ข่าวประวัติความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากอิทธิพลอินเดียถึงไทย - kachon.com

ประวัติความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากอิทธิพลอินเดียถึงไทย
ประวัติวัดและพระพุทธรูป

photodune-2043745-college-student-s

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประทับพระที่นั่งราชยานพุดตาลทอง เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนราบใหญ่ ไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ภาพจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2559)

ประวัติความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จากอิทธิพลอินเดียถึงไทย

พิธีบรมราชาภิเษกในอินเดียการขึ้นครองราชสมบัติของพระมหากษัตริย์จำเป็นที่จะต้องมีการประกาศสถานภาพความเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ให้เหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง และเหล่าราษฎรภายใต้พระราชอำนาจ และยังรวมถึงรัฐหรือเมืองต่างๆ ที่อยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมาได้รับทราบ ดังนั้นจึงมีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งมีเนื้อหาอันแสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์และอำนาจแห่งสถานภาพที่สูงสุดด้านการปกครองในราชอาณาจักร

พิธีบรมราชาภิเษกในไทย สันนิษฐานว่ารับรูปแบบมาจากพิธีราชสูยะของอินเดีย ซึ่งมีการประกอบพิธี ๓ อย่าง คือ การอภิเษกหรืออินทราภิเษก การกระทำสัตย์ และการถวายราชสมบัติ การพระราชพิธีสูยะจะประกอบขึ้นในพระราชมณเฑียร หรือท้องพระโรงซึ่งตรงกลางห้องตั้งราชสีหาสน์ คือพระเก้าอี้ที่ประทับซึ่งทำด้วยไม้มีพนัก ที่วางพระกร จำหลักหัวราชสีห์ทั้ง ๒ ข้าง หรือที่ขาเก้าอี้สลักรูปราชสีห์นั่งชันเข่า ที่ราชสีหาสน์ลาดด้วยพรมขนสัตว์อย่างดีเนื้อละเอียดแล้วปูทับด้วยหนังราชสีห์ซึ่งตั้งอยู่หน้าบัลลังก์ที่มีบันได ๓ ขั้น สองข้างของราชสีห์นั้นด้านหนึ่งตั้งกูณฑ์ (เตาไฟมีปุโรหิตกับฐานานุกรมอยู่ประจำ อีกด้านหนึ่งตั้งตั่งไม้มะเดื่อ (ตั่งอุทุมพรซึ่งทำอย่างเกลี้ยงๆ เป็นที่ประทับสำหรับพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่สรงน้ำมูรธาภิเษก ถัดออกมาเป็นพวกหัวหน้าวรรณะทั้งสี่ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทรมีทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมานั่งเรียงเป็นวงโค้งไปข้างหน้าแบบอัฒจันทร์


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งหลัง พ.ศ. ๒๔๑๖ ภาพจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2559)

พิธีราชสูยะ มีขั้นตอนคล้ายคลึงกับพิธีบรมราชาภิเษกของไทย เริ่มจากเมื่อได้ฤกษ์ตามที่พระโหรากำหนด พระมหากษัตริย์จะทรงเครื่องขาวหรือเรียกว่าเครื่องถอดขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิบนตั่ง จากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเหล่านักบวชและผู้ทรงภูมิด้านวิทยาคม เช่น พราหมณ์ราดเนยเพื่อก่อเพลิงกองกูณฑ์ (กองเพลิงส่วนโหรร่ายมนต์ และปุโรหิตบูชายันต์ จากนั้นประกาศขอพรต่อเทพเจ้า เสร็จแล้วหัวหน้าวรรณะทั้งสี่โปรยน้ำมูรธาภิเษกสรงองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งน้ำอภิเษกนั้นนำมาจากสถานที่อันเป็นมงคลต่างๆ

ขั้นตอนต่อมา พระมหากษัตริย์จะทรงเครื่องศิราภรณ์ ซึ่งได้แก่ สวมกะบังหน้า (ต่อมาคือพระมหามงกุฎทรงพระภูษา ห่มผ้ารัตกัมพล แล้วเสด็จประทับบนบัลลังก์ยืนอยู่บนหนังราชสีห์ ซึ่งปูไว้เบื้องหน้าราชสีหาสน์ ขณะนั้นปุโรหิตประกาศพระนามและพระมหากษัตริย์ทรงกระทำสัตย์สาบานที่จะปกครองบ้านเมืองโดยธรรม จากนั้นเสด็จขึ้นประทับบนราชสีหาสน์จากนั้นบรรดาพราหมณ์ถวายน้ำมนต์และสวดถวายพรแล้วถวายเครื่องราชสมบัติ

เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงรับราชสมบัติแล้วทรงพระดำเนินลงจากราชสีหาสน์ เสด็จขึ้นรถทรงแห่รอบราชมณเฑียร ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวอาจเป็นต้นแบบของการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครของพระมหากษัตริย์ไทย จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินกลับขึ้นไปประทับยังราชสีหาสน์อีกครั้งและมีพราหมณ์ ๕ คนแต่งตัวด้วยหนังกวางเรียก มฤคจัมขัน เข้าไปถวายบังคมเรียงตัว เพื่อแสดงว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพราหมณ์เช่นกัน โดยขั้นตอนนี้สันนิษฐานว่าตรงกับการถวายสายธุรำปวีต อันเป็นสัญลักษณ์แห่งพราหมณ์ ต่อจากพราหมณ์ก็เป็นพวกบรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ และหัวหน้าวรรณะทั้งสี่ ที่อยู่ในโรงพระราชพิธีทยอยเข้าไปถวายบังคมจนหมด จึงเสร็จพิธีราชสูยะ

ความหมายของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

นามของพระราชพิธีดังกล่าวมีคำสำคัญคือ “อภิเษก” แปลว่า “รดน้ำ” เดิมทีคำนี้มิได้หมายถึงการรดน้ำเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน แต่มีความหมายเพียงการรดน้ำเท่านั้น แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยกลับมีการบัญญัติให้เป็นราชาศัพท์เฉพาะ พิธีบรมราชาภิเษกอันเกี่ยวเนื่องด้วยพระมหากษัตริย์มีการกำหนดวาระและโอกาสไว้ ๕ ประการ เรียก “ปัญจราชาภิเษก ได้แก่

อินทราภิเษก หมายถึง การรดน้ำเพื่อเป็นพระอินทร์อันแสดงถึงสถานะของพระมหากษัตริย์ที่มีความยิ่งใหญ่คือ พระราชาธิราช อันประกอบด้วยลักษณะ ๓ ประการ คือ

.๑ สมเด็จพระอินทราธิราชเอาเครื่องกกุธภัณฑ์มาถวายเพื่อผู้นั้นจะได้ราชสมบัติ

.๒ สมเด็จพระอินทราธิราชเสี่ยงบุษยพิชัยราชรถมาจรดฝ่าพระบาทด้วยฤทธิ์อำนาจบุญบารมีของผู้นั้น

