ข่าวประวัติการค้นพบหลักฐาน “เจดีย์ยุทธหัตถี” ยืนยันตำนานพระนเรศวรชนช้างชนะพม่า ที่เจดีย์ยุทธหัตถี ตำบลดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี - kachon.com

ประวัติการค้นพบหลักฐาน “เจดีย์ยุทธหัตถี” ยืนยันตำนานพระนเรศวรชนช้างชนะพม่า ที่เจดีย์ยุทธหัตถี ตำบลดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ประวัติวัดและพระพุทธรูป

photodune-2043745-college-student-s

(ซ้าย) ซากเจดีย์ยุทธหัตถีเดิม (ขวา) เจดีย์ยุทธหัตถี สร้างใหม่ครอบองค์เดิม ตำบล ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี (ภาพจากหนังสือ โบราณวัตถุสถานทั่วพระราชอาณาจักร จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร, พ.ศ. 2500)

ประวัติการค้นพบหลักฐาน “เจดีย์ยุทธหัตถี” ยืนยันตำนานพระนเรศวรชนช้างชนะพม่า ที่เจดีย์ยุทธหัตถี ตำบลดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

อย่างไรก็ตามเจดีย์ยุทธหัตถีที่เชื่อว่าถูกสร้างขึ้นหลังจากที่พระนเรศวรเอาชนะพระมหาอุปราชได้ในศึกคราวนั้น กลับพึ่งค้นพบในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับพระมหาอุปราชมังกะยอชวา (หรือมังสามเกียดที่เรารู้จักกันในประวัติศาสตร์ไทย) ในพ.ศ. 2135 นับเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ถูกเน้นย้ำถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งตำราเรียน การ์ตูน รวมไปถึงภาพยนตร์ ซึ่งชื่อเสียงและวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรในสงครามครั้งนี้ทำให้ผู้คนจำนวนมากเดินทางไปจังหวัดสุพรรณบุรีเพื่อสักการะเจดีย์แห่งนี้

ตลอดรัชสมัยในรัชกาลที่ 6 นโยบายชาตินิยมที่มุ่งเน้นการยกย่องวีรบุรุษของชาติ เช่น พระร่วง สมเด็จพระเจ้าตากสิน และสมเด็จพระนเรศวร ถูกใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการปลุกจิตสำนึกให้คนไทยรักและหวงแหนชาติบ้านเกิดเมืองนอน โดยเฉพาะกรณีของสมเด็จพระนเรศวรดูเหมือนว่าจะทรงให้ความสำคัญเป็นพิเศษในฐานะวีรบุรุษสงครามผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทย

ดังนั้นแล้วพระบรมราโชบายชาตินิยมต่าง ๆ ในรัชกาลที่ 6 จึงได้พยายามที่จะเชื่อมโยงพระราชกรณียกิจในพระองค์กับพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระนเรศวร เช่น การก่อตั้งกองเสือป่า ซึ่งนับได้ว่าเป็นนโยบายชาตินิยมที่สำคัญที่สุดที่มุ่งหวังที่จะปลูกฝังข้าราชการประชาชน ให้มีความรักและหวงแหนชาติบ้านเกิดเมืองนอน ด้วยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกเสือป่า เพื่อจะได้ทำหน้าที่ปกป้องประเทศชาติจากการรุกรานของอริราชศัตรู โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำชื่อหน่วย “เสือป่าแมวเซา” ซึ่งเป็นหน่วยทหารที่ทำหน้าที่สอดแนมข้าศึกของสมเด็จพระนเรศวรมาตั้งชื่อให้กับ “กองเสือป่า” ในพระองค์ (Stephen L. Greene, 1999, p. 41)

การมีชัยในสงครามยุทธหัตถีทำให้สถานะวีรบรุษสงครามของสมเด็จพระนเรศวรมีความพิเศษเหนือพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ไทย อย่างไรก็ตามในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 การถกเถียงถึงการเกิดขึ้นจริงของสงครามยุทธหัตถี และการที่สมเด็จพระนเรศวรทรงสังหารพระมหาอุปราชได้เริ่มต้นขึ้น เมื่อพม่าได้นำเสนอพงศาวดารฉบับหอแก้ว (Hmannan Maha Yazawindawgyi) ในพ.ศ.2375 ซึ่งอธิบายว่าสมเด็จพระมหาอุปราชทรงสิ้นพระชนม์เพราะถูกยิง (Barend Jan Terwie, 2013, p. 25) พงศาวดารดังกล่าวทำให้เกิดข้อถกเถียงว่าสงครามยุทธหัตถีนั้นได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่

เพื่อตอบโต้พงศาวดารฉบับหอแก้ว สยามได้เริ่มต้นตั้งหอสมุดสำหรับพระนครขึ้นโดยมีหน้าที่ชำระ รวบรวม จัดพิมพ์ และเผยแพร่ ความรู้ต่าง ๆ ของชาติไทยขึ้น รวมทั้งความรู้ทางประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งนี้เองเป็นจุดเริ่มต้นของความพยายามยืนยันการมีอยู่จริงของสงครามยุทธหัตถี ผ่านงาน “พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์” ซึ่งหอสมุดค้นพบใน พ.ศ. 2450

