ข่าวประวัติพระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต ซำปอกง) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร - kachon.com

ประวัติพระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต ซำปอกง) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
ประวัติวัดและพระพุทธรูป

photodune-2043745-college-student-s

ประวัติพระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต ซำปอกง) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

เจ้าพระยานิกรบดินทร์มหินทรมหากัลยาณมิตร (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และเรียกกันต่อมาว่า "หมู่บ้านกุฎีจีน" สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า "วัดกัลยาณมิตร" และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ด้วยมีพระประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมือง อย่างเช่นวัดพนัญเชิง

หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๕ วา ๓ ศอกคืบ สูง ๗ วา ๒ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ อยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ

พระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ป่าเลไลย์) ซึ่งรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างพระราชทาน เป็น ๑ ใน ๒ วัด ของกรุงเทพมหานครที่มีพระประธานของพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ อีกแห่งคืออุโบสถวัดบางขุนเทียนใน ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงพุทธประวัติ และแสดงชีวิตชาวบ้านในสมัยรัชกาลที่ ๓ และยังมีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ ๔ หน้าวิหารหลวงเป็นหอระฆังที่เพิ่งสร้างใหม่ เก็บระฆังยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดของไทย

ประวัติวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร

สถานะและที่ตั้ง
วัดกัลยาณมิตร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร เป็นวัดขนาดใหญ่ตรงปากคลองบางกอกใหญ่ หน้าวัดอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับโรงเรียนราชินี ตั้งอยู่เลขที่ ๓๗๑ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๓ ไร่ ๑ งาน ๑๘ ตารางวา เขตวิสุงคามสีมา หรือบริเวณพระอุโบสถ ด้านกว้าง ๓๑.๗๕ เมตร ด้านยาว ๔๑.๕๓ เมตร ส่วนบริเวณของวัดโดยรอบ ทิศตะวันออกยาว ๒๖๒ เมตร มีคูข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับเนื้อที่บ้านราษฎร ทิศตะวันตกยาว ๒๖๖ เมตร มีเขื่อนข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับคลองบางกอกใหญ่ ทิศเหนือยาว ๒๐๖ เมตร มีเขื่อนหน้าวัดเป็นเขต ติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ยาว ๒๑๖ เมตร มีคูข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับเนื้อที่ราษฎรและที่ธรณีสงฆ์ของวัดบางส่วน ที่ธรณีสงฆ์วัดกัลยาณมิตรนั้นมีอีก ๘ แปลง พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าบีเอตริศภัทรายุวดี และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุ(พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาแสง ธิดาพระยาไชยวิชิต(ช่วง กัลยาณมิตร บุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร) ถวายวัดไว้จำนวนเนื้อที่ ๓๘ ไร่ ๑ งาน ๖๐ ตารางวา คือที่ดินตำบลบ้านแขกตึกขาว อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี หรือในปัจจุบันคือที่ดินในซอยช่างนาค ถนนสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

ผู้สร้างวัดและความสำคัญของวัด
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยานิกรบดินทร (เจ้าสัวโต ต้นสกุลกัลยาณมิตร) ว่าที่สมุหนายกชื่อจีนว่า เต๋า แซ่อึ้ง เมื่อครั้งยังเป็นพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง (ชื่อกรมในสมัยโบราณ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีไพร่พลตลอดจนการเกณฑ์ชายฉกรรจ์เข้ามาฝึกอาวุธและวิชาการรบ เพื่อเป็นกำลังสำรองเวลาบ้านเมืองมีศึกสงคราม) ได้อุทิศที่บ้านและซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงเพิ่มเติมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างพระอาราม ที่ดินบริเวณที่จะสร้างวัดกัลยาณมิตรนี้เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีดิน เป็นแม่น้ำดอนขึ้น ครั้งกรุงธนบุรีเป็นที่จอดแพได้ ครั้นนานวันผันกลับดอนเป็นดิน กลายเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพ่อค้าชาวจีนฮกเกี้ยนที่ได้รับพระราชทานที่ดินจากพระมหากษัตริย์ไทย เช่น หลวงพิชัยวารี (เจ้าสัวมั่ง แซ่อึ้ง) บิดาของเจ้าพระยานิกรบดินทร ชุมชนย่านนี้นอกจากชาวจีนแล้ว ยังเป็นที่อยู่อาศัยของทั้งชาวโปรตุเกส ชาวมุสลิม ชาวไทย และยังมีพระภิกษุจีน
พำนักอยู่ด้วย ชาวบ้านจึงเรียกย่านนี้ว่า ชุมชนกะดีจีน หรือกุฎีจีน 

