ข่าวประวัติพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร - kachon.com

ประวัติพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ประวัติวัดและพระพุทธรูป

photodune-2043745-college-student-s

ประวัติพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร หรือ หลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ อยู่ในพระอิริยาบถนั่งสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางเหนือพระชานุ ปลายพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หน้าตักกว้าง ๖ ศอก ๕ นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกตุเมาฬี ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว น้ำหนักประมาณ ๕ ตันครึ่ง

ประวัติว่าสร้างเมื่อใดยังไม่แน่ชัด เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของวัดมหาธาตุ สุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า "วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" ซึ่งพิจารณาทั้งตามหลักฐานอื่นและเหตุผลประกอบแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ น่าจะเป็น พระพุทธรูปทอง องค์ดังกล่าว เพราะปริมาณทองคำแท้นี้ รวมถึงขนาดพระพุทธรูปนี้ ย่อมเกินกว่าที่สามัญชนทั่วไปพึงสร้างเป็นสมบัติ

แต่อย่างไรก็ดี ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ได้ถูกพอกปูนลงรักปิดทองทั่วทั้งองค์ เพื่อเป็นการอารักขาภัย แต่ไม่ทราบว่าตกไปอยู่ในสถานที่ใดบ้าง ทราบแต่เพียงว่าล่าสุด ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระยาไกร (วัดโชตนาราม) แต่ต่อมา วัดพระยาไกร กลายเป็นวัดร้าง ไม่มีผู้ดูแล ประกอบกับ บริษัท อีสต์เอเชียติก จำกัด ประสงค์ขอเช่าพื้นที่ของวัดเพื่อดำเนินกิจการของบริษัท ที่ประชุมคณะสงฆ์จึงให้วัดไตรมิตรวิทยาราม และวัดไผ่เงินโชตนาราม ไปอัญเชิญพระพุทธรูปสององค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวัดพระยาไกรนั้น ไปประดิษฐานไว้ตามสมควร ทางคณะของวัดไผ่เงินฯได้เดินทางไปถึงก่อน จึงเลือกอัญเชิญพระพุทธรูปสำริดไป เหลือพระพุทธรูปปูนปั้นไว้ให้วัดไตรมิตร

ข้อสันนิษฐานว่าเหตุใด พระพุทธรูปจึงประดิษฐานอยู่ที่วัดพระยาไกร บ้างก็ว่าสมัยรัชกาลที่ 1 ได้ให้กรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท อัญเชิญพระพุทธรูปจากเมืองสุโขทัยและเมืองอื่น ๆ เป็นจํานวน 100 กว่าองค์ นํามาประดิษฐานที่กรุงเทพฯ รวมทั้งพระพุทธรูปทองคําองค์นี้ด้วย แต่ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะเป็นพระพุทธรูปทองคําขนาดใหญ่มาก นําไปประดิษฐานไว้ในพระอารามหลวงมากกว่าที่จะนําไปประดิษฐานที่วัดราษฎร์ อีกประการคือ เมื่อหุ้มด้วยปูนน่าจะเกิดการกะเท่าแตกบ้างขณะขนย้ายมายังกรุงเทพ และเรื่องที่ว่า มีขุนนางบางคนเห็นประโยชน์ส่วนตัว จึงยักยอกเอาพระพุทธรูปทองคําองค์นี้ไว้เป็นสมบัติส่วนตัว แล้วสั่งให้ช่างเอาปูนไล้เสียให้ทั่วองค์พระ แต่ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะการเก็บเป็นความลับเรื่องพระพุทธรูปทองคําที่มีขนาดใหญ่จึงเป็นเรื่องที่ทําได้ยากมาก

