ข่าวประวัติความเป็นมา พระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวราราม(มีคลิป) - kachon.com

ประวัติความเป็นมา พระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวราราม(มีคลิป)
ประวัติวัดและพระพุทธรูป

photodune-2043745-college-student-s

 

ประวัติความเป็นมา พระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวราราม(มีคลิป)

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปีพุทธศักราช 2394 ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม ในฐานะพระอารามหลวงประจำรัชกาลสมเด็จพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ก่อสร้างตกแต่งอาคารเพิ่มเติมทั่วไปพระพุทธนฤมิตรเฉพาะ พระอุโบสถ โปรดสร้างบุษบกยอดปรางค์ที่ผนังหุ้มกลองด้านหน้าพระอุโบสถ เพื่อจำลองพระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างถวาย ประดิษฐาน ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามด้วยในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ยังไม่มีพระนาม เฉพาะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ประชาชนจะขานพระนามรัชกาลที่ 1 ว่า แผ่นดินต้น รัชกาลที่ 2 ว่า แผ่นดินกลางและรัชกาลของพระองค์ว่า แผ่นดินปลาย

จึงทรงดำริแก้ไข โดยสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์ เป็นพระมหาจักรพรรดิทรงยืน รัชกาลที่ 1 ว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 2 ว่าพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน ศาสดารามแต่การสร้างยังไม่แล้ว เสร็จ ค้างมาถึงรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเร่งทำให้สำเร็จ แล้วเฉลิมฉลองในวันครองสิริราชสมบัติ เท่าสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช เป็นเวลา 15 ปี ตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม พุทธศักราช 2426 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระพุทธรูปและสมโภชสิริราชสมบัติพร้อมกัน ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ถวายพระนามพระพุทธรูปว่า "พระพุทธนฤมิตร" แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานในบุษบกยอดปรางค์ที่ผนังด้านพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม พระพุทธนฤมิตร เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร วัสดุโลหะศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ขนาดองค์พระสูง 98 นิ้ว ฐานสูง 46 นิ้ว

วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร ถือเป็นวัดไทยอีกแห่งหนึ่งที่เป็นหน้าเป็นตาของเมืองไทย ที่บรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่างกล่าวขวัญถึงความโดดเด่นของพระปรางค์วัดอรุณฯ ปรากฏริมแม่น้ำเจ้าพระยาอันงดงามมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นหนึ่งสัญลักษณ์ ของกรุงเทพฯ ด้วย วัดไทยโบราณแห่งนี้ มีนามว่า "วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร" มีหลักฐานการสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดนี้เดิมชื่อ วัดมะกอก ต่อมาเรียกว่า วัดมะกอกนอก เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอกครั้น เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรี พ.ศ.2310

ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดแห่งนี้ตอนรุ่งแจ้งจึงโปรดเกล้าฯ ให้เทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำ เสด็จขึ้นไปสักการบูชาพระมหาธาตุ ซึ่งเป็นพระปรางค์องค์เดิมองค์ที่เห็นในปัจจุบันสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดมะกอกและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดแจ้ง" ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ.2322 ก่อนย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามใน พ.ศ.2327 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม

และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งและ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดอรุณราชธาราม" พระองค์มีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อนจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูลในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่ พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามว่า "วัดอรุณราชวราราม"

เหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467

ใครกันแน่ที่เป็นผู้สร้างเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467

