ข่าวพระวอ พระตา ในประวัติศาสตร์ไทย – ลาว - kachon.com

พระวอ พระตา ในประวัติศาสตร์ไทย – ลาว
ประวัติวัดและพระพุทธรูป

photodune-2043745-college-student-s

พิธีพุทธาภิเษกอนุสาวรีย์พระวอ พระตา เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ณ ลานหน้าศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู (ภาพจาก http://122.155.92.12/CenterWeb/News/NewsDetail?NT01_NewsID=WNSOC5912010010066)

พระวอ พระตา ในประวัติศาสตร์ไทย – ลาว
เมื่อครั้งผู้เขียนได้ติดตามอาจารย์ธงสิน ธนกัญญา (ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลุ่มน้ำชี) ลงพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระวอพระตา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร และอุบลราชธานี ได้ฟังผู้สูงอายุในท้องถิ่นกล่าวถึงสิ่งที่มีมานาน มักจะพูดว่า
“พู้น…ตั้งแต่สมัยพระวอพระตาพุ่น” หมายถึง มีมาตั้งแต่ยุคของพระวอพระตาเมื่อกล่าวถึง พระวอ พระตา หรือ พระตา พระวอ นักประวัติศาสตร์หรือผู้ที่สนใจด้านประวัติศาสตร์คงทราบกันดีว่า คือ บรรพบุรุษผู้สร้างเมืองหนองบัวลำภูและเมืองอุบลราชธานี และลูกหลานเชื้อสายของพระวอ พระตา ได้สร้างบ้านแปงเมืองในดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงขึ้นอีกหลายเมือง เช่น เมืองเสลภูมิ, ยโสธร, เขมราฐ, ตระการพืชผล, พิบูลมังสาหาร, มหาชนะชัย, เมืองอำนาจเจริญ เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างพระวอ กับ พระตา จากหลักฐานข้อมูลที่พบมี 2 แนวคิด คือ 1.พ่อกับลูก คือ พระตาเป็นพ่อพระวอ 2.แบบพี่น้อง คือ พระตาเป็นพี่ชายพระวอ

และเชื้อสายของพระวอ พระตา จำแนกเป็น 2 แนวคิด คือ 1.มีเชื้อสายกษัตริย์ โดยพระวอกับพระตาเป็นโอรสของเจ้าปางคำ ผู้มีเชื้อสายกษัตริย์มาจากนครเชียงรุ้ง 2.พระวอ พระตา เป็นสามัญชน

เหตุการณ์ความวุ่นวายในอาณาล้านช้าง ช่วงสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ถึงสมัยกรุงธนบุรีของสยาม

ปี พ.ศ. 2303 พระวอ และพระตา ผู้เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ในราชสำนักเวียงจันทน์ มีความขัดแย้งกับพระเจ้าสิริบุญสาร ด้วยสาเหตุไม่แจ้งชัด ได้พาเอาไพร่พลกองครัวญาติพี่น้อง อพยพหนีจากเวียงจันทน์ไปตั้งเมืองอยู่ที่หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นเมืองที่เจ้าปางคำมาสร้างไว้ ชื่อเมืองว่า เมืองจำปานครแขวงกาบแก้วบัวบาน แล้วตั้งเมืองเป็นอิสระไม่ขึ้นกับเวียงจันทน์ ฝ่ายพระเจ้าสิริบุญสารรู้ว่าพระวอพระตาได้ตั้งตนเป็นเป็นอิสระ จึงได้ยกพลลงไปปราบ ทำการปราบอยู่ 3 ปี แต่ยังไม่สามรถปราบลงได้

พระเจ้าสิริบุญสารจึงแต่งฑูตไปขอให้พม่ายกทัพลงมาช่วยปราบ จึงทำให้ค่ายของพระวอพระตาที่เมืองจำปานครแขวงกาบแก้วบัวบานแตก พระตาสิ้นชีพในสนามรบ พระวอจึงพากองครัวหนีไปพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารที่เมืองจำปาศักดิ์ โดยตั้งบ้านอยู่ดอนมดแดง แล้วแต่งท้าวเพี้ยถือศุภอักษรเครื่องบรรณาการมาถึงพระยานครราชสีมา ขอเป็นเมืองขึ้นข้าขอบขันฑสีมาของกรุงธนบุรี ฝ่ายพระเจ้าสิริบุญสารจึงแต่งทัพให้ตามตีพระวอ ฝ่ายพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารทราบข่าว จึงแต่งทัพขึ้นไปรั้งทัพเวียงจันทร์ไว้และมีพระราชสาส์นไปถึงพระเจ้าสิริบุญสาร ทูลขอยกโทษให้พระวอ จึงทำให้พระเจ้าสิริบุญสารสั่งให้ทัพเวียงจันทร์กลับ

