วพวกกระผมไม่ได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาค ขอท่านได้กรุณาให้พวกกระผมได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเพื่อฟังธรรมด้วยเถิด พระเถระเจ้าได้พาภิกษุเหล่านั้นเดินทางไปยังป่ารักขิตวัน ครั้นถึงป่านั้นแล้วกลับคิดได้ว่า เรายังไม่ควรจะพาภิกษุทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ซึ่งเสด็จประทับอยู่ลำพังพระองค์เดียวก่อนที่ยังมิได้กราบทูลขอประทานโอกาส จึงให้พระทั้งหมดนั้นพักอยู่นอกป่าก่อน แล้วพระเถระเจ้าได้เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแต่องค์เดียว พอช้างปาลิไลยกะแลเห็นพระเถระเจ้าก็เอื้อมงวงหยิบท่อนไม้วิ่งเข้าใส่ทันที 

พระศาสดาทอดพระเนตรเห็น จึงรับสั่งว่า หยุด! ปาลิไลยกะ อย่าห้ามท่านเลย ท่านเป็นพุทธอุปัฏฐาก ช้างปาลิไลยกะวางท่อนไม้ทันที เดินตรงเข้าไปขอรับบาตรจีวร พระเถระเจ้าไม่ยอมให้ ช้างปาลิไลยกะคิดว่า ถ้าท่านรูปนี้มีการศึกษาขนบธรรมเนียมมาดีแล้วจะต้องไม่วางบริขารของตนลงบน แผ่นหินที่ประทับของพระศาสดา ครั้นเห็นพระเถระเจ้าวางบาตรจีวรของท่านบนพื้นดินก็มีความเลื่อมใส ถวายความเคารพรักใคร่ในพระเถระเจ้าเป็นอันดี
พระเถระเจ้าถวายบังคม พระศาสดาแล้ว นั่งอยู่ในที่อันควรข้างหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามว่า อานนท์, เธอมารูปเดียวเท่านั้นหรือ มากับพระ ๕oo รูป พระเจ้าข้า ก็แล้วพระเหล่านั้นอยู่ที่ไหนเล่า ข้าพระองค์ยังไม่ทราบพระประสงค์ จึงได้ให้ท่านพักรออยู่ข้างนอก พระเจ้าข้า ให้เขาเข้ามาพบได้ อานนท์! พระเถระเจ้าได้จัดให้เป็นไปตามพระบัญชา ครั้นภิกษุทั้งหลายได้เข้าเฝ้า ได้รับการปฏิสันถารจากพระศาสดาเป็นอันดีแล้ว ได้กราบทูลสรรเสริญพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ เสด็จประทับอยู่พระองค์เดียวโดยลำพังตลอดไตรมาสอย่างนี้ ทำได้ยากยิ่ง พระเจ้าข้า ผู้ถวายการปฏิบัติก็ดี ผู้ถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์ก็ดี เห็นจะไม่มี พระเจ้าข้า

พระศาสดาทรงรับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ธุรกิจของฉันทุกอย่างช้างปาลิไลยกะเขาช่วยทำให้ ความจริง การอยู่ร่วมกันควรจะได้เพื่อนเช่นนี้ เมื่อหาเพื่อนเช่นนี้ไม่ได้เที่ยวไปคนเดียวดีกว่า แล้วทรงแสดงธรรมโปรดภิกษุเหล่านั้น โดยพระคาถาว่า ถ้าบุคคลได้ สหายที่มีความรู้ รักษาตัวได้ มีปัญญารักจะอยู่ร่วมกับคนดี เป็นเพื่อนร่วมทางเขาก็ควรจะยินดี มีสติย่ำยีอันตรายรอบ ๆ ข้างทั้งปวงเสีย แล้วเที่ยวไปกับสหายผู้นั้น ถ้าหากไม่ได้สหายเช่นนั้น ก็ควรทำตนดังพระราชาที่ทรงละแว่นแคว้นเสด็จเที่ยวไปแต่ลำพังองค์เดียว เหมือนพญาช้างมาตังคะ เที่ยวไปในป่าโดยลำพังฉะนั้น การเที่ยวไปคนเดียวดีกว่าเพราะคนพาลเป็นสหายไม่ได้ (คนพาลคบใครไม่จริง) ในรูปการณ์เช่นนี้ควรจะเที่ยวไปคนเดียว และไม่ควรกระทำบาป ควรจะเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย เหมือนพญาช้างมาตังคะมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่าตามลำพังฉะนั้น.