.๓ สมเด็จพระอินทราธิราชเหาะเหินมาทางอากาศนำฉัตรทิพย์มากางกั้นถวาย

โภคาภิเษก คือ ผู้ที่จะได้เป็นพระมหากษัตริย์นั้นเป็นเชื้อสายตระกูลพราหมณ์มหาศาล เป็นตระกูลมหาเศรษฐี มีโภคทรัพย์บริบูรณ์ พร้อมทั้งมียศ มีบริวาร พรั่งพร้อม นอกจากนี้ ยังเป็นผู้รู้จักในราชธรรมตราชูธรรม และทศกุศล อันจะเป็นประโยชน์ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร

ปราบดาภิเษก คือ ผู้ที่อยู่ในตระกูลกษัตริย์ขัตติยราช มีฤทธิ์อำนาจและความสามารถในการสู้รบชนะข้าศึกศัตรูได้ครอบครองบ้านเมืองและทรัพย์สมบัติทั้งหลาย ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะกล้ำกรายหรือทำอันตรายได้ อย่างไรก็ดีคำว่า ปราบดาภิเษก ไม่ได้มีความหมายถึงการรบชนะผู้อื่นเพื่อขึ้นครองราชสมบัติเสมอไป แต่ยังหมายถึงการรดน้ำเพื่อขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับคำว่าราชาภิเษกอีกด้วย

ราชาภิเษก คือ การขึ้นเป็นกษัตริย์ของพระราชโอรส เมื่อพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระชราแล้ว บรรดาพระญาติพระวงศ์เห็นสมควรจะยกพระราชโอรสขึ้นเป็นกษัตริย์จึงให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้น

อภิเษกหรืออภิเสก คือ การที่พระราชบิดา พระราชมารดา หาหญิงที่มีตระกูลเสมอกันมาอภิเษกสมรสกับพระราชโอรส ซึ่งหญิงนั้นอาจจะมีเชื้อสายกษัตริย์ในแว่นแคว้นอื่นๆ ที่มีวงศ์ตระกูลดีซึ่งเป็นสวัสดิชาติ

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งเป็นพระราชพิธีอันเกี่ยวเนื่องด้วยการขึ้นครองราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ปรากฏหลักฐานในเบื้องต้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒ บริเวณจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงการอภิเษกเพื่อขึ้นครองราชสมบัติของเจ้าชายพระองค์หนึ่งพระนามว่า จิตรเสน เพื่อปกครองรัฐซึ่งสันนิษฐานว่าคือ อาณาจักรเจินละ ซึ่งมีดินแดนส่วนหนึ่งอยู่ที่ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน การประกอบพระราชพิธีดังกล่าวยังปรากฏหลักฐานสืบเนื่องในอาณาจักรสุโขทัยเมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๙ สมัยพระยาลือไทยราช มีการมอบเครื่องราชกกุธภัณฑ์ในการอภิเษกได้แก่ มกุฎ หรือพระมหาพิชัยมงกุฎ ฉัตร และพระแสงขรรค์ชัยศรี จวบจนสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานถึงขั้นตอนการพระราชพิธีแบบย่นย่อในคำให้การชาวกรุงเก่าเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.๒๓๑๐ โดยมีรายละเอียดและลำดับของพระราชพิธี ดังนี้

เครื่องราชูปโภคที่ใช้ในพระราชพิธี เช่น ตั่งไม้มะเดื่อ พระที่นั่งภัทรบิฐ

เครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ ได้แก่ พระมหามงกุฎ พระแสงขรรค์ พัดวาลวิชนี ธารพระกร และฉลองพระบาท

การประกอบพระราชพิธี เช่น การเป่าสังข์ การตีกลองอินทเภรี และการประโคมเครื่องดุริยางค์

ราชบัลลังก์ปูลาดด้วยหนังพระยาราชสีห์ ซึ่งต่อมาได้ใช้แผ่นทองคำเขียนรูปราชสีห์ด้วยชาดหรคุณแทน

พระสุพรรณบัฏที่จารึกอันมีการประดับกรอบด้วยอัญมณี โดยประดิษฐานอยู่บนพานทอง

การเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตรา

การสมโภชพระนคร

เมื่อเสร็จการพระราชพิธีแล้วจะทรงสร้างพระพุทธรูป เงินพดด้วง งดเว้นไม่เก็บส่วยเงินอากร ๓ ปี กับทั้งทรงปล่อยนักโทษด้วย


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับพระที่นั่งพุดตาลทองคำรัตนสิงหาส์น พร้อมด้วยข้าราชบริพารฝ่ายหน้าเชิญเครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภค และพระแสงราชศาสตราวุธ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๘ ภาพจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2559)

พระราชพิธีปราบดาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ภายหลังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีโปรดให้มีการจัดการพระราชพิธีปราบดาภิเษกเมื่อ พ.๒๓๒๕ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์จักรี ซึ่งพระราชพิธีปราบดาภิเษกกระทำเพียงสังเขปมิได้ถูกต้องตามตำราบรมราชาภิเษก โดยมีขั้นตอนเพียงการเฉลิมพระราชมณเฑียรที่สร้างขึ้นใหม่โดยมีพระสวดเจริญพระพุทธมนต์เป็นเวลา ๓ วัน ก่อนที่ในวันที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจะเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคข้ามฟากจากพระราชวังเดิมมายังพระราชวังใหม่ สรงมุรธาภิเษกแล้วเสด็จประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ พระมหาราชครูพราหมณ์กราบบังคมทูลถวายสิริราชสมบัติและเครื่องราชูปโภค เป็นอันเสร็จการพระราชพิธีปราบดาภิเษกเพียงเท่านั้น

ต่อมาใน พ.๒๓๒๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้ประชุมข้าราชการผู้รู้แบบแผนราชประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีเจ้าพระยาเพ็ชรพิชัยเป็นประธาน พร้อมด้วยพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่มีสมเด็จพระสังฆราช เป็นต้น ช่วยกันค้นคัมภีร์และแบบแผนเพื่อทำตำราบรมราชาภิเษกขึ้นสำหรับพระนคร พร้อมทั้งโปรดให้สร้างเครื่องราชูปโภคต่างๆสำหรับการบรมราชาภิเษก หลังจากก่อสร้างพระนครและพระบรมมหาราชวังเสร็จสิ้นโดยใช้เวลา ๓ ปี การประกอบพระราชพิธีแบบเต็มตำราในรัชกาลแรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงเริ่มขึ้นใน พ.๒๓๒๘ พร้อมกับมีการสมโภชพระนครในปีเดียวกัน ซึ่งการรวบรวมและเรียบเรียงตำราบรมราชาภิเษกดังกล่าวนั้นได้เป็นแบบแผนการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์สืบกันต่อมา๑๐


พระบาทสมเด็จพระมงกถฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับพระราชอาส์น ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ภาพจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2559)

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์การประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกดำเนินตามแบบแผนธรรมเนียมที่มีการรวบรวมตำราที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกซึ่งมีขั้นตอนต่างๆซึ่งจะกล่าวโดยลำดับดังนี้

