ข่าวประวัติ หลวงพ่อแสน วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร - kachon.com

ประวัติ หลวงพ่อแสน วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ประวัติวัดและพระพุทธรูป

photodune-2043745-college-student-s

ประวัติ หลวงพ่อแสน วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ นวโลหะ ชื่อ หลวงพ่อแสน เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบปรางมารวิชัย หน้าตักประมาณ ๒ ศอกเศษ หรือประมาณ ๒๕ นิ้วครึ่ง เป็นโลหะเนื้อสัมฤทธิ์สีทองต่างกันเป็น ๔ ชนิด ดังนี้ เบื้องพระศอตอนบนจนถึงพระเศียรและพระพักตร์สีทองเป็นนวโลหะสัมฤทธิ์แก่ เบื้องพระศอตอนล่างลงมาจนถึงพระองค์ และฐานรองสีทองสัมฤทธิ์เนื้ออ่อนกว่าตอนพระเศียรและพระพักตร์ เนื้อทองจีวรเป็นอีกสีหนึ่งเข้มกว่าเนื้อทองส่วนพระองค์ แต่ไม่เข้มกว่าตอนพระพักตร์และพระเศียร ส่วนผ้าทาบสังฆาฏิก็เป็นเนื้อทองอีกชนิดหนึ่ง แตกต่างจากจีวรและสีพระองค์ พระพักตร์และพระเศียร แต่เป็งสังฆาฏิชนิดยาวทาบลงมาถึงพระนาภีแบบลังกาวงศ์พระเกตุมาลาหรือพระรัศมีเป็นเปลวยาวขึ้นแบบลังกาวงศ์ รอบฝังแก้วผลึก ๑๕ เม็ดนิ้วพระพัตถ์ไม่เสมอกันแบบพระเชียงแสน และสุโขทัยยุคแรก พระเศียรโตเขื่องกว่าส่วนพระองค์จนสังเกตเห็นชัด พระเนตรฝังแก้ว ผลึกในส่วนสีขาวและฝั่งนิลในส่วนสีดำฐานรองเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงายประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถเบื้องหน้าพระองค์พระประธานออกมา จัดเป็นพระพุทธรูปสำคัญและงามเป็นพิเศษแตกต่างจากบรรดาพระพุทธรูปอื่น ๆ มีลักษณะเป็นชนิดหนึ่งหาเหมือนพระพุทธรูปในที่อื่นไม่ เป็นพระเก่าโบราณ 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นมูลเหตุ ในหนังสือชุมชนพระบรมราชาธิบายในพระองค์ท่าน เพื่อให้ผู้อ่านทราบเรื่องเกี่ยวกับหลวงพ่อแสน ซึ่งมีพระราชดำรัสเป็นลักษณะทรงโต้ตอบกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ใจความว่า “ถ้าฉันพอใจจะให้มีพระพุทธรูปสำคัญมีชื่อที่คนนับถือ อยู่ที่วัดหงส์ ฯ เป็นของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ให้เป็นพระเกียรติยศแล้ว พระชื่อพระแสนอยู่เมืองเชียงแตงอีกพระองค์หนึ่งงามนักหนา ถ้าฉันจะมีตราไปเชิญมาท่านจะให้พระยาราชโยธาที่ครั้งนั้นเป็นพระยาสุเรนทร์ใช้คน ให้นำไปชี้องค์พระให้ ฉันเห็นว่าท่านประสงค์ดังนั้น ไม่มีเหตุที่ควรจะขัดฉันก็ไม่ได้ขัด ฉันก็ได้ให้มหาดไทยมีตราไปเชิญ พระนั้นลงมา พระยาสุเรนทร์ใช้พระลาวรูปหนึ่งเป็นผู้รับอาสานำไป ฉันก็ได้ให้ผ้าไตรไปถวายพระสงฆ์ลาวรูปนั้นหนึ่งไตร แล้วก็ให้นำทองตราไป ได้เชิญพระแสนลงมาถึงกรุงเก่าแล้ว ฉันก็ได้บอกถวายวังหน้า ให้ท่านจัดการไปแห่รับมาไว้ วัดหงส์ทีเดียว 