การที่พระวอหนีมาตั้งหลักอยู่ที่ที่ดอนมดแดง เขตเมืองจำปาศักดิ์ ประมาณปี พ.ศ. 2311 นั้น แล้วส่งเครื่องราชบรรณาการอย่างเป็นทางการไปถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี ในเรื่องนี้ผู้เขียนสันนิษฐานว่า “เป็นเหตุผลของกองทัพของพระวอต้องการทำสงครามกับเวียงจันทน์ต่อ แต่พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารไม่ให้ความร่วมมือ ดังนั้นพระวอจึงจำเป็นต้องแสวงหามิตรจากภายนอกคือกรุงธนบุรี เพื่อทำศึกกับเวียงจันทน์ที่มีพม่าอยู่เบื้องหลัง เวียงจันทน์เองก็กลืนไม่เข้าคลายไม่ออก จำเป็นต้องเหยียบเรือสองแคม คือ เวียงจันทน์มีความพยายามหลายครั้งที่จะผูกมิตรกับกรุงธนบุรี เพื่อเปิดทางเข้าปราบกลุ่มพระวอพระตา แต่ขณะเดียวกันเวียงจันทร์เองมีพม่าเอาหอกจ่ออยู่ด้านหลัง  และการที่กรุงธนบุรีให้ที่พักพิงกับกองครัวกลุ่มพระวอ นั่นแสดงให้เห็นว่ากรุงธนบุรีต้องการให้กลุ่มพระวอ คานอำนาจของพม่าและเวียงจันทน์ทางด้านนี้”

ศาลหลักเมืองพระวอ พระตา เป็นที่เคารพสักการะของชาวหนองบัวลำภู สร้างเสร็จและประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2519 (ภาพจาก http://woodychannel.com/travel-to-make-rich-in-thailand/northeast-thailand/page/7)

ในปี พ.ศ. 2313 พระเจ้าสิริบุญสารได้ส่งพระราชสาส์นมาขอเชื่อมสัมพันธไมตรีกับพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากพระเจ้าสิริบุญสารทรงเห็นว่า พระเจ้ากรุงธนบุรีมีกำลังที่เข้มแข็งและสามารถขับไล่พม่าออกไปจากอาณาจักรได้แล้ว และยังได้ทรงสร้างราชธานีขึ้นแห่งใหม่ บ้านเมืองกำลังเป็นปึกแผ่นมั่นคง จึงได้ส่งพระราชสาส์นมาขอเชื่อมสัมพันธไมตรี พระเจ้ากรุงธนบุรีก็มีพระราชสาส์นตอบกลับไปเช่นกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเวียงจันทร์กับกรุงธนบุรีในตอนต้นรัชกาลเป็นไปด้วยความหวาดระแวง ต่อมาตอนกลางรัชกาล พระเจ้าสิริบุญสารไปฝักใฝ่พม่า เพื่อขอให้พม่าช่วยเหลือตีเมืองหลวงพระบางซึ่งขณะนั้นเป็นศัตรูกัน และพระเจ้าสิริบุญสารทรงเห็นว่าพม่ามีกำลังที่เข้มแข็ง จึงได้ยอมเป็นไมตรีกับฝ่ายพม่าแต่พม่ายังไม่เชื่อใจพระเจ้าสิริบุญสาร โป่สุพะลาแม่ทัพพม่าจึงบังคับเอาพระราชบุตร พระราชนัดดา ของพระเจ้าสิริบุญสารไปไว้ในพม่าเพื่อเป็นตัวประกัน

ต่อมาปี พ.ศ. 2314 ได้เกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในราชสำนักล้านช้างระหว่างพระเจ้าสุริยวงศ์ แห่งเมืองหลวงพระบางกับพระเจ้าสิริบุญสารเมืองเวียงจันทน์ พระเจ้าสุริยวงศ์ได้รู้ว่าเวียงจันทน์กำลังมีศึกอยู่กับพระวอพระตา จึงได้ยกทัพลงมาตีเวียงจันทน์ ฝ่ายพระเจ้าสิริบุญสารเมืองเวียงจันทน์ก็เกณฑ์ไพร่พลออกต่อรบ มีการป้องกันเมืองเป็นสามารถ รบกันอยู่ประมาณ 2 เดือนยังไม่รู้ผลแพ้ชนะกัน ฝ่ายพระเจ้าสิริบุญสารทรงเห็นว่าจะไม่สามารถตีทัพหลวงพระบางให้ให้แตกกลับคืนไปได้ จึงได้ส่งราชทูตไปขอกำลังพลจากพระเจ้าอังวะให้มาช่วยตีเมืองหลวงพระบาง พระเจ้าอังวะจึงมีบัญชาให้โป่สุพะลา เป็นแม่ทัพซึ่งขณะนั้นโป่สุพะลาอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ จึงได้ยกทัพลงมาตีเมืองหลวงพระบาง ฝ่ายพระเจ้าสุริยวงศ์เมื่อรู้ว่าทัพพม่ายกมาตีพระนคร จึงได้ถอยทัพกลับคืนไปหลวงพระบางและขออ่อนน้อมยอมเป็นไมตรีต่อพม่า