สถานที่ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อแรกมีการสถาปนาองค์พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ การเตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะเริ่มด้วยการเตรียมสถานที่ซึ่งจะมีการกำหนดบริเวณประกอบพระราชพิธีโดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้จัดการพระราชพิธีขึ้นที่พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ภายหลังพระที่นั่งองค์ดังกล่าวถูกฟ้าผ่าเพลิงไหม้เสียหายหนักเมื่อ พ.๒๓๓๒ จึงมีการสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่บริเวณตำแหน่งเดิมซึ่งพระราชทานชื่อว่า พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท๑๑ ภายหลังเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคตมีการใช้พระที่นั่งดังกล่าวประดิษฐานพระโกศพระบรมศพ ทำให้การประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เปลี่ยนไปใช้หมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน๑๒ และเป็นธรรมเนียมของการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสืบมา เว้นแต่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ซึ่งมีการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ๒ ครั้ง โดยในครั้งแรกใน พ.๒๔๕๓ ประกอบพระราชพิธีบริเวณหมู่พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ครั้งต่อมาใน พ.๒๔๕๔ ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท๑๓

การเตรียมน้ำสรงมุรธาภิเษกและการจารึกพระนามในพระสุพรรณบัฏ

ขั้นตอนดังกล่าวนับเป็นการเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเบื้องต้น น้ำที่ใช้สำหรับประกอบการพระราชพิธีต้องเป็นน้ำที่ถือว่าอยู่ในแหล่งน้ำที่มีความศักดิ์สิทธิ์โดยในความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ฮินดูถือว่าน้ำจาก “ปัญจมหานที” อันได้แก่แม่น้ำ ๕ สายในชมพูทวีป ได้แก่ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมนา แม่น้ำมหิ แม่น้ำอจิรวดี และแม่น้ำสรภู มีความศักดิ์สิทธิ์เพราะเชื่อว่ามาจากเขาไกรลาสที่สถิตของพระอิศวร

สำหรับน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบการพระราชพิธีสำคัญปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการใช้น้ำจากสระ ๔ แห่งที่เมืองสุพรรณบุรี ได้แก่ สระเกษ สระแก้ว สระคงคา สระยมนา ซึ่งมีการใช้น้ำจากแหล่งดังกล่าวมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย และต่อมามีการเพิ่มเติมน้ำจากแหล่งต่างๆ เพื่อใช้ในการทำน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแม่น้ำสายหลัก ได้แก่

แม่น้ำบางปะกง ตักน้ำที่บึงพระอาจารย์ แขวงเมืองนครนายก

แม่น้ำป่าสัก ตักน้ำที่ตำบลท่าราบ แขวงเมืองสุพรรณบุรี

แม่น้ำเจ้าพระยา ตักน้ำที่ตำบลบางแก้ว แขวงเมืองอ่างทอง

แม่น้ำราชบุรี ตักน้ำที่ตำบลดาวดึงษ์ แขวงเมืองสมุทรสาคร

แม่น้ำเพชรบุรี ตักน้ำที่ตำบลท่าไชย แขวงเมืองเพชรบุรี

น้ำจากทั้ง ๕ แหล่งนี้รวมเรียกว่า “เบญจสุทธคงคา” โดยอนุโลมตามปัญจมหานทีในชมพูทวีป ซึ่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ใช้น้ำสรงมุรธาภิเษกจากแหล่งน้ำดังที่กล่าวมาและสระ ๔ แห่งเช่นในรัชกาลก่อนเพื่อทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกใน พ.๒๔๑๑ ต่อมาเมื่อทรงทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ ใน พ.๒๔๑๖ จึงมีการนำน้ำจากปัญจมหานทีในอินเดียซึ่งได้จากการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศอินเดียเมื่อ พ.๒๔๑๕ มาเจือในน้ำที่ใช้สรงมุรธาภิเษกด้วย

ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ น้ำที่ใช้สรงมุรธาภิเษกใน พ.๒๔๕๓ ยังคงใช้น้ำจากแหล่งเดียวกันกับเมื่อพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.๒๔๑๖ แต่เมื่อครั้งประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชเมื่อ พ.๒๔๕๔ จึงมีการใช้น้ำจากมหาเจติยสถานที่สำคัญในเมืองต่างๆ ๗ แห่ง ได้แก่ สระบุรี นครปฐม สุโขทัย นครศรีธรรมราช พิษณุโลก ลำพูน และนครพนม รวมทั้งน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก ๑๐ มณฑล ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ จึงมีการเพิ่มแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์อีก ๑ แห่ง รวมเป็น ๑๘ แห่ง จนกระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำทั้ง ๑๘ แห่งนี้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่มีการปรับเปลี่ยนสถานที่ตักน้ำที่ใช้ในการพระราชพิธีบางแห่งตามความเหมาะสม

สำหรับน้ำสำหรับสรงมุรธาภิเษกเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกซึ่งจะต้องมีการพลีกรรมตักน้ำจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั่วประเทศ จากน้ำจึงเสกให้เป็นน้ำพระพุทธมนต์ให้เป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์โดยกระทำที่พระอารามสำคัญในหัวเมืองอันเป็นที่ตั้งของแหล่งน้ำ จากนั้นจึงกระทำอีกครั้งหนึ่งเมื่อจะนำน้ำนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในพระราชพิธี รวมแล้วมีการเสกทำน้ำศักดิ์สิทธิ์ถึง ๒ ครั้ง๑๔


เครื่องมงคลสิริเบญจราชกกุธภัณฑ์ ภาพจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2559)

นอกจากนี้ ยังมีการตระเตรียมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกประการหนึ่งคือ การจารึกพระนามพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ในพระสุพรรณบัฏ และดวงพระราชสมภพ กับทั้งทำพิธีแกะตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาล เช่น พระราชนิพนธ์เรื่อง “ยอพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒” ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ระบุขั้นตอนดังกล่าว ความว่า

หายามไชยโชกได้        ดฤดถี

ชุมหมู่มุขมนตรี          ทั่วหน้า

ยังอุโบศถ์ศรี              สรรเพชร แลแฮ

อาลักษณนุ่งห่มผ้า       เสวตรไหว้พุทธคุณ ฯ

พระโหรลั่นฆ้องฤกษ    ศรีสวัสดิ์

จารึกพระนามขัต        ติยเชื้อ

ในแผ่นสุพรรณบัตร     สิ้นเสรจ์ แล้วเฮย

ใส่หีบคำเก้าเนื้อ         แห่เข้าวังสนาน ฯ๑๕

การจารึกพระนามในพระสุพรรณบัฏกระทำขึ้นในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แม้จะไม่ปรากฏสถานที่เด่นชัด แต่สันนิษฐานว่าประกอบพระราชพิธีสมโภชพระสุพรรณบัฏภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งอาลักษณ์ผู้ทำหน้าที่จารึกพระนามจะต้องแต่งกายนุ่งห่มด้วยสีขาวบูชาพระรัตนตรัยในพิธีด้วย เมื่อเสร็จพระราชพิธีในส่วนนี้จะมีการเชิญพระสุพรรณบัฏใส่หีบทองคำแล้วแห่เข้าพระบรมมหาราชวังเพื่อเตรียมถวายองค์พระมหากษัตริย์ในวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

