ข่าวตำนานการเดินทาง ๓๕๐ ปี ของพระแก้วมรกต ก่อนมาถึงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๓๒๗ - kachon.com

ตำนานการเดินทาง ๓๕๐ ปี ของพระแก้วมรกต ก่อนมาถึงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๓๒๗
ประวัติวัดและพระพุทธรูป

photodune-2043745-college-student-s

ตำนานการเดินทาง ๓๕๐ ปี ของพระแก้วมรกต ก่อนมาถึงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๓๒๗

พระแก้วมรกต หรือ พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่จนไม่รู้ว่าใครสร้าง และสร้างมาแต่เมื่อใด เป็นความลับที่ยังหาคำตอบไม่ได้จนถึงทุกวันนี้ อีกทั้งฝีมือที่สร้าง แม้จะลงความเห็นกันว่าเป็นฝีมือระดับช่างเอก แต่รูปแบบก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นฝีมือของช่างอินเดีย เขมร มอญ พม่า ไทย หรือจีน จนมีตำนานกล่าวไว้ว่าเป็นฝีมือเทวดาสร้าง

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนิพนธ์เรื่องตำนานพระแก้วมรกตไว้ตอนหนึ่งว่า “อนึ่ง จะว่าด้วยฝีมือช่างที่ทำพระพุทธรูปองคนี้นั้นว่า เมื่อพิจารณาเห็นเทียบเคียงดู ก็เห็นเป็นฝีมือช่างเอกทีเดียวในครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง จะเป็นฝีมือช่างอินเดียคือเมืองเบงกอลราฐสุรัฐและเมืองแขกพราหมณ์ข้างมัชฌิมประเทศ ที่ไทยเรียกเมืองเทศนั้นก็มิใช่เลย อนึ่งจะเป็นฝีมือเมืองสิงหนีมอญพม่า เขมร แลไทยเหนือหรือจีนก็มิใช่ ดูฝีมือไม่ใกล้เคียงคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปซึ่งเป็นฝีมือช่างในเมืองทั้งปวงที่ออกชื่อมาเลย ถ้าจะว่าเป็นฝีมือเทวดาดังตำนานว่า ก็เห็นว่าฝีมือเทวดาคงจะผิดกว่าฝีมือช่างมนุษย์ทั้งปวงทีเดียว เมื่อเปรียบเทียบไปโดยละเอียด ดูเหมือนจะเป็นฝีมือช่างลาวเหนือโบราณข้างเมืองเชียงแสน เห็นคล้ายคลึงมากกว่าฝีมือช่างเมืองอื่น”

มีตำนานโบราณเขียนเป็นภาษามคธ เรียกพระแก้วมรกตว่า “รัตนพิมพวงศ์” และกล่าวว่าเทวดาเป็นผู้สร้างถวายพระอรหันต์องค์หนึ่งนามว่า “พระนาคเสนเถระ” แห่งเมืองปาฏลีบุตร พระนาคเสนเป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์สำเร็จด้วยอภิญญา ได้อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ประดิษฐานอยู่ในองค์พระมหามณีรัตนปฏิมากรถึง ๗ พระองค์ คือในพระโมฬี พระนลาฏ พระอุระ พระอังสาทั้ง ๒ ข้าง ในพระชาณุทั้ง ๒ ข้างอีก รวมเป็น ๗ พระองค์ เนื้อแก้วก็ปิดมิดชิดสนิทติดเป็นเนื้อเดียวดังเดิม ไม่มีร่องรอย

พระมหามณีรัตนปฏิมากรอยู่เมืองปาฏลีบุตร แล้วตกไปอยู่ลังกาทวีป เมืองกัมโพชา เมืองศรีอยุธยา เมืองละโว้ เมืองกำแพงเพชร แล้วจึงตกไปอยู่เมืองเชียงราย เจ้าเมืองเชียงรายหวังจะซ่อนศัตรูจึงเอาปูนทา ลงรักปิดทอง แล้วบรรจุไว้ในเจดีย์ นอกจากนี้ยังมีนิทานอีกหลายเรื่อง ที่เมืองเขมรบ้าง ไทยบ้าง ลาวบ้าง แต่งไว้เกี่ยวกับพระแก้วมรกต แต่ทั้งหมดก็เป็นเพียงตำนานหรือนิทาน ไม่มีเรื่องไหนที่ยืนยันความจริงเกี่ยวกับพระแก้วมรกตได้