ในปี พ.ศ. 2318 เจ้าเมืองนางรอง เกิดผิดใจกันขึ้นกับเจ้าเมืองนครราชสีมา จึงไปขอขึ้นกับเจ้าโอ แห่งนครจำปาศักดิ์ จำปาศักดิ์คงไม่พอใจที่กรุงศรีอยุธยาที่เข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในอาณาบริเวณในปี พ.ศ. 2308 ทำให้เมืองจำปาศักดิ์ต้องเสียเมืองทุ่ง(สุวรรณภูมิ)ไป เมืองจำปาศักดิ์จึงสนับสนุนให้เมืองนางรองเป็นกบฏต่อกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีพระราชดำรัสให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ ยกกองทัพขึ้นไป ณ เมืองนครราชสีมา แล้วสมทบกับกองทัพของเมืองนครราชสีมา ยกไปตีเมืองจำปาศักดิ์ เมืองโขงและเมืองอัตปือ ต่อมาเขมรป่าดงเมืองตลุง เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะและเมืองขุขันธ์ ทั้ง 4 เมืองเข้ามาสวามิภักดิ์ต่อกรุงธนบุรี เมืองเหล่านี้จึงอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครราชสีมา ซึ่งมีฐานะเป็นหัวเมืองเอกและเมืองหน้าด่านที่สำคัญต่อกรุงธนบุรีในด้านนี้

สะพานข้ามห้วยแจระแม ถนนเข้าเมืองอุบลฯ บริเวณที่ตั้งชุมชนแรกเริ่มซึ่งย้ายมาจากบ้านดู่บ้านแก ต่อมาได้ย้ายชุมชนไปตั้งอยู่บริเวณที่เรียกว่าดงอู่ผึ่ง ก่อนเป็นเมืองอุบลราชธานี (ภาพจาก http://www.matichon.co.th/news/247140)

จากเหตุการณ์กบฏครั้งนี้ทำให้มองเห็นว่าอำนาจของกรุงธนบุรียังอ่อนแออยู่ ดังนั้นพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงส่งพระยาพรหม พระยากรมท่า ได้ขึ้นมาจัดราชการที่เมืองทุ่ง ในปี พ.ศ. 2318 เพื่อวางแผนเตรียมขยายอาณาเขตของกรุงธนบุรีเข้าไปในเขตเมืองจำปาศักดิ์และเมืองเวียงจันทน์ คือการตั้งเมืองร้อยเอ็ด มีพระขัติยะวงษา (ท้าวทนต์) เป็นเจ้าเมืองคนแรก ตามคำขอเรียนเมือง ยกบ้านกุ่มฮ้างขึ้นเป็นเมืองร้อยเอ็ด และมีการแบ่งอาณาเขตระหว่างเมืองท่งสีภูมิกับเมืองร้อยเอ็ดอย่างชัดเจน จากกรณีนี้ทำให้เข้าใจได้ว่า   พระเจ้ากรุงธนบุรีกำลังใช้เมืองร้อยเอ็ด เมืองท่ง(สุวรรณภูมิ) และกลุ่มพระวอ เป็นหมากในการเดินเกมส์ทางการเมืองกับเวียงจันทร์และจำปาศักดิ์

ต่อมาในปี พ.ศ. 2320 พระวอได้เกิดผิดใจกันกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร ด้วยสาเหตุความหวาดระแวงกล่าวคือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2308 เป็นต้นมา เมืองทุ่ง(สุวรรณภูมิ) ขาดจากอำนาจของเมืองจำปาศักดิ์ ขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา และเมืองทุ่งร่วมมือกับกรุงศรีอยุธยาให้เขตปลอดภัยกลับกลุ่มพระวอที่แตกทัพมา ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่ากรุงธนบุรีจะขยายอำนาจมาถึงเมืองจำปาศักดิ์ โดยใช้เมืองทุ่งและกลุ่มพระวอเป็นเครื่องมือทางการเมือง