สำหรับการจารึกพระนามในพระสุพรรณบัฏนั้น ในรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ ใช้พระนามเดียวกันด้วยการขึ้นต้นว่า “สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี” และมีสร้อยพระนามเหมือนกันทั้ง ๓ รัชกาล แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ โปรดให้แก้พระนามอดีตพระมหากษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์ โดยให้เรียกตามนามพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชอุทิศ รัชกาลที่ ๑ ให้เรียกว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๒ ให้เรียกว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๓ ให้เรียกว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเรียกแผ่นดินของพระองค์ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว๑๖ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนธรรมเนียมการจารึกพระนามของพระมหากษัตริย์ให้มีพระนามต่างกันในแต่ละรัชกาลนับแต่นั้นเป็นต้นมา

การจัดเตรียมสถานที่

สถานที่สำหรับประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมีการตระเตรียมตามโบราณราชประเพณี โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ โปรดให้เตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อ พ.๒๓๒๘ ภายหลังที่โปรดให้จัดชุมนุมผู้มีความรู้แบบแผนธรรมเนียมเพื่อทำตำราบรมราชาภิเษก ซึ่งการพระราชพิธีที่จัดขึ้นนับได้ว่าเป็นแบบแผนให้กับรัชกาลต่อมา ซึ่งมีสิ่งของสำคัญที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมีดังนี้๑๗

บริเวณพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทตั้งมณฑปสำหรับทรงพระกระยาสนาน ซึ่งใช้ประกอบพิธีสรงมุรธาภิเษก ซึ่งมีลักษณะคือ มีเสาบันทวยนาค มีช่อห้อย ช่อตั้ง ใบโพธิ์ห้อย ยอดซุ้มหน้าผ้าโขมพัสตร์ มีท่อธารสัณฐานดังฝักประทุมทำด้วยเงิน ขังน้ำเบญจสุทธิคงคาไว้บนเพดานผ้าขาว มีนามว่า “สหัสธารา” เพดานประดับด้วยดาวทองและพวงพู่ล้วนสุวรรณมาลาดอกจำปาทอง และพระสูตรพื้นผ้าโขมพัสตร์จำหลักลายดอกสุวรรณประจำทั้ง ๔ ด้าน

รอบพระมหามณเฑียรและด้านหน้าพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทประดับรายด้วยฉัตรเบญจรงค์ ๗ ชั้นเสาราชวัติประดับด้วยต้นกล้วยต้นอ้อยดอกหมากดอกมะพร้าว

บริเวณพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ด้านทิศตะวันออกตั้งเตียงแว่นฟ้า มีเพดานระบายรอบ เป็นเตียงพระมณฑลสำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุ พระพุทธชัยวัฒน์ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ดวงพระชนมพรรษา พระสุพรรณบัฏ พระมหาสังวาลพราหมณ์ เครื่องพระพิชัยสงคราม เครื่องพระมนต์พิเศษ หีบพระธำมรงค์ พระเกราะนวม พระภูษารัตกัมพล พระอุณาโลมทำแท่ง พัดวาลวิชนี ฉลองพระบาท ธารพระกร พระแสงขรรค์ชัยศรี รวมทั้งพระแสงสำคัญต่างๆ เช่น พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง เป็นต้น รวมทั้งประดับฉัตรแพรขาวลงยันต์เดินทอง ได้แก่ พระเสมาธิปัตย์ พระฉัตรชัย และพระเกาวพ่าห์ พร้อมทั้งมีธงชัยกระบี่ธุช ธงชัยพระครุฑพ่าห์ และพระมหาสังข์ที่สำคัญ เช่น พระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ และยังมีพระเต้าสำหรับใส่น้ำอภิเษก เช่น พระเต้าเบญจครรภ พระเต้านาค พระเต้าเงิน และพระเต้าสำริด

ตั้งพระที่นั่งอัฐทิศคือตั่งใหญ่ไม้มะเดื่อแปดเหลี่ยมกั้นเศวตฉัตรเจ็ดชั้นและตั่งน้อยประจำทิศด้วยไม้ไผ่สีสุกเพื่อตั้งน้ำกลศน้ำสังข์ รูปเขียนเทวดาประจำทิศทั้ง ๘ องค์ สำหรับการใช้ไม้มะเดื่อมาทำตั่งเป็นพระที่นั่งอัฐทิศและพระที่นั่งภัทรบิฐในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกนั้นเป็นไปตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ที่ว่า ตั่งไม้มะเดื่อเป็นที่ประทับของเทพตรีมูรติอันเป็นเทพซึ่งรวมเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง ๓ องค์ในศาสนาพราหมณ์ ได้แก่ พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ ทั้งนี้ยังสอดคล้องกับความเชื่อที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์สมมุติเทพ ส่วนทางพุทธศาสนาไม้มะเดื่อเป็นต้นไม้ที่พระโกนาคมพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงตรัสรู้ใต้ต้นไม้นี้๑๘


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ สำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เสด็จพระราชดำเนินออกจากหอพระสุลาลัยพิมาน สู่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เบื้องพระพักตร์คือพระที่นั่งอัฐทิศ ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ภาพจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2559)

หน้าเตียงพระมณฑลตั้งเครื่องนมัสการ ส่วนหลังเตียงพระมณฑลตั้งบาตรน้ำพระพุทธมนต์ ๕ บาตร บาตรทราย ๕ บาตร

ทิศประจิม (ตะวันตกตั้งเตียงมีโครงเพดานดาดผ้าขาว สำหรับพระสงฆ์สวดภาณวารและมหาชัยสำหรับพระราชพิธี บนเตียงนี้ตั้งเครื่องนมัสการกระบะมุกและเทียนชัย มีกระโจมหุ้มผ้าขาว

ตั่งพระที่นั่งภัทรบิฐทำด้วยไม้มะเดื่อหรือไม้อุทุมพรหุ้มเงินองค์หนึ่ง บนพระที่นั่งลาดหญ้าคา โรยแป้งสาลี ปูทับด้วยแผ่นทองคำเขียนรูปราชสีห์ด้วยชาดหรคุณ แล้วคลุมด้วยผ้าขาวกั้นเศวตฉัตร ๗ ชั้น ในส่วนของการเขียนรูปราชสีห์ปูลาดบนพระที่นั่งภัทรบิฐ เนื่องจากราชสีห์เป็นสัตว์ที่มีอำนาจเหนือสัตว์ทั้งหลาย อีกทั้งตามจินตนาการของช่างไทยแต่โบราณเชื่อว่าเป็นสัตว์มีชีวิตอยู่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งเป็นป่าอยู่เชิงเขาสัตตบรรพตรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นที่สถิตของพระอินทร์๑๙