ในเวลาจบคาถาธรรมภาษิต ภิกษุ ๕oo รูปเหล่านั้น ได้ดำรงอยู่ในอรหัตตธรรม พระอานนทเถระเจ้าได้กราบทูลพระศาสดาว่า เวลานี้อริยสาวกในนครสาวัตถี ประมาณ ๕ โกฏิ มีท่านอนาถบิณฑิกะเป็นประมุข ได้ส่งสาส์นแจ้งว่า ท่านมีความหวังเป็นอย่างมากต่อการเสด็จไปของพระองค์ พระศาสดาทรงรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นก็ควรจะไป อานนท์ เตรียมการไปได้แล้ว ทันใดนั้น พญาช้างปาลิไลยกะ ได้เดินเข้าไปขวางทางไว้ ภิกษุเหล่านั้นได้ทูลถามว่า ช้างปาลิไลยกะมีความประสงค์อะไร พระเจ้าข้า เขามีความหวังจะใคร่ถวายภักษาแก่พวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย, ปาลิไลยกะได้อุปการะฉันมาเป็นเวลานานไม่ควรจะขัดใจเขา กลับกันเสียก่อนเถิดภิกษุทั้งหลาย, ครั้นรับสั่งแล้ว ทรงพาพระทั้งหลายกลับเข้าไปประทับยังที่เดิม ต่อนั้น ช้างปาลิไลยกะ ก็เข้าป่ารวบรวมผลไม้ต่าง ๆ มีขนุนและกล้วย เป็นต้น ขนไปยังที่พัก ครั้นรุ่งขึ้นได้จัดถวายภิกษุทั้งหมด ปรากฏว่าหลังจากภิกษุสงฆ์ฉันอิ่มแล้ว ผลไม้ยังเหลืออยู่อีกเป็นอันมาก

ครั้นเสร็จภัตตกิจแล้ว พระศาสดาก็ทรงนำพระสงฆ์ทั้งหลาย เสด็จดำเนินออกจากที่นั้น ช้างปาลิไลยกะได้เดินตามพระศาสดาออกไปพร้อมกับพระสงฆ์ทั้งหลาย ครั้นเดินไปได้หน่อยก็ยืนขวางทางข้างหน้าพระศาสดาอีกภิกษุทั้งหลายทูลพระ ศาสดาว่า ช้างปาลิไลยกะมีความประสงค์อะไรฯ พระเจ้าข้าฯ เขาต้องการจะให้ส่งพวกเธอไปแล้วขอให้ฉันกลับน่ะซีฯ ถึงอย่างนั้นเจียวหรือพระเจ้าข้าฯ ใช่, เขาไม่ประสงค์จะให้ฉันจากไปฯ ลำดับนั้นจึงได้ตรัสกับช้างปาลิไลยกะว่า ปาลิไลยกะ, ฉันไปครั้งนี้แล้วจะไม่กลับมาอีก ในชาตินี้เธอจะยังบรรลุฌาน, วิปัสสนา, หรือมรรคผลอะไร ๆ ไม่ได้หรอก? ปาลิไลยกะอย่าคิดอะไรให้มากน๊ะ ช้างปาลิไลยกะฟังพระพุทธเจ้าตรัสแล้วหลีกทางให้เสด็จไป ตนเองเอางวงยัดเข้าไปในปาก ร้องไห้เดินตามหลังพระศาสดาไป ความจริงช้างปาลิไลยกะมีความยินดีที่จะปฏิบัติพระศาสดาตลอดชีวิตของเขาด้วย ความเคารพ

ครั้นพระศาสดาเสด็จถึงคามุปจาร (เขตแดนหมู่บ้าน) นั้น จึงหันพระพักตร์มาปราศรัยด้วยช้างปาลิไลยกะว่า ปาลิไลยกะ, ตั้งแต่ที่ตรงนี้ไปไม่ใช่ดินแดนของเธอเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ มีอันตราย หยุดแต่เพียงเท่านี้เถอะน๊ะ ปาลิไลยกะ แล้วทรงนำพระสงฆ์ดำเนินต่อไป ช้างปาลิไลยกะยืนร้องไห้ มองดูพระศาสดาอยู่ ณ ที่นั้น พอพระศาสดาเสด็จลับสายตาไป ช้างปาลิไลยกะก็พลันหัวใจวายล้มลงตาย ณ ที่นั้นทันที ด้วยกุศลแห่งความเลื่อมใสในพระศาสดา ปาลิไลยกะก็ได้บังเกิดเป็นเทพเจ้าในสรวงสวรรค์มีนามว่า "ปาลิไลยกะเทพบุตร" ส่วนพระศาสดาเมื่อเสด็จไปโดยลำดับ ก็ถึงพระเชตวันวิหาร ในพระนครสาวัตถีโดยสวัสดี