การก่อสร้างพระอารามเริ่มลงมือเมื่อปีระกา พ.ศ.๒๓๖๘ เป็นปีที่ ๒ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดกัลยาณมิตร” ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ บันทึกไว้ว่า “เจ้าพระยานิกรบดินทรยกที่บ้านเดิมของท่าน แล้วซื้อที่บ้านข้าราชการและบ้านเจ้าสัว เจ้าภาษี นายอากรอื่นอีกหลายบ้านสร้างเป็นวัดใหญ่ พระราชทานชื่อ วัดกัลยาณมิตร แต่พระวิหารใหญ่เป็นของหลวง” นามพระราชทานวัดว่า “วัดกัลยาณมิตร” ที่หมายถึง มิตรดีหรือเพื่อนดี เพื่อนผู้มีกัลยาณมิตร คงมาจากความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ที่มีต่อเจ้าพระยานิกรบดินทร ผู้สร้างวัดนี้ ซึ่งได้ถวายตัวเป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่พระองค์ยังดำรงพระยศในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ประทับอยู่ที่วังท่าพระ ทรงกำกับราชการกรมท่า เจ้าพระยานิกรบดินทรได้เข้านอกออกในวังท่าพระทุกวัน จนคุ้นเคยสนิทสนมกับข้าในวังโดยเฉพาะห้องเครื่อง เพราะท่านเป็นผู้จัดทำแกงจืดอย่างจีนที่เรียกว่า “เกาเหลา” ถวายเสด็จในกรมฯ เลี้ยงบรรดาเจ้านายข้าราชการที่เมื่อออกจากเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรัชกาลที่ ๒ แล้ว ส่วนมากมักแวะมาพักและรับประทานอาหารว่างที่วังท่าพระก่อน 

เสด็จในกรมฯ ทรงค้าขายทางสำเภาด้วย ทำให้เจ้าพระยานิกรบดินทรได้ค้าขายสำเภาร่วมกับพระองค์ทั้งก่อนและภายหลังเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ และจะเห็นได้จากการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารหลวงพระราชทานช่วยเมื่อเจ้าพระยานิกรบดินทรสร้างวัดถวาย ด้วยทรงพระเมตตากรุณารักใคร่เป็นพิเศษ พร้อมกับเสด็จพระราชดำเนินก่อพระฤกษ์พระโต หน้าตักกว้าง ๕ วา ๓ ศอกคืบ สูง ๗ วา ๒ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๓๘๐ พระราชทานเป็นพระประธานในพระวิหารหลวง พระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์นี้เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมือง อย่างเช่นวัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ พระราชทานช่วยเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และสร้างศาลาการเปรียญพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร ผู้เป็นกัลยาณมิตรของพระองค์

ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ เสด็จขึ้นครองราชย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอไตร ณ วัดกัลยาณมิตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๘ พระราชทานนามว่า “หอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ” ทั้งนี้ เพื่อเฉลิมพระเกียรติแห่งพระบรมราชมาตามหัยยิกา กรมพระศรีสุดารักษ์(แก้ว) ผู้เป็นพระเชษฐภคินี ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบรมราชมาตามหัยยิกาธิบดี พระภัสดาในกรมพระศรีสุดารักษ์(ขรัวเงิน) ซึ่งเป็นพระชนนีและพระชนกในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (เจ้าฟ้าบุญรอด) พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างตรงบริเวณที่จอดแพของสมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์มาก่อน เพื่อประกอบพระราชกุศลตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมเชษฐาธิราช กับทั้งเป็นการปูนบำเหน็จเชิดชูเกียรติของเจ้าพระยานิกรบดินทรด้วย ในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาราชสุภาวดี (โต) เป็นเจ้าพระยานิกรบดินทร มหินทรมหากัลยาณมิตรฯ ที่สมุหนายกสำเร็จราชการทั้งปวงในกรมมหาดไทย นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในพระวิหารหลวง ซึ่งเดิมเรียกว่า “พระโต” ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” นามพระราชทานเหมือนกันกับที่พระราชทาน “พระโต” วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินหลวงพระราชทาน ณ วัดกัลยาณมิตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕ นั้น ทรงทราบในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมราชชนกในการที่ทรงสร้างหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ จึงมีพระราชดำริถามถึง และมีพระบรมราชโองการว่า หากหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติทรุดโทรมลงเมื่อใด ให้กราบบังคมทูล แล้วจะทรงซ่อมแซมด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และต่อมาเจ้าพระยารัตน-บดินทร์(รอด กัลยาณมิตร บุตรเจ้าพระยานิกรบดินทร) กราบบังคมทูลถึงความชำรุดทรุดโทรมของวัดและขาดทุนทรัพย์ในการซ่อมแซม จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการจัดการซ่อมแซม

หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน

.....

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท  
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)