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงต้องการใช้ภาพลักษณ์วีรบุรุษสงครามในสมเด็จพระนเรศวรเพื่อสนับสนุนพระบรมราโชบายชาตินิยม ด้วยเหตุนี้การเริ่มต้นสำรวจทางโบราณคดีเพื่อค้นหาเจดีย์ยุทธหัตถีซึ่งเชื่อว่าถูกสร้างขึ้นหลังเหตุการณ์ชนช้าง อันจะเป็นการยืนยันว่าสงครามยุทธหัตถีได้เกิดขึ้นจริงจึงเริ่มต้นขึ้น ใน พ.ศ. 2456 เมื่อพระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูต) ผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณบุรี ซึ่งพยายามค้นหาเจดีย์ดังกล่าว โดยใช้ข้อมูลจากพระราชพงศาวดารที่บันทึกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ราชกิจจานุเบกษา, น. 2846 – 2847) ได้ค้นพบพระเจดีย์ขนาดใหญ่ซึ่งมีสภาพชำรุดทรุดโทรมตั้งอยู่กลางป่า ณ บริเวณลำน้ำบ้านคอย ในแขวงเมืองสุพรรณ เจ้าพระยาสุนทรสงครามจึงได้ให้ช่างถ่ายรูป ประกอบทำแผนที่ระยะทาง และทำหนังสือกราบบังคมทูลแก่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2456

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับหนังสือที่เจ้าพระยาสุนทรสงครามทูลเกล้าถวายแล้ว ทรงมีพระราชดำริว่าเรื่องพระเจดีย์ที่เจ้าพระยาสุนทรสงครามพบนั้นน่าจะเป็นเจดีย์ยุทธหัตถีที่สมเด็จพระนเรศวรได้มีพระบรมราชโองการให้สร้างขึ้น (ราชกิจจานุเบกษา, น. 2841) และเพื่อยืนยันว่าเจดีย์ที่พระยาสุนทรสงครามค้นพบนั้นเป็นของจริง รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระบรมราชโองการให้มีขุดค้นพื้นที่รอบพระเจดีย์ เพื่อค้นหาหลักฐานทางโบราณคดีที่หลงเหลือจากสงครามในคราวนั้น ซึ่งในรายงานที่ทูลเกล้าถวายฯ พระองค์ ก็ปรากฏว่ามีการค้นพบอาวุธโบราณถูกฝังอยู่บริเวณดังกล่าว ทั้งธนูโบราณ ปืนใหญ่ ธงไชยนำพระคชาธารของกองทัพสมเด็จพระนเรศวร (ราชกิจจานุเบกษา, น. 2846)

หลังจากที่มีการค้นพบเจดีย์ยุทธหัตถีแล้ว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระเจดีย์แห่งนี้ ด้วยเหตุนี้ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2456 พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยเสือป่าหลวงรักษาพระองค์ เสือป่ามณฑลนครไชยศรี และลูกเสือหลวงโรงเรียนมหาดเล็ก รวมกว่า 400 คน เสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคจากพระราชวังสนามจันทร์เพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ยุทธหัตถี

กระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารคถึงพระเจดีย์ยุทธหัตถีในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2456 หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกราบนมัสการพระเจดีย์ยุทธหัตถีแล้ว พระยาสุนทรสงครามได้ทูลเกล้าถวายสิ่งของโบราณที่พบในบริเวณรอบ ๆ พระเจดีย์ยุทธหัตถี หนึ่งในของโบราณที่ค้นพบคือ วชิระ ซึ่งทำด้วยทองสัมฤทธิ์ยอดหนึ่ง โดยสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นยอดธงไชยนำพระคชาธารของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งในคำกราบบังคมทูลรายงานของพระยาสุนทรสงคราม ก็ได้พยายามผูกโยงภาพลักษณ์ของวีรบุรุษสงครามกับรัชกาลที่ 6 โดยพระยาสุนทรสงครามได้รายงานว่าการค้นพบ “วิชระ” ในคราวนี้ว่า “… เป็นของซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งพระราชหฤทัยประทานไว้สำหรับพระองค์ให้เป็นสวัสดิมงคล สนองพระราชอุสาหะ …” (ราชกิจจานุเบกษา, น. 2847)

ต่อมาในวันที่ 28 มกราคม ได้มีการทำพิธีบวงสรวง และสมโภชพระเจดีย์ โดยมีบรรดาเสือป่า ลูกเสือ ตำรวจ ทหารเข้าร่วมในพิธี ซึ่งในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทำหน้าที่ผู้บังคับบัญชากองผสมด้วยพระองค์เองในพิธีคราวนี้ (ราชกิจจานุเบกษา, น. 2847)

นอกจากนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้เอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์หนังสือประวัติศาสตร์สองเล่มที่มีส่วนสำคัญในการยืนยันว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีกับมังกะยอชวา คือ ไทยรบพม่า และ พระประวัติสมเด็จพระนเรศวร งานทั้งสองชิ้นได้บรรยายฉากรบระหว่างทั้งสองพระองค์และสรุปว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงสังหารมังกะยอชวาสิ้นพระชนม์คาคอช้างในยุทธหัตถีคราวนั้น

ด้วยเหตุนี้เองตำนานการชนช้างระหว่างสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระมหาอุปราชจึงได้ถูกยืนยันว่ามีอยู่จริงผ่านการค้นพบเจดีย์ยุทธหัตถีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และถูกบันทึกสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.silpa-mag.com/

.....

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท  
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)