ส่วนหญ้าคาที่ใช้ปูลาดพระที่นั่งภัทรบิฐมาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ที่ว่า หญ้ามีความศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นหญ้าที่ได้รับน้ำอมฤตที่ได้จากการกวนเกษียรสมุทรระหว่างเทวดาและอสูร พราหมณ์จึงใช้หญ้าคาเป็นเครื่องบูชาเทพเจ้า เพื่อสะเดาะเคราะห์ รวมทั้งยังทำให้สถานที่ประกอบพิธีกรรมบริสุทธิ์ปราศจากมลทินด้วยการปะพรมน้ำมนต์ซึ่งใช้หญ้าคา ๓ กำ เรียกว่า ไตรปัตร รวมทั้งพวกพราหมณ์ยังนั่งอยู่บนหญ้าคาเพื่อร่ายพระเวทและถูมือไปมาก็จะทำให้บริสุทธิ์อีกด้วย สำหรับทางพุทธศาสนามีการใช้หญ้าปูลาดต่างอาสนะของพระพุทธเจ้ามาก่อนเช่นกัน๒๐

กรมโหรตั้งเครื่องบัตรพลีบูชาเทวดานพเคราะห์เพื่อเจริญพระชนมายุ แล้ววงด้ายสายสิญจน์โยงไปตลอดเตียงพระมณฑล พระชัย เครื่องศาสตราวุธ พระที่นั่งอัฐทิศ พระที่นั่งภัทรบิฐ และมณฑปพระกระยาสนานตลอดถึงท้องพระโรงด้านหน้า

ตั้งโรงพิธีพราหมณ์ที่หน้าพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาทภายในประดิษฐานเทวรูปสำคัญพร้อมด้วยเครื่องใช้ในการพระราชพิธีในส่วนของพราหมณ์ เช่น เครื่องเบญจครรภ หม้อกุมภ์ เตาโหมกูณฑ์ กลศ (น้ำสำหรับสรงมุรธาภิเษกและสังข์

นอกจากนี้ยังมีการเตรียมการเฉลิมพระราชมณเฑียรดวยการแต่งอาสนะลาดพรมเจียมที่พระแท่นบรรทมสำหรับพระสงฆ์สวดพระปริตร๒๑

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเบื้องต้น

ภายหลังตระเตรียมสถานที่เรียบร้อยแล้วเมื่อถึงพระฤกษ์ที่กำหนดการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกโดยในเบื้องต้นจะเป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลในปริมณฑลพิธี โดยในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ทรงประกอบพระราชพิธีที่พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท และที่ห้องพระบรรทมในหมู่พระมหามณเฑียร ซึ่งจะประกอบด้วยการจุดเทียนนมัสการพระรัตนตรัย พระมหากษัตริย์จะทรงสวมพระมหามงคลซึ่งสอดด้วยด้ายสายสิญจน์ กับทั้งฟังพระสงฆ์สวดเจริญพระพุทธมนต์ และเมื่อถึงเวลาเช้าวันรุ่งขึ้นจะเสด็จพระราชดำเนินมาถวายภัตตาหารเช้าเป็นสังฆทาน พระราชพิธีขั้นตอนดังกล่าวดำเนินต่อเนื่อง ๓ วัน๒๒ ซึ่งโดยหลักจะเป็นการเจริญพระพุทธมนต์ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม และถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ การประกอบพระราชพิธีลักษณะดังกล่าวในรัชกาลต่อมายังทรงถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ๒๓

นอกจากพิธีทางพุทธศาสนา ในพิธีทางศาสนาพราหมณ์ก็มีปฏิบัติเช่นกัน โดยอาจกระทำมาแต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์แต่มิได้กล่าวถึง ซึ่งปรากฏหลักฐานในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้แก่ พิธียกพระเศวตฉัตร ๗ ชั้นที่พระที่นั่งอัฐทิศ และพระที่นั่งภัทรบิฐ พร้อมทั้งการถวายเครื่องพลีกรรมบวงสรวงเทวดา ณ เทวสถานต่างๆ ในพระนคร และการถวายน้ำสังข์ ถวายใบมะตูมให้ทรงทัดกับถวายใบสมิต๒๔ เพื่อทรงปัดพระเคราะห์ก่อนจะมอบให้พระมหาราชครูเอาไปบูชาชุบโหมเพลิงป้องกันอันตรายทั้งปวง ซึ่งการถวายใบสมิตในขั้นตอนการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเบื้องต้นนั้นเป็นสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาจากเดิมที่จะกระทำเมื่อสรงน้ำมุรธาภิเษกในวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก หลังจากนี้ก็เป็นพิธีทางฝ่ายพุทธศาสนาคือการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระแท่นบรรทมเพื่อทรงฟังพระสงฆ์สวดเจริญพระปริตรต่อเนื่องเป็นเวลา ๓ วันจึงเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในส่วนเบื้องต้น๒๕

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงประกอบพระราชพิธีตามขั้นตอนเช่นที่สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงกระทำ จนกระทั่งถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีการปรับเปลี่ยนขั้นตอนตามความเหมาะสมโดยลดวันประกอบพระราชพิธีในตอนเย็นเพียงวันเดียวก่อนหน้าวันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยยังคงขั้นตอนของการจุดเทียนชัย การเจริญพระพุทธมนต์ และการจัดเครื่องบูชาพระมหาเศวตฉัตรและปูชนียสถานสำคัญในพระนคร๒๖

การประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันพระฤกษ์

หลังจากการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในเบื้องต้น เมื่อถึงวันตามกำหนดพระฤกษ์อันเหมาะสมจึงประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเพื่อขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ตามโบราณราชประเพณีซึ่งมีการประกอบพระราชพิธีโดยลำดับซึ่งมีแบบแผนที่ถูกรวบรวมขึ้นแต่ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ดังปรากฏข้อความจากพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑ เรียบเรียงโดยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาคดังนี้

ครั้นรุ่งขึ้นวันคำรบ ๔ เวลาเช้าได้มหาพิไชยมงคลฤกษ์ต้องตามโบราณขัตติยราชประเพณีแต่ก่อนมา หลวงโลกทีปและพระมหาราชครู จึงกราบทูลอัญเชิญเสด็จสรง เจ้าพนักงานชาวพระภูษามาลา ถวายพระภูษาถอด แล้วพระยาราชโกศาเชิญพระไชย หลวงสิทธิไชย พระหมอเฒ่า เชิญพระพิฆเนศวร พระมหาราชครูอัษฎาจารย์โปรยข้าวตอก หลวงราชมุนี หลวงศีวาจารย์ เป่าพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ นำเสด็จเบื้องมุขประเทศไปสู่มณฑปพระกระยาสนาน เสด็จสถิตเหนืออุทุมพรราชอาสน์จึงพระยาราชโกศาถวายเครื่องพระกระยาสนาน หลวงราชวงศาไขสหัสธารา สรงสหัสธาราแล้ว หลวงสิทธิไชยพระหมอเฒ่า ถวายพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ พระมหาราชครูพิธีถวายพระเต้าเบญจครรภ พระครูอัษฎาจารย์ ถวายพระสังข์ทอง และพราหมณ์มีชื่อถวายพระสังข์เงิน ขุนรักษ์นารายณ์ ขุนราชธาดา เป่าพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏ ๒ องค์ ขุนหมื่นมีชื่อเป่าสังข์อุตราวัฏ ๖ องค์ เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์ดนตรี มะโหระทึก แตรสังข์ บัณเฑาะว์๒๗