เมื่อภิกษุชาวเมืองโกสัมพีพวกนั้น ทราบข่าวว่าพระศาสดาเสด็จถึงเมืองสาวัตถีแล้วก็ดีใจ พร้อมกันเดินทางไปเฝ้า เพื่อขอให้พระองค์ทรงอดโทษให้ ครั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทราบข่าวว่า พวกภิกษุที่ก่อความแตกร้าวในโกสัมพีกำลังเดินทางเข้ามาก็เสด็จไปทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันจะไม่ยอมให้พระพวกนั้น เข้ามายังแว่นแคว้นของหม่อมฉันฯ พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร! พระเหล่านั้นมีศีลเพราะการวิวาทกันอย่างเดียวจึงไม่รับโอวาทของอาตมา แต่บัดนี้เธอรู้สึกผิดชอบแล้ว พากันมาประสงค์จะให้อาตมาอดโทษให้ ขอให้พระเหล่านั้นมาเถิด มหาบพิตร, แม้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้สร้างวัดเชตวันวิหาร ก็ได้เข้าเฝ้ากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้ามิให้พระพวกนั้นเข้าวิหารเช่นเดียว กัน ครั้นพระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้เป็นที่เข้าใจดีแล้ว ก็อนุวัตรตามพระบัญชา

เมื่อพระชาวเมืองโกสัมพีเหล่านั้นมาถึงเมืองสา วัตถีแล้ว พระศาสดาก็โปรดให้จัดเสนาสนะที่สงัดในส่วนข้างหนึ่งให้เป็นที่พัก บรรดาพระสงฆ์ต่างถิ่นทราบเรื่องนี้เข้าก็ไม่นั่งร่วม ไม่ยืนร่วมด้วยพระสงฆ์พวกนี้ พระต่างถิ่นที่มาเฝ้าพระศาสดาอีกก็พากันทูลถามว่าพระพวกไหน พระเจ้าข้า ที่ก่อความแตกร้าวกันขึ้นในเมืองโกสัมพี พระศาสดาตรัสบอกว่า พวกนี้แหละภิกษุ พวกนี้แหละภิกษุ ตลอดเวลาที่ภิกษุพวกนั้น ถูกพระศาสดาชี้พระหัตถ์ตรัสบอกว่าเป็นพวกก่อความแตกร้าวอยู่เช่นนี้ ได้รับความอัปยศมาก ไม่อาจยกศีรษะขึ้นมองดูอะไร ๆ ได้ หมอบลงกราบแทบพระยุคลบาทพระบรมศาสดา ทูลขอให้พระองค์ทรงพระกรุณาอดโทษให้

พระ ศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทำกรรมหนักมาก พวกเธอบวชในสำนักพระพุทธเจ้าอย่างฉัน และเมื่อฉันเตือนให้สามัคคีกัน พวกเธอก็ดื้อไม่ทำตาม เป็นความผิดหนักมาก แล้วทรงแสดงอานิสงส์ของการเป็นผู้ว่าง่าย การอยู่ในโอวาท ให้เกิดประโยชน์มาก ได้ทรงแสดงเรื่องพระเจ้าทีฆาวุ ที่ทรงมั่นอยู่ในพระโอวาทของพระชนก ภายหลังได้เป็นกษัตริย์ปกครองราชสมบัติทั้งสองแว่นแคว้น แล้วตรัสพระธรรมเทศนาโดยพระคาถาว่า คนเหล่าอื่นเขาไม่มีความ รู้สึกอย่างไร แต่พวกเรากำลังย่อยยับ, ป่นปี้, เมื่อคนเหล่าใด ในหมู่นั้น เกิดรู้จริงเห็นแจ้งว่า พวกเรากำลังวอดวาย เมื่อนั้นความทะเลาะกัน วิวาทกัน ก็ย่อมสงบลงได้ เพราะการปฏิบัติถูกของคนเหล่านั้น
ในเวลาจบพระโอวาท ภิกษุที่ประชุมอยู่ ณ ที่นั้น ได้ดำรงอยู่ในอริยผลเป็นอันมาก

จบตำนานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์แต่เพียงนี้.

ที่มาประวัติหลวงพ่อโต จากเว็ปวัดป่าเลไลย์ 

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : ตำนานเล่าขานพระผู้ทรงฌานอภิญญา ครูบาอาจารย์ผู้เรืองวิชาอาคม

.....

