ข่าวประวัติความเป็นมาของ ท่าเตียน ตำนานแห่ง ยักษ์วัดแจ้ง ยักษ์วัดโพธิ์ - kachon.com

ประวัติความเป็นมาของ ท่าเตียน ตำนานแห่ง ยักษ์วัดแจ้ง ยักษ์วัดโพธิ์
ประวัติวัดและพระพุทธรูป

photodune-2043745-college-student-s

ประวัติความเป็นมาของ ท่าเตียน ตำนานแห่ง ยักษ์วัดแจ้ง ยักษ์วัดโพธิ์

ท่าเตียน มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคเริ่มต้นสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยอยู่บริเวณด้านหลังพระบรมมหาราชวัง และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยที่ชื่อ "ท่าเตียน" มีที่มาต่าง ๆ กันไป บ้างก็ว่าเกิดจากในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ที่แถบนี้เคยเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ จนราบเรียบเหี้ยนเตียน หรือเชื่อว่ามาจาก "ฮาเตียน" เมืองท่าแห่งหนึ่งในตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเกียนซาง ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นดินแดนของไทย ในชื่อ บันทายมาศ หรือ พุทไธมาศ 

เนื่องจากแถบนี้ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวญวนอพยพหนีภัยสงครามจากเว้ ตั้งแต่ยุคกรุงธนบุรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และชาวญวนเหล่านี้ได้เรียกชื่อถิ่นฐานนี้ว่าฮาเตียน เนื่องจากมีภูมิทัศน์คล้ายกับฮาเตียนเพื่อคลายความคิดถึงถิ่นฐานตนเอง และได้เรียกเพี้ยนมาเป็นท่าเตียนในที่สุด แต่ทั้งนี้ท่าเตียนปรากฏมาตั้งแต่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏหลักฐานเป็นนิราศของหม่อมพิมเสนเรียกว่า "บางจีน" สันนิษฐานว่าอาจเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวจีนด้วย

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

และยังมีตำนานเมืองที่โด่งดังมาก คือ เรื่องของยักษ์เฝ้าประตูวัดสองฟากต่อสู้กัน คือ ยักษ์วัดแจ้ง จากฝั่งธนบุรี ต่อสู้กับ ยักษ์วัดโพธิ์ แห่งฝั่งพระนคร เนื่องจากผิดใจกันเรื่องการขอยืมเงินกัน จนในที่สุดที่บริเวณนี้เหี้ยนเตียนราบเรียบไปหมด ซึ่งในบางตำนานก็มีการเสริมเติมแต่งเข้าไปอีกว่า ที่ยักษ์ทั้งสองตนนั้นหยุดสู้กันเพราะมีโยคีหรือฤๅษีมาห้าม บ้างก็ว่าเป็นยักษ์วัดพระแก้วเข้ามาห้าม

ปัจจุบัน ท่าเตียนเป็นทั้งตลาดและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม มีร้านอาหารและร้านกาแฟเป็นจำนวนมาก ในส่วนของตลาด เป็นตลาดที่นับว่าใหญ่ที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นตลาดที่มีสินค้าหลากหลายประเภทขายทั้งสินค้าทางการเกษตรหรือข้าวของเครื่องใช้ เนื่องจากเป็นท่าจอดเรือที่มีชัยภูมิเหมาะสม โดยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีชื่อเรียกว่า "ตลาดท้ายวัง" หรือ "ตลาดท้ายสนม" กินอาณาบริเวณตั้งแต่ถนนท้ายวังจนถึงตลาดท่าเตียนในปัจจุบัน 

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

เป็นตลาดที่บรรดานางในหรือนางสนมจะออกจากกำแพงพระบรมมหาราชวังมาจับจ่ายซื้อข้าวของต่าง ๆ โดยสินค้าที่นิยมมากที่สุด คือ ดอกไม้ ต่อมาได้รวมเป็นตลาดเดียวกับตลาดท่าเตียน จนกระทั่งถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเริ่มมีการสร้างอาคารขึ้นมาอย่างเป็นรูปร่าง โดยวางแนวเป็นรูปตัวยู ด้วยสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก และมีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น 

และกลายมาเป็นแหล่งค้าส่งแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น วัสดุก่อสร้าง, เครื่องตัดหญ้า, อะไหล่รถยนต์, ผักและผลไม้, น้ำตาล, ลูกอมหรือท็อฟฟี่ รวมถึงอาหารทะเลแห้ง เป็นต้น ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ท่าเตียนมีสถานะเป็นตำบลชื่อ "ตำบลท่าเตียน" ขึ้นอยู่กับอำเภอพระราชวัง (เขตพระนครในปัจจุบัน) ปัจจุบันอาคารพาณิชย์ตลอดจนบ้านเรือนต่าง ๆ ได้รับการบูรณะปรับปรุงโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปี พ.ศ. 2556 ให้แลดูใหม่และสวยงามยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ท่าช้างที่อยู่ใกล้เคียง โดยทำการปรับปรุงทั้งสิ้น 55 คูหา

ในส่วนที่เป็นท่าเรือ ในอดีตเป็นท่าเรือที่มีเรือเมล์วิ่งไปจนถึงบางบัวทอง, อยุธยา, ชัยนาท, นครสวรรค์ ในปัจจุบันเป็นท่าเรือ (รหัส น8 หรือ N8) สำหรับเรือข้ามฟากไปยังท่าวัดอรุณ ของฝั่งธนบุรี โดยสามารถมองเห็นพระปรางค์วัดอรุณฯและป้อมวิไชยประสิทธิ์ได้อย่างชัดเจนจากฟากนี้ และเป็นท่าเรือที่ให้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาอีกด้วย เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์–วันศุกร์ ในเวลา 06:00–19:00 น.

เครดิต วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

.....

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท  
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)