ขั้นตอนดังกล่าวเป็นในส่วนของการสรงมุรธาภิเษก ซึ่งพระมหากษัตริย์จะประทับบนพระราชอาสน์ที่มณฑปซึ่งสร้างสำหรับพระราชพิธีนี้เพื่อทรงสรงสหัสธารา ซึ่งเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแหล่งต่างๆ หลังจากนั้นจึงเสด็จพระราชดำเนินมาประทับยังพระที่นั่งอัฐทิศเพื่อรับน้ำอภิเษกจากพราหมณ์ ดังข้อความจากพระราชพงศาวดารฉบับเดียวกัน ดังนี้

“…เสด็จกลับมาประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศผันพระพักตร์ไปอุดรทิศเป็นปฐมพราหมณ์ถวายน้ำพระมหาสังข์ทักษิณาวัฏน้ำกลศ๒๘ ทรงรับมาสรงพระพักตร์และเสวยหน่อยหนึ่งแล้วผันพระองค์ไปตามทิศอาคเนย์โดยทักษิณาวัฏทรงรับน้ำพระพุทธมนต์น้ำสังข์ทั้ง๘ทิศ…”๒๙

ข้อความดังกล่าวแสดงขั้นตอนและวิธีการซึ่งองค์พระมหากษัตริย์จะทรงรับน้ำอภิเษกจากพราหมณ์เริ่มจากทิศเหนือแล้วหันพระองค์เวียนขวาไปทิศตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นเวียนขวาไปจนครบทั้ง ๘ ทิศ ซึ่งพราหมณ์จะเป็นผู้ถวายน้ำอภิเษก แต่ขั้นตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ซึ่งกระทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ในครั้งนั้นมีการปรับเปลี่ยนธรรมเนียมบางประการโดยเปลี่ยนผู้ถวายน้ำอภิเษกจากพราหมณ์และราชบัณฑิตเป็นสมาชิกรัฐสภา พร้อมทั้งทรงรับการถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร ๙ ชั้นที่พระที่นั่งอัฐทิศด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนธรรมเนียมจากเดิมจะมีการถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตรที่พระที่นั่งภัทรบิฐ๓๐


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลดุลยเดช ประทับพระที่นั่งภัทรบิฐ พระราชครูวามเทพมุนี ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหาพิชัยมงกุฎ ภาพจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2559)

เมื่อเสร็จขั้นตอนการรับน้ำอภิเษกพระมหากษัตริย์จะเสด็จมาประทับที่พระที่นั่งภัทรบิฐเพื่อรับการถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์กับพระแสงศาสตราวุธและเครื่องราชูปโภคต่างๆ ดังที่ปรากฏข้อความจากพระราชพงศาวดารในสมัยรัชกาลที่ ๑

“…แล้วเสด็จพระราชดำเนินมายังพระที่นั่งภัทรบิฐ พระมหาราชครูจึงประคองพระองค์ขึ้นเสด็จประทับพระที่นั่งภัทรบิฐเหนือแผ่นทองรูปราชสีห์อันมีมหันตเดช พระมหาราชครูอ่านพระเวทสรรเสริญไกรลาศแล้ว ถวายพระสุพรรณบัฏเบญจราชกกุธภัณฑ์ คือพระมหามงกุฎ พระแสงขรรค์ ธารพระกร พัดวาลวิชนี ฉลองพระบาท แล้วถวายพระแสงอัษฎาวุธ คือ พระแสงหอกไชย พระแสงดาบเชลย พระแสงเขนมีดาบ พระแสงปืนคาบชุดข้ามแม่น้ำสะโตง พระแสงจักร พระแสงตรีศูล พระแสงเกาทัณฑ์ พระแสงของ้าวเจ้าพระยาแสนพลพ่าย และเครื่องราชูปโภค ประกอบด้วยวิษณุเวท อิศวรมนต์ทรงรับแล้วส่งให้พระยาราชโกศาๆ รับต่อพระหัตถ์แล้วส่งให้เจ้าพนักงาน แต่ฉลองพระบาทนั้น พระมหาราชครูรับมาสอดถวาย แล้วถวายพระพรชัย…”๓๑

นอกจากถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์แล้ว ยังมีการถวายพระสุพรรณบัฏที่จารึกพระนามเต็มของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งใน ๓ รัชกาลแรกทรงมีพระนามเหมือนกันก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงเฉลิมพระนามใหม่ให้แตกต่างกันและเป็นธรรมเนียมที่พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะมีพระนามแตกต่างกันแต่นั้นเป็นต้นมา โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีพระปรมาภิไธยที่ได้รับการจารึกในพระสุพรรณบัฏ ดังนี้

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร๓๒

ภายหลังการถวายเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์และเครื่องราชูปโภค พระมหาราชครูพราหมณ์จะกล่าวถวายสิริราชสมบัติในนามของสมณชีพราหมณ์และเสนาบดีทั้งมวล เสร็จแล้วจึงมีการถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร๓๓ ซึ่งขั้นตอนนี้มีการเปลี่ยนสถานที่ถวายเป็นบริเวณพระที่นั่งอัฐทิศในภายหลังดังที่กล่าวมา จากนั้นพราหมณ์จะถวายพระพรชัยมงคลก่อนที่พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะมีพระปฐมบรมราชโองการ ซึ่งสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ มีพระปฐมบรมราชโองการ ดังนี้

“…พรรณพฤษ์ ชลธี และสิ่งของในแผ่นดินทั่วทั้งพระราชอาณาจักรนั้น ถ้าไม่มีเจ้าของหวงแหนแล้วควรแต่สมณพราหมณาจารย์ อาณาประชาราษฎรจะปรารถนาเถิด…”๓๔

พระปฐมบรมราชโองการดังกล่าวพระมหากษัตริย์อีก ๒ รัชกาลต่อมามีพระปฐมบรมราชโองการด้วยข้อความนี้เช่นกัน ครั้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีการเปลี่ยนธรรมเนียมพระปฐมบรมราชโองการให้เป็น ๒ ภาษา คือ ภาษาไทยและภาษามคธ และมีเนื้อความของพระปฐมบรมราชโองการเปลี่ยนไป อันเป็นธรรมเนียมที่พระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่อมาทรงปฏิบัติ เช่น สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗๓๕ ความว่า