ก่อนอื่นทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องขอยืนยันในความบริสุทธิใจ ในการที่จะขอนำเสนอบทความเรื่อง"ใครกันแน่ที่เป็นผู้สร้างเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467" ที่ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องจะนำเสนอกับท่านผู้อ่านบทความในครั้งนี้เสียก่อนว่า พวกเรามิได้มีเจตนาจะโจมตีกล่าวว่าร้ายใครใดๆทั้งสิ้น แต่เนื่องด้วยพวกผมส่วนใหญ่ในทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องเป็นคนวัดอรุณ เติบโตที่วัดอรุณ ศรัทธาในองค์หลวงปู่นาค วัดอรุณเป็นที่สุดจึงได้เกิดความสงสัยและได้ปรึกษากันว่าพวกเราควรออกหาความจริงกันให้ประจักษ์ดีไม๊ เพื่อให้ประวัติต่างๆถูกต้องตามความเป็นจริง จะได้เป็นประโยชน์กับอนุชนรุ่นหลังที่ต้องการจะศึกษาและเก็บสะสมเหรียญรุ่นนี้ต่อไป

ภาพด้านหลังเหรียญ พระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467

ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องได้เข้าไปที่วัดอรุณเพื่อขอสัมภาษณ์พระเถระจารย์ผู้ใหญ่เก่าๆในวัดอรุณ ทั้งยังได้ติดตามสอบถามจากคนเก่าคนแก่แถบวัดอรุณ ก็ไม่ปรากฎวว่าจะมีท่านผู้ใดรู้ถึงประวัติการสร้าง เหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 เลยสักท่านเดียว ซึ่งพวกเราก็ไม่สามารถที่จะยืนยันได้ว่าทางวัดอรุณได้มีการจัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ขึ้นมาจริงหรือไม่ แต่ด้วยอักษรที่ระบุอยู่ในหลังเหรียญว่า พระพุทธนฤมิตร พวกเราก็คงจะปฏิเสธว่าเหรียญรุ่นนี้ ทางวัดอรุณมิได้สร้างคงไม่ได้

ด้านหน้า เหรียญพระพุทธนฤมิต วัดอรุณ ปี 2510 ที่ระบุว่า พระพุทธนฤมิต วัดอรุณ ไว้อย่างชัดเจน

แต่ทางทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องอยากจะขอฝากแง่คิดกับท่านผู้อ่านไว้สักนิดว่า โดยธรรมชาติทั่วไปของการจะสร้างเหรียญพระพุทธรูปประจำวัดขึ้นมาสักรุ่นสักครั้งหนึ่งนั้น ทำไมทางวัดอรุณถึงไม่สร้างเหรียญพระพุทธรูปประจำวัดของตน ให้ตรงกับพุทธลักษณะของพระพุทธรูปประจำวัดของท่านเลยหรือ พระพุทธนฤมิตรของวัดอรุณนั้น พระพุทธลักษณะของท่านเป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร จัดสร้างและถวายโดยพระมหากษัตริย์และวัดอรุณก็เป็นวัดหลวงที่มีประวัตความเป็นมาที่แน่นอน มีการจดบันทึกความเป็นมาของวัดและอดีตเจ้าอาวาสไว้อย่างชัดเจน แต่ในพุทธลักษณะของเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 ที่วงการนักสะสมพระเครื่องกำลังเล่นหาและคิดว่าเป็นเหรียญที่สร้างโดย พระพิมลธรรม(นาค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามรูปที่ 10

ด้านหลัง เหรียญพระพุทธนฤมิต วัดอรุณ ปี 2510 ด้านหลังเหรียญเป็นรูป พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

นั้นทำไมกลับเป็นเหรียญรูปพระพุทธนั่งขัดสมาธิเสียเล่า ท่านผู้อ่านรู้สึกว่ามันจะขัดๆกันเกินไปหรือไม่ ในบทความนี้ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องได้นำเอาภาพ พระพุทธนฤมิตรที่ทางวัดอรุณได้จัดสร้างขี้น 2 รุ่น มาให้ท่านผู้อ่านได้ดูเปรียบเทียบว่า ถ้าทางวัดอรุณจะสร้างเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณขึ้นมาจริงๆนั้น ทางวัดอรุณจะสร้างออกมาแบบไหน แล้วเพราะด้วยเหตุผลใด เหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 ทางวัดจึงต้องสร้างให้ไม่ตรงกับพุทธลักษณะของพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณท่านด้วย มีเหตุผลอะไรจึงต้องทำแบบนั้น ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องขอฝากเป็นแง่คิดไว้สำหรับท่านผู้อ่านที่กำลังศึกษาเล่นหาเหรียญรุ่นนี้ไว้นะครับ