ส่วนอีกข้อสันนิษฐาน คือ พระพุทธรูปทองคําองค์นี้น่าจะหล่อขึ้นในสมัยเดียวกันกับการสร้างวัดพระยาไกร กล่าวคือ พระยาไกรโกษาได้สร้างพระพุทธรูปทองคําขึ้นมาเพื่อเป็นพระประธานของวัด สันนิษฐานได้ว่า พระยาไกรโกษาเป็นผู้ที่มองการณ์ไกล เนื่องจากถ้าเกิดศึกสงครามขึ้นมาก็สามารถถอดออกและขนย้ายได้สะดวกกว่าการขนย้ายพระทั้งองค์ ส่วนการไล้ปูนทั่วองค์พระพุทธรูปนั้นก็อาจจะเป็นไปได้ว่า ประการแรก เพื่อเป็นการป้องกันการครหานินทา เนื่องจากว่าไม่เคยมีผู้ใดเคยสร้างพระพุทธรูปทองคําขนาดใหญ่แบบนี้มาก่อน

ค้นพบ
ในขั้นแรกเมื่อถึงวัดไตรมิตร ก็ได้แต่เพียงปลูกเพิงสังกะสีธรรมดา เพื่อบังแดดบังฝน ไว้ริมถนนด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถ เป็นเวลาถึง 20 ปี ด้วยยังหาที่จะประดิษฐานอันเหมาะสมมิได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 จึงทำการสร้างวิหารใหม่ ด้วยตั้งใจจะประดิษฐานพระพุทธรูปองค์นี้โดยเฉพาะ เพื่อจะได้ทำการประดิษฐานพระพุทธรูป ให้ถูกต้องตามโบราณราชประเพณี แต่ในขณะเคลื่อนย้ายพระพุทธรูป เนื่องจากพระพุทธรูปมีน้ำหนักมาก สายเครื่องกว้านจึงขาดลง ทำให้พระพุทธรูปตกกระแทกพื้น ส่งผลให้ปูนที่หุ้มบริเวณพระอุระกระเทาะออก เผยให้เห็นเนื้อทองคำบริสุทธิ์ ท่านเจ้าอาวาสจึงให้ลอกปูนออกทั้งองค์ แล้วนำขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิหารนั้นมาจนถึงปี 2550

พอย่างเข้าปลายปี 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างพระมหามณฑป พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แทนพระพระวิหารองค์เดิม ซึ่งคับแคบมาก และเมื่อปลายปี 2552 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีสวมพระเกตุมาลาบนเหนือพระเศียรพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรด้วย

ลักษณะ
พระสุโขทัยไตรมิตร ขณะประดิษฐาน ณ พระวิหารหลังเก่า ภายในวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร พระพุทธรูปเป็นพระพุทธรูปสุโขทัย ปางมารวิชัย มีหน้าตักกว้าง 3.10 เมตร มีหน้าตัก กว้าง 6 ศอก 1 คืบ น้ำหนักประมาณ 5 ตันเศษ มีรูปลักษณะพระพักตร์ยาว คางหยัก สังฆาฏิเป็นเขี้ยว ตะขาบทั้งข้างหน้าและข้างหลัง นิ้วเป็นนิ้วมนุษย์ผิดกับนิ้วพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยหมวดพระชินราช ซึ่งมีนิ้ว พระหัตถ์เสมอกันทั้ง 5 นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดพระเกตุมาลา 3.94 เมตร

ถอดออกได้เป็น 9 ชิ้น คือ พระพาหาทั้งสอง พระหัตถ์ทั้ง สอง พระชงฆ์ทั้งสอง พระเพลาทั้งสอง และตรงพระศอ โดยมีกุญแจสําหรับถอดและประกอบกันเข้าแล้วก็สนิทเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน มีความบริสุทธิ์ของเนื้อทองจากฐานขององค์พระ 40 เปอร์เซนต์ เรื่อยขึ้นไปถึงพระพักตร์มีความบริสุทธิ์ของทอง 80 เปอร์เซนต์ ส่วนยอดเป็นทองคำเนื้อแท้ 99.99 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำหนักเฉพาะส่วนยอดนี้ 45 กิโลกรัม

ขอขอบคุณภาพจาก http://thaprajan.blogspot.com
และท่านเจ้าของภาพทุกท่านที่เราได้เอามานำเสนอในสกู๊ปนี้

หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอมคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน

.....

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท  
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)