แลฐานที่จะตั้งพระนั้น ฉันให้ท่านทำเป็นการช่างในพระบรมราชวัง ฉันจะเป็นแต่รับปิดทอง ฐานพระนั้นก็ยังทำค้างอยู่บัดนี้ก็ยังไม่ได้ปิดทอง ว่ามาทั้งนี้เป็นการเล่าถึงเหตุที่เป็นแลถ้อยคำที่ได้พูดกันแล้วแต่ก่อนนี้ไป ให้ท่านทั้งปวงทราบ” พระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ค.ศ. ๑๘๕๘ ข้อความว่าดังนี้ ฉันขึ้นไปถึงกรุงเก่า ได้นมัสการพระแสนเมืองเชียงแตงแล้ว รูปพรรณเป็นของเก่าโบราณนักหนา แต่เห็นชัดว่าอย่างเดียวกับพระแสนเมืองมหาชัยแน่แล้วของคนโบราณจะนับถือว่า พระแสนองค์นี้ องค์ใดองค์หนึ่งจะเป็น ของเทวดาสร้างฤๅว่าเหมือนพระพุทธเจ้าแท้ แล้วจึงถ่ายอย่างกันข้างหนึ่งเป็นแน่แล้ว แต่เมื่อดูสีทองแลชั้นเชิงละเอียดไป ดูทีเห็นว่าจะพระแสนเมืองเชียงแตงจะเก่ากว่า สีทองที่พระเศียรและพระพักตร์ เป็นสีนากเนาวโลหะเช่นกับพระอุมาภควดีเก่า ในเทวสถานหมู่กฤๅพระนาสิกก็ดูบวมมากเหมือนกันทีเดียว ที่พระองค์ พระหัตถ์พระบาทนั้น สีทองเป็นอย่างหนึ่ง ติดจะเจือทองเหลืองมากไป ทีผ้าพาดนั้นเป็นแผ่นเงินฝังทายทับลง แต่ดูแน่นหนาอยู่ พระแสนองค์นี้ฉันถวายแล้ว โปรดทรงพระดำริดูเถิด จะให้ไปเชิญลงมาเมื่อไรอย่างไรก็ตามแต่จะโปรด

ประวัติ หลวงพ่อแสน วัดหงส์รัตนาราม ฉบับเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์กับเจ้าราชวงศ์เมืองนครจำปาศักดิ์ว่าไว้ ดังนี้

พระภิกษุรูปหนึ่ง ฉลาดไหวพริบดีและแตกฉานในพระไตรปิฎก เป็นชาวเมืองพาน ได้รับยกย่องเป็นราชาจั่วและได้รับอุปสมบทเป็นภิกษุ มีพระสงฆ์นั่งหัตถบาสถึง ๕๐๐ รูปในพระอุโบสถน้ำ โดยพระเจ้า เมืองเวียงจันทร์ถวายอุปการะ ต่อมาได้รับฐานันดรศักดิ์เป็นพระครู และจำพรรษาอยู่ ณ วัดโพนเสม็ด เรียกชื่อว่า “พระครูโพนเสม็ด” ต่อมาเจ้านครเวียงจันทร์พิราลัย พระยาเมืองแสนชิงราชสมบัติได้เป็นเจ้าเมือง พระครูโพนเสม็ดพร้อมด้วย ศิษยานุภาพศิษย์ชาวบ้าน และมเหสีพระโอรสเจ้าเวียงจันทน์เดิม จึงทิ้งถิ่นเดิมอพยพย้ายกันเป็นหมู่ใหญ่จำนวนนับพันมาอยู่ยังตำบลจะโรย จังวา คือตำบลบ้านแหลม ซึ่งต่อมาตำบลนี้เป็นนครพนมเปญ พระครูโพนเสม็ดประสบศุภนิมิต คือได้พระบรมธาตุจากยายเป็นผู้ถวาย จึงสร้างเจดีย์เป็นพนมขึ้นแล้วบรรจุพระบรมธาตุนั้นไว้ ณ ทีเจดีย์พนมนี้ แล้วท่านจึงหล่อพระพุทธปฏิมากรองค์หนึ่ง ได้แต่เพียงพระเศียรลงมาถึงพระกรขวา เกิดเรื่องพระจ้ากรุงกัมพูชาจะเก็บส่วยเป็นเงินครัวละ ๘ บาท พระครูโพนเสม็ดจึงพาญาติโยมเคลื่อนที่ขึ้นไปตามลำน้ำโขงโดยลำดับแล้วมาอธิษฐานของที่อยู่อาศัย ด้วยอำนาจกุศลธรรมของ ท่าน ก็เกิดเกาะเป็นหาดขึ้นเรียกกันว่า “หาดท่านพระครู” ในปัจจุบัน 