ข่าวการผิดใจกันระหว่างพระวอกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร ไปถึงราชสำนักเวียงจันทน์ พระเจ้าสิริบุญสารจึงแต่งตั้งให้พระยาสุโพแต่งทัพลงไปตีพระวอ ฝ่ายพระวอสู้ไม่ได้ จึงหนีไปอยู่ที่บ้านดู่บ้านแก       (เวียงดอนกอง) เมื่อพระยาสุโพตามไปทันก็จับพระวอฆ่าเสีย ท้าวก่ำจึงแต่งหนังสือไปถึงเมืองนครราชสีมา เพื่อขอความช่วยเหลือจากพระเจ้ากรุงธนบุรีให้ช่วยตีเมืองเวียงจันทน์

พระปทุมวรราชสุริยวงษ์ หรือ เจ้าคำผง (บุตรของพระตากับเจ้านางบุศดี) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชคนแรก (พ.ศ.2335-2338) อนุสาวรีย์ตั้งอยู่บริเวณทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (ภาพจากhttp://radio.prd.go.th/ubonratchathani/ewt_news.php?nid=3181&filename=index_59_Aug_30)

พระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงรับทราบเช่นนั้นแล้วก็ทรงพิโรธ จึงมีพระดำรัสว่า “พระวอเป็นข้าขอบขันฑสีมาเมืองเราและพระยาล้านช้างมิได้ยำเกรง ทำบังอาจมาตีบ้านเมืองและฆ่าพระวอเสียฉะนี้ ควรเราจะยกกองทัพไปตีเมืองล้านช้างให้ยับเยินตอบแทนแก้แค้นให้จงได้” ในปี พ.ศ. 2321 จึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพ ยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ รบกันอยู่ถึง 4 เดือนเศษ ฝ่ายพระเจ้าสิริบุญสารทรงเห็นว่าเหลือกำลังที่จะต่อต้านกองทัพสยามได้ จึงทิ้งเมืองหนีพาเจ้าอินทร์ เจ้าพรหม ราชบุตรและข้าหลวงคนสนิทลอบลงเรือหนีเวลากลางคืน เหลือไว้แต่เจ้านันทเสนที่อยู่ป้องกันพระนคร

สุดท้ายกองทัพสยามก็เข้าเมืองได้ จับได้ตัวเจ้านันทเสนและราชบุตรี วงศานุวงศ์แม่สนมกำนัลและขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งปวง กับทั้งทรัพย์สินและอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวนมากและครอบครัวลาวชาวเมืองทั้งปวง ข้ามฝั่งมาไว้ ณ เมืองพานพร้าว แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสถิตอยู่ ณ พระวิหารในวังพระเจ้าล้านช้างนั้น อาราธนาลงเรือข้ามฟากมาประดิษฐานไว้ ณ เมืองพานพร้าวด้วย เสร็จแล้วพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงสั่งให้ยกทัพกลับมายังกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งให้พระยาสุโพขุนนางเมืองเวียงจันทน์เป็นผู้รักษาเมืองไว้

ผลของสงครามทำให้สยามมีอำนาจเหนือบริเวณอาณาจักรล้านช้างทั้งหมด และจากการกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงเข้ามาเป็นเชลยศึก จึงเกิดการตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองของผู้คน กระจัดกระจายอยู่บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำโขงอีกหลายเมืองในช่วงเวลาต่อมา


อ้างอิง

บำเพ็ญ ณ อุบลเล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานีอุบลราชธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2545

ธงสิน ธนกัญญา และคณะวิถีชุมชน คนต้มเกลือ พู้นตั้งแต่สมัยพระวอ พระตาพุ่น บ้านหนองฮาง. ร้อยเอ็ด : โพนทอง, 2557

ต่อ,นายผู้แปล,มหาราชวงศ์พงษาวดารพม่า.สุจิตต์ วงษ์เทศ,บรรณาธิการกรุงเทพฯมติชน, 2545

เติม วิภาคพจนกิจประวัติศาสตร์อีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯโรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546

บรัดเล,หมอพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี แผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาที่ 4. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯโฆษิต, 2551   

วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดอุบลราชธานี.  หนังสือเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ธันวาคม 2542. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542

สุระศักดิ์ ศรีสะอาด .ลำดับกษัตริย์ลาวพิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545

สีลา วีระวงศ์(เรียบเรียงสมหมาย  (แปล) . ประวัติศาสตร์ลาวพิมพ์ครั้งที่กรุงเทพฯ มติชน, 2540

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.silpa-mag.com/

.....

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท  
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)