ประวัติพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
ประวัติวัดและพระพุทธรูป
ประวัติพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ
พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกันกับพระพุทธชินราช พระศรีศาสดาและพระเหลือ เดิมประดิษฐานอยู่ในพระวิหารด้านเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาพระวิหารชำรุดทรุดโทรมลง ขาดการปฏิสังขรณ์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๒
ประวัติการสร้าง
พระพุทธชินสีห์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด คงมีแต่พงศาวดารเหนือ ซึ่งเป็นเอกสารที่เล่าถึงตำนานเมืองเหนือเรื่องต่างๆ สมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ในปีพุทธศักราช ๒๓๕๐ ที่อ้างถึงกษัตริย์เชียงแสนพระนามพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเป็นผู้สร้าง พร้อมกับการสร้างเมืองพิษณุโลกและพระพุทธรูปอีก ๒ องค์คือพระพุทธชินราชและพระศรีศาสดา
พุทธศักราช ๒๔๐๙ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชนิพนธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ในชื่อ "ตำนานพระพุทธชินราช พระพุทธชินศรี และพระศรีศาสดา" ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ โดยใช้พงศาวดารเหนือในการอ้างอิงจึงทำให้มีเนื้อหาหลักคล้ายคลึงกัน แต่เพิ่มเติมการสร้างพระเหลือเข้าไป และมีการระบุศักราชในการสร้างพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ไว้ดังนี้ พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาหล่อในปีพุทธศักราช ๑๔๙๘ และพระพุทธชินราชหล่อขึ้นในปีพุทธศักราช ๑๕๐๐ (หย่อนอยู่ ๗ วัน)
พุทธศักราช ๒๔๒๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้ทรงแต่งตำนานการสร้างพระพุทธชินราชขึ้นอีกสำนวนหนึ่ง ชื่อ "พงษาวดารเหนือ : เป็นลิลิตเรื่องนิทานพระร่วง แลนิทานพระเจ้าธรรมไตรปิฎก นิทานพระชินศรี พระชินราช พระศาสดา" ซึงมีเนื้อเรื่องเช่นเดียวกับพงศาวดารเหนือและพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างพระบรมราชจักรีวงศ์กับพระพุทธชินราชเข้าไปด้วย
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้มีพระดำริเกี่ยวกับประวัติการสร้างพระพุทธชินสีห์จากหลักฐานทางพุทธศิลป์นำมาเปรียบเทียบกับพงศาวดารเหนือว่าพระพุทธชินสีห์ ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย เนื่องจากพุทธศิลป์อย่างพระพุทธรูปสุโขทัยระคนกับพุทธศิลป์เชียงแสนแต่มีพัฒนาการไปกว่าพระพุทธรูปที่มีอยู่เดิม และช่างผู้สร้างพระพุทธชินสีห์กับพระพุทธชินราชนั้นเป็นช่างเดียวกัน หากแต่พระศรีศาสดาเป็นช่างอื่นจากลักษณะประติมากรรมของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ที่ปรากฏ
แต่จะสร้างพร้อมกันทั้ง ๓ องค์หรือไม่นั้นไม่ทราบแน่ชัด และเมื่อพิจารณาช่วงเวลาการสร้างแล้วทรงคาดว่าพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์น่าจะสร้างในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ในปีพุทธศักราช ๑๙๐๐ มิใช่พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โดยประทานเหตุผลว่า "พระเจ้าแผ่นดินซึ่งปรากฏพระเกียรติในเรื่องพระไตรปิฎกนั้นมีแต่พระองค์เดียวคือพระมหาธรรมราชาลิไทย...พระมหาธรรมราชานี้เองที่พงศาวดารเหนือเรียกว่า พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก"
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ประทานความเห็นไว้ว่าพระพุทธชินสีห์น่าจะสร้างขึ้นหลังจากหล่อพระพุทธชินราชสำเร็จลงแล้ว เนื่องจากข้อบกพร่องต่างๆ ที่พระพุทธชินราชมีนั้น ถูกแก้ไขและเพิ่มเติมความปราณีตในพระพุทธชินสีห์ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามความเห็นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ณ ขณะนี้คือความเห็นในแนวทางเดียวกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่เชื่อว่าพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์นี้ถูกสร้างขึ้นในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย)
การเคลื่อนย้ายที่ประดิษฐาน
หลังจากสงครามอะแซหวุ่นกี้ในปีพุทธศักราช ๒๓๑๘ เมืองพิษณุโลกถูกเผาทำลายโดยเฉพาะพระราชวังจันทน์และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุซึ่งได้รับความเสียหายเป็นอันมาก รวมถึงพระวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธชินสีห์ที่แม้ไม่ได้ถูกเผาไปด้วยแต่ก็ชำรุดทรุดโทรมลงเนื่องจากขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์พุทธศักราช ๒๓๗๒ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ มุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุขวัดบวรนิเวศวิหาร
ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงผนวช ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถหน้าพระพุทธสุวรรณเขต เมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๐ เนื่องจากทรงต้องการขยายทักษิณพระเจดีย์จึงต้องรื้อมุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุขลง
การบูรณะปฏิสังขรณ์
พุทธศักราช ๒๓๘๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงผนวช ทรงติดทองกะไหล่พระรัศมี ฝังพระเนตรและฝังเพชรที่พระอุณาโลมใหม่ พร้อมทั้งปิดทององค์พระพุทธรูป ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ในพุทธศักราช ๒๓๙๔ โปรดเกล้าฯ ให้แผ่แผ่นทองคำลงยาราชาวดีประดับพระรัศมีเดิม ถวายฉัตรตาด ๙ ชั้น ถวายผ้าทรงสะพักตาด ต้นไม้เงินทอง และพุทธศักราช ๒๓๘๙ โปรดเกล้าฯให้หล่อฐานสำริดปิดทองใหม่มีการสมโภช
ลักษณะทางพุทธศิลป์
พระเกศรัศมียาวเป็นเปลวเพลิง พระเกศาขดเป็นก้นหอยขนาดใหญ่ วงพระพักตร์ค่อนข้างกลมไม่ยาวรีเหมือนผลมะตูมเช่นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ พระวรกายอวบอ้วนมีสังฆายาวปลายหยักเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้งสี่ยาวเสมอกัน (ทีฆงคุลี) ฝ่าพระบาทแบนราบค่อนข้างแคบเมื่อเทียบกับพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดใหญ่ ส้นพระบาทยาว
การจัดหมวดหมู่
พระพุทธชินสีห์ ถูกจัดให้อยู่ในพระพุทธรูปหมวดพระพุทธชินราช (พระพุทธรูปสกุลช่างเมืองพิษณุโลก ซึ่งมีลักษณะต่างจากหมวดใหญ่เล็กน้อย คือพระพักตร์ที่อวบอ้วนมากกว่าและที่สำคัญคือการทำปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ ยาวเสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปหมวดนี้) ถือเป็น ๑ ใน ๔ หมวดของพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
และท่านเจ้าของภาพทุกท่านที่เราได้เอามานำเสนอในสกู๊ปนี้
หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน
.....
วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
วัตถุประสงค์
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ
รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท
ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท
ลำดับที่ 3 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท
ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน) บูชาชุดละ 12,500 บาท
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน)
รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี
4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม
7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)
รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ
ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)
ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย
รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์
รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส
คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์ ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์ ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)