ดูกรพราหมณ์ บัดนี้เราทรงพระราชภาระครองแผ่นดินโดยธรรมสม่ำเสมอเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและสุขแห่งมหาชน เราแผ่พระราชอาณาเหนือท่านทั้งหลาย กับโภคสมบัติ เป็นที่พึ่งจัดการปกครองรักษาป้องกันอันเป็นธรรมสืบไป ท่านทั้งหลายจงวางใจอยู่ตามสบายเทอญ๓๖

หลังจากพระมหากษัตริย์มีพระปฐมบรมราชโองการเรียบร้อยแล้ว พระมหาราชครูพราหมณ์จะเป็นผู้รับพระบรมราชโองการเป็นภาษามคธและภาษาไทย จากนั้นพราหมณ์เป่าพระมหาสังข์ มโหระทึกดุริยางค์ประโคมพร้อมกัน พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ทรงโปรยดอกพิกุลเงินพิกุลทองพระราชทานพราหมณ์ ซึ่งมีความเชื่อว่าต้นพิกุลเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งในสวนของพระอินทร์ บริเวณพระบรมมหาราชวังก็เป็นดุจสรวงสวรรค์ ดังนั้นการที่พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นดั่งองค์สมมุติเทพทรงโปรยดอกไม้ชนิดนี้เป็นการเปรียบเหมือนการโปรยดอกไม้จากสวรรค์ลงมาให้มนุษย์ได้ชื่นชม๓๗ เสร็จแล้วทรงหลั่งทักษิโณทก ทรงตั้งสัตยาธิษฐาน ทรงเปลื้องพระมหาพิชัยมงกุฎ ทรงปลดพระธำมรงค์รัตนาวุธ และพระธำมรงค์วิเชียรจินดา เสด็จจากพระที่นั่งภัทรบิฐ ทรงโปรยดอกพิกุลเงินพิกุลทองเงินสลึงพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการระหว่างทางเสด็จพระราชดำเนิน เพื่อทรงเปลี่ยนที่ประทับซึ่งจะเป็นพระที่นั่งองค์ใดองค์หนึ่งในหมู่พระมหามณเฑียร เช่น พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน หรือพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย แล้วแต่พระราชประสงค์แต่ละรัชกาล เพื่อที่จะทรงประเคนเครื่องไทยธรรมพระสงฆ์ ทรงรับการถวายอนุโมทนาจากพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ถวายพระพรลา พระราชาคณะสวดคาถาดับเทียนชัย เป็นการเสร็จสิ้นการพระราชพิธีทางฝ่ายสงฆ์๓๘

หลังจากนั้นจึงเป็นการออกมหาสมาคมที่ท้องพระโรง ประทับบนพระแท่นหรือพระที่นั่งภัทรบิฐภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตรเพื่อรับการถวายราชสมบัติจากขุนนางทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนซึ่งประกอบด้วย พระมหานครอันเป็นที่ประทับคือ กรุงเทพมหานคร กับทั้งปราสาทราชมณเฑียรสถานหัวเมืองขึ้นทั้ง เอก โท ตรี จัตวาสัตว์พาหนะ ช้างต้น ม้าต้นพระราชพาหนะอันได้แก่ ราชรถ ราชยาน เรือพระที่นั่งธัญญาหารต่างๆ ที่ขึ้นในแผ่นดินและในหัวเมืองประเทศราชราชสมบัติต่างๆ ทั้งสิบสองท้องพระคลัง และเครื่องศาสตราวุธต่างๆ๓๙ โดยในขั้นตอนการถวายราชสมบัตินี้ปรากฏถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕๔๐ หลังจากนั้นมิได้ปรากฏในรัชกาลต่อมาซึ่งมีเพียงการถวายพระพรชัยมงคลจากขุนนางฝ่ายหน้าและข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายใน เช่น สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ รวมทั้งยังมีการสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินีพร้อมกันด้วยดังที่ปรากฏในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙๔๑

การเฉลิมพระราชมณเฑียร

ขั้นตอนอันเกี่ยวเนื่องกับการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกประการหนึ่งคือ การเฉลิมหรือสมโภชพระราชมณเฑียรซึ่งได้แก่หมู่พระมหามณเฑียรซึ่งมีทั้งส่วนสำหรับว่าราชการได้แก่ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และส่วนที่เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ได้แก่ บริเวณพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน โดยขั้นตอนจะต่อเนื่องจากการเสด็จออกมหาสมาคม๔๒ ซึ่งจะประกอบการพระราชพิธีทั้ง ๒ ส่วนของพระมหามณเฑียรโดยจะเริ่มจากบริเวณส่วนที่ประทับก่อน แล้วจึงเป็นการเวียนเทียนสมโภชในบริเวณท้องพระโรงอันเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการเฉลิมพระราชมณเฑียร ซึ่งตามพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติ ดังนี้

ท้าววรจันทร์ กราบทูลว่า ‘ข้าพระพุทธเจ้า ท้าววรจันทร์ ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระสนมสิบสองพระกำนัล แด่พระบาทสมเด็จบรมนารถบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวขอเดชะ’ ทรงพระราชปฏิสัณถารตามพระราชอัธยาศัยเสร็จแล้ว ครั้นได้พระฤกษ์เจ้าพนักงานจึงประโคมดุริยางคดนตรีแตรสังข์พิณพาทย์มโหรีมี่สนั่นประนังเสียงศัพทนฤนาท เสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระมหามนเทียร ทรงโปรยดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน มีนางชำระพระบาท ๒ นางเชิญเครื่องราชูปโภค และนางเชื้อพระวงศ์ ๖ อุ้มวิฬาร์ ๑ อุ้มศิลาบด ๑ อุ้มฟักเขียว ๑ ถือขันข้าวเปลือก ๑ ถือขันถั่วทอง ๑ ถือขันงา ๑

ครั้นเสด็จถึงในที่ทรงจุดเทียนนมัสการก่อนแล้วเสด็จขึ้นที่พระแท่นบรรทม พระราชวงศ์ผู้ใหญ่ผ่ายในถวายดอกหมาก ทำด้วยทองคำหนัก ๕ ตำลึง ทรงรับแล้ววางไว้ข้างที่แล้วท้าวทรงกันดาลถวายกุญแจ แล้วเอนพระองค์ลงบรรทมเหนือพระแท่นที่โดยทักษิณปรัศว์เบื้องขวาเป็นพระฤกษ์ก่อนแล้ว และพระวงศ์ฝ่ายในผู้ทรงพระชนมายุถวายพระพรก่อน แล้วพระบรมวงศานุวงศ์ ท้าวนางข้างในถวายพระพรพร้อมกัน แล้วให้ประโคมดุริยางคดนตรี ครั้นสุดเสียงประโคมแล้วเสด็จขึ้น ครั้นเวลาบ่ายพระราชวงศานุวงศ์ผู้ใหญ่ผู้น้อยฝ่ายหน้าฝ่ายในและข้าราชการทหารพลเรือน เวียนเทียนเฉลิมพระมหามนเทียรตามโบราณราชประเพณีแต่ก่อนมา๔๓