ความศักดิ์สิทธิ์ภายในพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดอรุณราชวราราม

งานพิธีมังคลาภิเษกเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื่องในวาระครบรอบ ๒๕๕ ปีกรุงธนบุรี และพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม มีอายุวัฒนะมงคล ๘๐ ปี โดยประกอบพิธีภายในโบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา 

ผมอาจารย์ไก่ ทิพยจักร ได้พาหมู่คณะเข้าร่วมพิธีมหามงคลอันศักดิ์สิทธิ์ครั้งนี้ ซึ่งจากบรรยากาศและการสัมผัสกับกระแสความศักดิ์สิทธิ์จากภายในงานครั้งนี้ พบว่าคณะศิษย์แต่ละคนต่างเล่าถึงความรู้สึกจากภาายในงานต่างๆกัน บางท่านเล่าว่า เมื่อเข้ามาสู่ปริมณฑลพิธีก็รู้สึกถึงพลังงานที่อัดแน่น เป็นเหล่าเทพเทวาที่มาประชุมกัน จนรู้สึกสั่นน้อยๆ และอาการต่างๆอีกมาก 

และอีกหลายท่านเล่าว่าขนลุก เกิดปีติ บางท่านรู้สึกถึงกระแสพลังงานจากเบื้องบนที่เชื่อมลงมาสู่ปริมณฑล อาการความสัมผัสทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก หนึ่งในงานวันนั้นผมเชิญอาจารย์อองตวนชาวฝรั่งเศษที่สนใจทางจิตศาสตร์ ท่านเล่าให้ฟังว่า ในขณะเริ่มพิธีในโบสถ์น้อย ท่านสัมผัสกระแสพลังงานดิ่งลงมาจากเบื้องบนเป็นพลังงานที่รุนแรงทรงพลังมากๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการขนลุกสะท้านไปทั้งตัว

ส่วนตัวผมนั้นรู้สึกทางใจถึงเทพยดาที่ลงมาในงานและมาร่วมอนุโมทนา เป็นพลังงานที่แรงมาก ตั้งแต่ก่อนเริ่มพิธีจนจบพิธี ดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จลงมาแน่นอนพร้อมทั้งเหล่าทหารกล้าและบรรพบุรุษต่างมาร่วมอนุโมทนาในงานครั้งนี้และร่วมปลุกเสกแผ่พลังแห่งความกล้าหาญ ชัยชนะลงสู่มงคลวัตถุเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี และพระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผมถามในใจว่าวัตถุมงคลนี้จะดีด้านใด ก็ได้รับคำตอบว่าผู้ที่มีวัตถุมงคลรุ่นนี้จะไม่จน ไม่แพ้ จะมีพลังจิตพลังกายกล้าหาญ มีตบะอำนาจ ไม่หวั่นเกรงภยันอันตรายและไม่มีศัตรูหมู่มารภูติผีปีศาจใดๆมาทำร้ายมากล้ำกรายได้ จะเป็นผู้มีชัยชนะอยู่เหนืออุปสรรค อยู่เหนือความจน อยู่เหนือศัตรูคู่แข่งทั้งหลาย  และตลอดที่อยู่บนแผ่นดินไทยจะร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายดีมีกำไรเสมอไป 

นี่คือสิ่งที่ผมสื่อได้จากภายในวันงานและจากคำบอกเล่าประสบการณ์ของผู้ที่มาในวันนั้น จึงขอยืนยันด้วยความรู้สึกจากภายในตัวผมว่าวัตถุมงคลรุ่นมหาเศรษฐีที่จัดสร้างครั้งนี้ สมเด็จพ่อพระเจ้าตากสินมหาราชและทหารกล้าอีกทั้งบรรพบุรุษลงมาเสกประสิทธิด้วยพระองค์เองเป็นวัตถุมงคลที่เข้มขลังมาก ทรงพลังมาก มีอานุภาพมากเกินกว่าจะพรรณาได้ทั้งหมด ทั้งนี้ใครได้ไว้ถือเป็นบุญเป็นมหามงคลของชีวิตผู้นั้นโดยแท้

ท่านผู้ศรัทธาสามารถร่วมบุญบูชาได้ที่ ศาลาอรุณนราภิรมย์ วัดอรุณราชวราราม สอบถามประชาสัมพันธ์  คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ปล.กำหนดการแจกฟรี พระผงของขวัญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.สำหรับบุคคลทั่วไป กำหนดให้มีการแจกฟรีเพียงครั้งเดียว ณ พระอุโบสถน้อย วัดอรุณราชวราราม ในวันอาทิตย์ ที่ 17 ธันวาคม 2566 หลังเสร็จพิธีมหาพุทธาเทวาภิเษก
2.สำหรับศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากทั่วประเทศ ที่สนใจจะขอรับเป็นสื่อกลางในสะพานบุญครั้งนี้ ติดต่อที่ คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร เบอร์ 064-815-5141 ไอดีไลน์ NOPPARUTNONG

ทิพยจักร
18 ธค 2566

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  (หมดแล้ว)
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท (หมดแล้ว)
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท (หมดแล้ว)   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ประธานที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)