พระครูโพนเสม็ดและญาติโยมก็อยู่พำนัก ณ ที่นี้ และสร้าง พระพุทธปฏิมากรต่อพระอังสาพระกรเบื้องซ้ายตลอดพระแท่นรองสำเร็จแล้วให้ศิษย์ไปนำส่วนพระเศียรและพระกรเบื้อง ขวามาต่อสวมเข้าเป็นองค์บริบูรณ์ ตรงนั้นเรียกเกาะหาดเกาะทรายมาจนบัดนี้ แล้วขนานนามพระปฏิมากรองค์นี้ว่า “พระแสน” และสร้างวิหารประดิษฐาน ณ ที่นี้ พระครูโพนเสม็ดรูปนี้เป็นผู้ให้กำเนิดเมืองเชียงแตงและนครจำปาศักดิ์พร้อมทั้งเจ้าท้าวพระยาอีกด้วย และท่านยังได้สร้างพระพุทธปฏิมากรองค์ อื่น ๆ อีก เมื่อพิจารณาตามประวัตินี้หลวงพ่อแสนได้กำเนิดจากพระครูโพนเสม็ด ในเนื้อที่สองแห่ง คือ ที่บ้านแหลมต่อมา กลายเป็นราชธานีนครพนมเปญ และเกาะหาดเกาะทรายซึ่งต่อมาในบริเวณที่แถบนี้กลายเป็นนครจำปาศักดิ์ ศิษย์ของพระครูโพนเสม็ดเป็นเชื้อสายเจ้านคร เวียงจันทร์เดิม พระนามว่าเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกรู โดยท่านเป็นผู้สถาปนาขึ้น และพระโอรสเจ้าสร้อยศรีสมุทร องค์สุดท้อง ทรงพระนามว่า พระไชยเชษฐ์ ครองเมืองเชียงแตง คือบ้านหางโค ปากน้ำเซกอง ฝั่งโขงตะวันออก 

บัดนี้นับว่า หลวงพ่อแสนเป็นพระฤกษ์อันสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระต้นสกุลองค์หนึ่งของพระแคล้วลานช้าง กรมพระยาดำรงราชนุภาพ ทรงให้เหตุผลไว้ในหนังสือพุทธเจดีย์ว่า “พุทธเจดีย์แบบเชียงแสนเป็นต้นแบบต่อไปถึง ประเทศลานช้าง คือ เมืองหลวงพระบาง เวียงจันทร์ ลงมาจนถึงเมืองจำปาศักดิ์” ดังนี้ นัยนี้คำว่า “พระแสน” ก็หมายเอา “พระสมัยฝีมือเชียงแสน” นั่นเอง แต่เรียกสั้นก็ว่า “พระแสน” ฉะนั้นหลวงพ่อแสนองค์นี้ นับเข้าเป็นพระงามยิ่งองค์หนึ่งในบรรดาพระพุทธรูปลานช้างที่งามด้วยกันคือพระแสนวัดหงส์ ฯ นี้องค์หนึ่งและ พระแสนกับพระเสริม วัดปทุมวรารามอีก ๒ องค์ด้วยกัน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดไว้ในประเภทพระพุทธรูปสำคัญทรงพระนิพนธ์ประวัติไว้ในตำนานจองพระองค์ท่านดังนี้ “พระแสน” (เมืองเชียงแตง) พระพุทธรูปองค์นี้ เชิญมาแต่เมืองเชียงแตงเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑ ประดิษฐานไว้ในอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม”

หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน

ประวัติ หลวงพ่อทองคำ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

พระพุทธปฏิมาที่มีจารึกระบุปีที่สร้างมีอยู่หลายองค์ ล้วนสร้างขึ้นในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๒๐(ราวพ.ศ. ๑๙๒๑ – ๒๐๐๖) พระพุทธปฏิมาทองคำในพระวิหารวัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพมหานคร มีจารึกว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๖๓ เป็นพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย มีพระขนงโก่งเชื่อมกับสันพระนาสิกทั้งสองด้าน พระหนุสอบเข้า เป็นศิลปะสุโขทัยช่วงที่ตกเป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา พระพุทธปฏิมาสำคัญที่มีพุทธลักษณะที่เทียบเคียงได้กับพระพุทธปฏิมาทองคำของวัดหงส์รัตนาราม ได้แก่พระสุรภีพุทธพิมพ์ พระประธานวัดปรินายก หลวงพ่อร่วง วัดมหรรณพาราม และพระสุโขทัยไตรมิตร วัดไตรมิตรวิทยาราม

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งทรงเสด็จมาสักการะองค์หลวงพ่อทองคำ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

พระพุทธปฏิมาทองคำประดิษฐาน ณ ศาลาตรีมุข ค้นพบในรัชกาลปัจจุบันเมื่อปี ๒๔๙๙ เจ้าอาวาสใหม่ในขณะนั้นได้แผ้วถางทำความสะอาดสิ่งก่อสร้างต่างๆในบริเวณวัด รวมถึงพระวิหารหลังพระอุโบสถซึ่งถูกทิ้งรกร้างอยู่ด้วย วิหารหลังนี้เดิมเป็นพระอุโบสถที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาได้มีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนหลังเดิม หลังจากแผ้วถางทำความสะอาดพระวิหารแล้ว พบว่าภายในมีพระพุทธรูปเป็นพระประธานองค์ใหญ่พร้อมกับพระพุทธรูปอื่นๆอีกหลายองค์ 

ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันนั้นเองปูนที่พอกพระประธานซึ่งชำรุดร้าวทั่วองค์เกิดกะเทาะแตกออกตรงส่วนพระอุระ ทำให้เห็นภายในเป็นโลหะสุกใสเหลืองอร่าม เมื่อกะเทาะปูนออกก็ปรากฏพระพุทธปฏิมาทองคำโบราณมีพุทธลักษณะแบบสุโขทัย พร้อมกับจารึกที่ฐานอ่านได้ความว่า “ สร้างเมื่อพุทธศักราช ๑๙๖๓ ตรงกับปีเถาะ เดือน ๓ ขึ้น ๑ ค่ำ สมเด็จท้าวพระยาศรียศราชสร้างถวายเป็นพุทธบูชา ” พระพุทธรูปองค์นี้มาประดิษฐานอยู่ ณ วัดหงส์ฯ ตั้งแต่เมื่อใดไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด กล่าวกันแต่เพียงว่าปูนที่ปั้นพอกองค์พระไว้ทำแบบ ศิลปะรัตนโกสินทร์ และไม่ได้มีลักษณะงดงามจนเป็นที่สังเกตแต่อย่างใด

หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอทคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน

.....

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท  
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)