เรื่องราวของพระแก้วมรกตปรากฏชัดแจ้งตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๙๗๗ เป็นต้นมา เมื่อฟ้าได้ผ่าพระสถูปเจดีย์เก่าองค์หนึ่งของวัดป่าญะ ตำบลเวียง เมืองเชียงราย เมื่อพระสถูปเจดีย์นั้นพังลงมา ก็ได้เห็นพระพุทธรูปปูนองค์หนึ่งปิดทองทึบทั้งองค์ซ่อนอยู่ภายใน ก็คิดกันว่าเป็นพระพุทธรูปปูนธรรมดา จึงอัญเชิญไปไว้ในวิหาร ต่อมาอีก ๒-๓ เดือน ปูนที่ลงรักปิดทองที่พระนาสิกได้กระเทาะออก เห็นเป็นแก้วสีเขียวงาม เจ้าอธิการจึงให้แกะออกทั้งองค์ คนทั้งปวงจึงได้เห็นว่าเป็นพระพุทธรูปแก้วทึบทั้งองค์ สีเหมือนมรกต ไม่มีบุบสลาย เรื่องราวของพระแก้วมรกตที่ปรากฏชัดจึงเริ่มขึ้นในตอนนี้ ส่วนใครจะเป็นผู้หุ้มปูนปิดทองแล้วนำมาซ่อนไว้ในพระเจดีย์ และซ่อนไว้ตั้งแต่เมื่อใด ด้วยเหตุผลใด ไม่มีใครทราบ

เมื่อชาวเมืองเชียงรายและใกล้เคียงได้ทราบข่าว ต่างแตกตื่นไปนมัสการบูชา ท้าวเพี้ยผู้รักษาเมืองจึงมีใบบอกไปถึงเจ้าเมืองเชียงใหม่ผู้ปกครองเชียงราย เจ้าเมืองเชียงใหม่ จึงจัดขบวนช้างแห่ไปรับพระแก้วมาโดยหลังช้าง ครั้นมาถึงสามแยกไปเมืองนครลำปาง ช้างที่รับพระแก้วมาก็ตื่นวิ่งไปทางเมืองนครลำปาง ควาญช้างเล้าโลมจนช้างสงบลงแล้ว ให้ออกเดินทางไปเชียงใหม่ ช้างก็ตื่นจะไปนครลำปางอีก แม้เปลี่ยนช้างเอาช้างที่เชื่องมารับ ช้างก็ตื่นจะไปทางลำปางเช่นกัน ครั้นมีใบบอกไปทางเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่ที่นับถือผี วิตกว่าผีที่รักษาองค์พระไม่ยอมมาเมืองเชียงใหม่ จึงยอมให้อัญเชิญพระแก้วไปประดิษฐานไว้ที่นครลำปาง

พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่วัดพระแก้วเมืองลำปางนาน ๓๒ ปี ครั้นถึง พ.ศ.๒๐๑๑ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ใหม่ดำริว่า ที่เจ้าเมืององค์เก่ายอมให้พระแก้วไปอยู่มืองลำปางนี้นไม่ควรเลย จึงส่งขบวนไปอัญเชิญมาไว้ที่เชียงใหม่ สร้างเป็นปราสาทมียอดสูงจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้ว แต่ก็ถูกฟ้าผ่าหลายครั้งจนต้องเลิกล้มความตั้งใจ อัญเชิญไปไว้ในพระวิหารที่มีซุ้มจระนำอยู่ในผนังด้านหลัง พร้อมเครื่องประดับอาภรณ์ต่างๆ มีบานปิดเป็นตู้เก็บรักษา และเปิดให้ผู้คนนมัสการได้เป็นคราวๆ

พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่เชียงใหม่นานถึง ๘๔ ปี จนถึง พ.ศ.๒๐๙๕ ก็ต้องเดินทางอีกครั้ง เมื่อ เจ้าไชยเสรษฐาธิราช เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งเป็นบุตรของ พระเจ้าโพธิสาร เจ้าเมืองหลวงพระบาง เพราะเจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ก่อนได้ยกราชธิดาชื่อ ยอดคำ ให้เป็นมเหสีพระเจ้าโพธิสาร มีราชบุตรคือเจ้าไชยเสรษฐ์องค์นี้ เมื่อเจ้าไชยเสรษฐ์อายุได้ ๑๕ ปี เจ้าเมืองเชียงใหม่ผู้เป็นอัยกาถึงชีพิตักษัย ไม่มีทายาทครอบครองเชียงใหม่ ท้าวพระยาและบรรดาพระสงฆ์ผู้ใหญ่ทั้งปวงจึงพร้อมกันไปขอเจ้าไชยเสรษฐ์มาเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ มีนามว่า เจ้าไชยเสรษฐาธิราช ครั้นต่อมาพระเจ้าโพธิสารสิ้นพระชนม์ น้องชายต่างมารดาได้เป็นเจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าไชยเสรษฐ์จึงพาครอบครัวไปร่วมงานศพพระบิดา โดยอัญเชิญพระแก้วมรกตไปด้วย อ้างว่าจะนำไปให้ญาติวงศ์นมัสการบูชา แต่เกิดความขัดแย้งกันในราชสมบัติ ในที่สุดเจ้าไชยเสรษฐาธิราชได้ขึ้นครองเมืองหลวงพระบาง ไม่ได้กลับเชียงใหม่ 

พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง ๑๒ ปี จนเมื่อเจ้าไชยเสรษฐาธิราชลงมาตั้งเมืองหลวงใหม่ที่กรุงเวียงจันทน์ ก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตลงมาด้วย พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่เวียงจันทน์นานถึง ๒๑๕ ปี จนในปี พ.ศ.๒๓๒๑ ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพไปตีเมืองล้านช้าง หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ ได้เป็นขอบขัณฑสีมา จึงได้อัญเชิญพาระแก้วมรกตกลับมากรุงธนบุรีด้วย พระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้สร้างโรงพระแก้วขึ้นที่หลังพระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามในพระราชวัง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๒ เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต 

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกขึ้นครองราชย์ ได้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๕ ทรงย้ายพระนครมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โปรดให้สร้างวัดเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกตขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เมื่อพระอารามแล้วเสร็จ จึงโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตแห่ด้วยขบวนเรือข้ามฟากมายังพระอารามที่สร้างขึ้นใหม่ในวันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ตรงกับวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๗ และผูกพัทธสีมาในวันนั้น พระราชทานนามว่า “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม”

ส่วนกรุงเทพมหานคร ก็มีชื่อว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา” มีความหมายว่า พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นนครที่ไม่มีใครรบชนะได้ เมื่อตอนที่ฝรั่งเศสบีบเค้นเอาดินแดนจากไทย ไม่ได้แค่จะเอาดินแดนในลาวและเขมรเท่านั้น ยังเรียกร้องจะเอาพระแก้วมรกตด้วย เนื่องจากอ่านประวัติศาสตร์ไม่จบ จึงอ้างว่าเป็นของลาว ไทยไปเอามาจากลาว ฉะนั้นต้องคืนให้ฝรั่งเศสด้วย ผู้แทนฝ่ายไทยต่างลุกขึ้นเดินออกจากที่ประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ทำให้ฝรั่งเศสต้องถอนข้อเรียกร้องนี้จึงเจรจากันต่อได้ ฉะนั้นกรุงเทพมหานคร จึงต้องมีพระแก้วมรกตสถิตอยู่ คู่พระนครตลอดไป

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ เรื่องเก่า : เล่าสนุก โดย โรม บุนนาค
และท่านเจ้าของภาพทุกท่านที่เราได้เอามานำเสนอในสกู๊ปนี้

.....

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท  
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)