หลัง พ.ศ. 2400 คนล้านนาเรียกตัวเองว่า “คนเมือง” แต่ก่อนหน้านั้นทำไมเรียกว่า “ลาว”
ประวัติวัดและพระพุทธรูป
หลัง พ.ศ. 2400 คนล้านนาเรียกตัวเองว่า “คนเมือง” แต่ก่อนหน้านั้นทำไมเรียกว่า “ลาว”
คนกรุงเทพฯ ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ รู้จักเมืองเชียงใหม่และเมืองอื่นๆ ในล้านนา นามลาวพุงดำบ้าง ลาวเฉียงบ้าง นอกจากรู้ด้วยตนเองแล้วยังรู้ผ่านวรรณคดีและการแสดง เช่น พระลอ, ขุนช้างขุนแผน, สาวเครือฟ้า ฯลฯเมืองเชียงใหม่อยู่ในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงสยาม ที่มีพรมแดนทางตะวันตกติดกับพม่า สืบมาจนราวหลัง พ.ศ. 2400 เมื่ออังกฤษยึดครองพม่าเป็นอาณานิคมได้หมดแล้ว ก็เริ่มเกิดความขัดแย้งกรุงสยามกับอังกฤษ ทั้งเรื่องเมืองเชียงใหม่และเรื่องอื่นๆ ทำให้กรุงสยามต้องปรับเปลี่ยนนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปกครองอย่างต่อเนื่องมาอีกนานจนเป็นจังหวัดเชียงใหม่ สืบมาจนทุกวันนี้
ลาวเชียงใหม่
เมืองเชียงใหม่กลายเป็น “เมืองในอุดมคติ” เมื่อทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ตัดเชื่อมถึงเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2464 (ถึงเมืองลำปาง เมื่อ พ.ศ. 2459) ขณะนั้นชาวล้านนาเรียกตัวเองว่าลาว คนอื่นเรียกชาวล้านนาและเชียงใหม่ว่าลาว
เมื่อปฏิรูปการปกครองราว พ.ศ. 2435 สมัยรัชกาลที่ 5 บริเวณล้านนาได้ชื่อเป็นลาวว่า มณฑลลาวเฉียง ครั้น พ.ศ. 2442 มีปัญหาทางการเมืองกับเจ้าอาณานิคม จึงให้ยกเลิกคำว่าลาว แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ แต่สำนึกของคนทั่วไปในภาคกลาง เช่น กรุงเทพฯ ยังเรียกคนเชียงใหม่และบริเวณล้านนาทั้งหมดเป็นลาว
ดังมีพยานในความนิยมละครเรื่องพระลอและสาวเครือฟ้า ฯลฯ ที่มีเพลงประกอบสำเนียงลาว (ล้านนา) รวมทั้งขุนช้างขุนแผน (แต่งขึ้นหลังรัชกาลที่ 2) บอกว่านางวันทองเรียกนางลาวทอง (จากเมืองเชียงทอง ใกล้ๆ เมืองเชียงใหม่และลำพูน) ว่า “อีลาวชาวดอนค่อนเจรจา กินกิ้งก่ากิ้งกบกูจะตบมึง”
แต่เมืองเชียงใหม่และล้านนาทั้งหมดก็ไม่ได้มีแต่ลาวพวกเดียว หากมีกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อีกมาก
ขอให้สังเกตด้วยว่าขุนช้างขุนแผนตั้งแต่ต้นจนจบ (สำนวนเก่า) แม้แต่งเพิ่มติม (สำนวนใหม่) ในสมัยหลังๆ ล้วนมีโครงเรื่องหลักเหตุการณ์เดียวกันทั้งหมด คือสงครามระหว่างอยุธยากับเชียงใหม่
ล้านนาเป็นลาว
ความเป็นล้านนาเกิดขึ้นแท้จริงเมื่อราว พ.ศ. 2000 ในแผ่นดินพระเจ้าติโลกราช ทรงได้รับยกอย่องเป็นมหาราชล้านนา
ชาวล้านนาเรียกตัวเองว่า ลาว และไม่เคยเรียกอย่างอื่นนอกจากลาว แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นนาย มีฐานะเทียบคำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาภาคกลางว่า ขุนและกษัตริย์ ดังเห็นทั่วไปในคำนำหน้านามเจ้านายเชื่อวงศ์ปกครองบ้านเมืองเก่าแก่ในตำนานพงศาวดาร เช่น ลาวเจือง (คือ ท้าวเจือง ท้าวฮุ่ง) ลาวเมง (คือ บิดาพระยามังราย) ฯลฯ แต่ก็มีชาติพันธุ์อื่นๆ อยู่ด้วย เช่น มอญ (เมง) พม่า (ม่าน) ไทยใหญ่ (เงี้ยว) ฯลฯ
ดังโคลงนิราศหริภุญชัย (วรรณกรรรมสมัยอยุธนา เล่ม 2 กรมศิลปากรชำระและพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. 2530) บทหนึ่งว่า
สุญารามหนุ่งหั้น บุญเลง
ที่รูปไททังเมง ม่านเงี้ยว
ถือลาดาบกับเกวง สกรรจ์แก่น คนแฮ
ช้างฉวาดพันเกล้าเกลี้ยว แกว่นสู้สงครามฯ
โคลงบาทที่สองว่า “ไททังเมง ม่านเงี้ยว” มีคำว่า ไท ไม่ได้หมายถึงคนไทยอย่างทุกวันนี้ หากเป็นศัพท์แปลว่า คน (เฉยๆ) ข้อความวรรคนี้หมายความว่า มีคนทั้งเมงม่านและเงี้ยว (ไม่ได้หมายถึงคนไทย)
คนเมือง
อาจารย์อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ผู้เชี่ยวชาญภาษาล้านนา อ้างว่าไม่พบคำว่า “คนเมือง” ในเอกสารโบราณของล้านนา และอาจารย์สรัสวดี อ๋องสกุล ผู้เขียนประวัติศาสตร์ล้านนาปัจจุบัน ก็ยังได้ยืนยันว่าคำว่า “คนเมือง” เพิ่งจะปรากฏเป็นครั้งแรกในรายงานของกรมหมื่นพิชิตปรีชากร ข้าหลวงพิเศษฝ่ายลาวเฉียง (ดูแลเมืองลำพูนและลำปางระหว่าง พ.ศ. 2427-28)
ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า คำว่า “คนเมือง” คงจะเป็นคำที่เพิ่งจะเกิดขึ้นมาในสมัยหลังการปฏิรูปการปกครองของรัชกาลที่ 5 หลัง พ.ศ. 2400 นี่เอง
หลังเปลี่ยนชื่อ ประเทศสยาม เป็น ประเทศไทย (Thailand) เมื่อ พ.ศ. 2482 ชาวเชียงใหม่และคนในล้านนาทั้งหมดที่มีหลายชาติพันธ์ก็ถูกบังคับให้เป็น “คนไทย” ตามชื่อประเทศไทย สืบจนปัจจุบัน ชื่อล้านนาก็ถูกเติมคำว่า ไทย ต่อท้ายเป็นล้านนาไทย
.....
วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
วัตถุประสงค์
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ
รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท
ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท
ลำดับที่ 3 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท
ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน) บูชาชุดละ 12,500 บาท
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน)
รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี
4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม
7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)
รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ
ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)
ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย
รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์
รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส
คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์ ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์ ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)