ขั้นตอนบริเวณส่วนที่ประทับจะเป็นขั้นตอนในส่วนของข้าราชสำนักฝ่ายในเริ่มจากการถวาย “พระสนมสิบสองพระกำนัล” จากนั้นพระมหากษัตริย์เสด็จประทับยังห้องพระบรรทมระหว่างทางทรงโปรยดอกพิกุลทอง พิกุลเงิน พร้อมด้วยนางชำระพระบาท และที่สำคัญคือ ข้าราชสำนักฝ่ายในและเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในเชิญเครื่องราชูปโภคและสิ่งของอันเป็นมงคลทั้ง ๖ สิ่ง ได้แก่ วิฬาร์ (แมวศิลาบดฟักเขียวขันข้าวเปลือกขันถั่วทองและขันงา จากนั้นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะลงบรรทมบนพระแท่นเป็นปฐมฤกษ์ก่อนที่พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในจะถวายพระพรก่อนที่จะมีการเวียนเทียนสมโภชพระราชมณเฑียรซึ่งประกอบพระราชพิธีที่ท้องพระโรงพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย


หมู่พระมหามณเฑียร (ภาพจาก หนังสือพระราชพิธีบรมราชาภิเษก)

สำหรับสิ่งของที่เป็นเครื่องประกอบพระราชพิธีล้วนมีความหมายอันเป็นมงคลสำหรับที่ประทับขององค์พระมหากษัตริย์โดยมีความหมายดังนี้

วิฬาร์ (แมวแสดงถึง ความโชคดี มีลาภร่มเย็นเป็นสุข อันสอดคล้องกับคติความเชื่อของไทยที่ว่า แมวหมามาสู่จะมีลาภ อีกทั้งยังเชื่อว่าแมวสามารถขับไล่ภูตผีปิศาจและสิ่งชั่วร้าย เพราะแมวมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ในเวลากลางคืน หรือความเชื่อที่ว่าแมวมีเก้าชีวิต หมายถึงความยั่งยืนสถาพรและเป็นอมตะ

ศิลาบด เป็นของใช้ในครัวเรือนใช้บดเครื่องแกงหรือเครื่องปรุงอาหารต่างๆ การนำศิลาบดมาใช้ในการเฉลิมพระราชมณเฑียรมีความหมายสอดคล้องกับการแสดงความยินดีในการขึ้นเรือนใหม่ด้วยการมอบเครื่องครัวและพันธุ์พืช แก่เจ้าของเรือนนั้น หรือเกี่ยวข้องกับคำให้พรอันแสดงถึงความเจริญงอกงามและมีความมั่นคงที่ว่า “ให้อยู่เย็นเป็นสุขดั่งอุทกธารา และฟัก ให้มีน้ำใจหนักหน่วงดุจศิลา ขอให้ถั่วงางอกงามบริบูรณ์” ศิลาดังกล่าวนั้นหมายถึงศิลาบด๔๔ และยังเห็นถึงความหมายของสิ่งอันเป็นมงคลอีกคือ ฟักเขียว หมายถึง ความร่มเย็นเป็นสุข และถั่วงา หมายถึงความเจริญงอกงาม เช่นเดียวกับข้าวเปลือกที่มีความหมายเดียวกัน ซึ่งล้วนเป็นสิ่งของที่มีความหมายดีแก่องค์พระมหากษัตริย์ที่ทรงเฉลิมพระราชมณเฑียรหรือผู้ที่ขึ้นเรือนใหม่ทั้งสิ้น

นอกจากนี้ยังมีสิ่งของอันมีความหมายมงคลที่ใช้ในการพระราชพิธีดังกล่าวอีกคือ ดอกหมาก หรือจั่นหมาก บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ เพราะดอกหมากหรือจั่นหมากมีลักษณะเป็นพวงเมื่อออกผลจำนวนมากเรียกเป็นทะลาย แสดงถึงความรุ่งเรืองมีทรัพย์ศฤงคาร เช่นเดียวกับดอกมะพร้าวหรือจั่นมะพร้าวที่ใช้ประดับสถานที่ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกก็มีความหมายเดียวกัน อีกสิ่งที่ปรากฏอยู่เสมอในการเฉลิมพระราชมณเฑียรคือ กุญแจทอง มีความหมายถึงการมอบกรรมสิทธิ์ให้กับเจ้าของบ้านใหม่ซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ไม่เพียงเท่านั้น สิ่งของอันเป็นมงคลสำหรับการพระราชพิธียังมีมากขึ้นในรัชกาลต่อมา ได้แก่ พระแส้หางช้างเผือกผู้ เริ่มมีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ซึ่งแส้นั้นเป็นเครื่องใช้สำหรับปัดฝุ่นละออง การใช้หางช้างเผือกมาทำพระแส้นั้นแสดงถึงสิ่งของอันเป็นมงคลมากด้วยบารมี เนื่องจากช้างเผือกถือเป็นสัตว์คู่บารมีเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ หรือในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีการอุ้มไก่ขาวเข้าร่วมพระราชพิธี อันอาจสอดคล้องกับการสร้างครอบครัวใหม่ที่มีการมอบสัตว์เพื่อช่วยเหลือเจ้าของบ้าน ซึ่งไก่นับเป็นสัตว์เลี้ยงสารพัดประโยชน์ทั้งบอกเวลาและเลี้ยงไว้กินไข่ และผสมผสานกับคติความเชื่อของจีนที่ว่า ไก่ขาวสามารถขับไล่สิ่งชั่วร้ายได้๔๕

หลังการเฉลิมพระราชมณเฑียรจะเป็นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราทั้งทางสถลมารคและทางชลมารคอันเป็นการเสร็จสิ้นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก๔๖


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประทับพระที่นั่งราชยานพุดตาลทอง เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนราบใหญ่ ไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ภาพจากหนังสือ ประมวลภาพประวัติศาสตร์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมัยรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๕๐ (ที่มา ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2559)

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกนับเป็นพระราชพิธีที่แสดงถึงความเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งเมื่อพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นครองราชสมบัติ นอกเหนือจากคติอันนับเนื่องด้วยความเป็นมงคลนานาประการแล้ว ยังเป็นพระราชพิธีที่แสดงพันธะถึงสัญญาซึ่งพระมหากษัตริย์จะดำรงอยู่ในสิริราชสมบัติด้วยการปกครองบ้านเมืองอย่างผาสุกร่มเย็นแก่เหล่าสมณชีพราหมณ์ ขุนนางข้าราชการและอาณาประชาราษฎรในพระราชอาณาจักร ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่  มีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่  พฤษภาคม ๒๔๙๓ ด้วยถ้อยคำกระชับและเป็นที่จดจำแก่เหล่าพสกนิกรตราบนานเท่านาน ดังนี้

เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม๔๗

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.silpa-mag.com/

.....

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท  
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)