ด้านหน้า พระเนื้อผงพระพุทธนฤมิต วัดอรุณ

แต่ที่ไม่ตรงตามความเป็นจริงอย่างแน่นอน ที่พวกเราทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องอยากนำเสนอเพื่อชำระให้ถูกต้องนั้นก็คือ เหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 มิได้สร้างโดย พระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๐ อย่างแน่นอน เพราะในประวัติของวัดอรุณได้ระบุถึง วัน เดือน ปี ของอดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณ ที่จะมารับตำแหน่งรวมถึงวันมรณะภาพของท่านไว้อย่างชัดเจน ซึ่งวันที่ ท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๐

ใต้ฐาน พระเนื้อผงพระพุทธนฤมิต วัดอรุณ ที่ระบุว่า พระพุทธนฤมิต ไว้อย่างจัดเจน

ท่านมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอรุณนั้นก็คือ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ปีฉลู ซึ่งท่านหลวงปู่นาคท่านมารับตำแหน่งหลังจากมีการสร้างเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 ที่กล่าวอ้างกันนี้ถึง 1 ปี แล้วเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2467 จะเป็นท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณจัดสร้างขึ้นได้อย่างไร และในประวัติการสร้างวัตถุมงคลของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องได้ค้นคว้าสืบหามานานก็ไม่เคยมีใครระบุไว้ว่า ท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๐ ท่านได้เคยจัดสร้างวัตถุมงคลที่เป็นเหรียญไว้แต่อย่างใดเลย

ด้านหลัง พระเนื้อผงพระพุทธนฤมิต วัดอรุณ เป็นรูปพระปรางค์วัดอรุณ

หากบทความนี้ทำให้เกิดความเสียหายให้แก่ท่านใด ทางทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องต้องขอภัยเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้อีกครั้ง แต่เพราะพวกเราทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องเป็นชาววัดอรุณ ก็ไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ของวัดอรุณได้คลาดเคลื่อนไป ท่านผู้อ่านทั้งหลายก็ลองอ่านวิเคราะห์จากหลักฐานต่างๆที่ทางทีมงานกะฉ่อนพระเครื่อง ได้นำเสนอเช่น พระเนื้อผงพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ หรือจะเป็นเหรียญพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ปี 2510 และยังประวัติของอดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ที่ทีมงานได้นำมาเสนอเป็นตัวอย่างคือ ประวัติของอดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามรูปที่ 10 ข้างล่างนี้ดูนะครับ และในโอกาสนี้ทางทีมงานกะฉ่อนพระเครื่อง จึงขออนุญาตท่านผู้อ่านขอนำเสนอ ประวัติความเป็นมาของ องค์หลวงพ่อพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวราราม แก่ท่านผู้อ่านด้วยเลยนะครับ เพื่อเป็นเกียติประวัติแด่ องค์หลวงพ่อพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวราราม เผื่อวันหน้าท่านผู้อ่านได้มีโอกาศมาที่วัดอรุณ จะได้เข้าไปกราบนมัสการขอพรจากท่าน องค์หลวงพ่อพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวราราม องค์หลวงพ่อพระพุทธนฤมิตร วัดอรุณ ท่านมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมากครับ ขอท่านผู้อ่านจงมีความสุขสมหวังทุกๆท่านครับ

รวมวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมของวัดอรุณราชวราราม ได้เคยสร้างไว้ในอดีต

ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องมีเจตนาที่จะขอร่วมอนุรักษ์และรวบรวมพระเครื่องพระพิมพ์ต่างๆของวัดอรุณ ที่ท่านพระเกจิอาจารย์ในยุคก่อนๆของวัดอรุณได้สร้างไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเกียรติประวัติแด่ท่านพระเกจิอาจารย์ของวัดอรุณในอดีต และจะเป็นมาตรฐานในการศึกษาค้นคว้าต่อไปของอนุชนรุ่นหลังที่สนใจในวัตถุมงคลของสายวัดอรุณ ทีมงานกะฉ่อนพระเครื่องขอขอบคุณ คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์) ที่ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกบางส่วนที่ท่านได้ฟังจากคุณลุงกวี อรรถโกวิทซึ่งคุณลุงกวี ท่านก็ได้ฟังตกทอดมาจากคุณปู่กร อรรถโกวิท พ่อของท่าน ซึ่งเป็นคนเก่าคนแก่ผู้รู้จริงและทันในเหตุการสร้างวัตถุมงคลหลายๆพิธีของวัดอรุณ และได้เอื้อเฟื้อภาพวัตถุมงคแท้ๆของวัดอรุณ ที่หาชมได้ยากแล้วในปัจจุบันนี้

1.เหรียญพระปรางค์ วัดอรุณ ปี 2489
เป็นเหรียญที่สร้างครั้งแรกในคราวที่สมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอรุณฯ จากการที่ท่านเป็นคนเพชรบุรีอีกทั้งยังเป็นศิษย์น้องของท่านหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เหรียญรุ่นนี้จึงได้นิมนต์ท่านพระครูญาณวิลาศ (แดง)วัดเขาบันไดอิฐ มาอธิษฐานจิตและปลุกเสกให้
และยังมีเกจิผู้เรืองวิทยาคมในยุคนั้นอีกมากมายถึง 108 รูปเพราะในปีพ.ศ. 2489 เป็นปีที่มีการสมโภชฉลองการบูรณปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดอรุณด้วย โดยเฉพาะสายวัดสุทัศก็มากันครบทีม เช่นท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ผู้สร้างตำนานพระกริ่งต่อจากสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ เป็นต้นจึงนับได้ว่าเป็นเหรียญที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่งทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และบารมีของหลวงพ่อแดง แห่งวัดเขาบันไดอิฐและสมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) แห่งวัดอรุณ เหรียญพระปรางค์ วัดอรุณราชวราราม รุ่นแรก ปี 2489 คลิ๊ก

เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506

2.เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506
พิธีปลุกเสกเหรียญรุ่นนี้น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ท่านที่ศัทธาในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินไม่ควรพลาด พิธีปลุกเสกในครั้งนั้นทางวัดอรุณ โดยท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) เจ้าอาวาสวัดอรุณฯในสมัยนั้น
ท่านได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์ผู้เข็มขลังในพุทธาคมในยุคนั้นถึง 108 รูป มาทำพิธีพุทธาภิเษกเหรียญรุ่นนี้ไว้อย่างเต็มเปี่ยม จึงทำให้เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506 รุ่นนี้ น่าใช้ น่าเลี่ยมขึ้นคอเ ป็นอย่างยิ่ง เหรียญรุ่นแรก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณ ปี 2506 คลิ๊ก

พระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ

3.พระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ
วัตถุมงคลของท่านพระครูลืมนั้น พระครูภาวนาวิจารณ์ (ลืม)ท่านได้สร้าง พระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าเบญจภาคีพระชัยวัฒน์ โดยท่านพระครูลืมท่านเป็นศิษย์ในสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) วัดอรุณราชวรารามและสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ท่านจึงได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์เป็นอย่างมาก เมื่อครั้งที่ท่านได้คิดที่จะสร้างพระชัยวัฒน์นั้น สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์
จึงได้มอบชนวนพระกริ่งของท่านแก่ท่านพระครูลืมเพื่อเป็นมวลสารในการหล่อพระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ และท่านสมเด็จสังฆราชแพและท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) ยังได้ร่วมปลุกเสก พระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณให้ด้วยทำเนียบเบญจภาคีพระชัยวัฒน์นั้นประกอบไปด้วย 1.พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา วัดจักรวรรดิ 2.พระชัยวฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว 3.พระชัยวัฒน์สมเด็จสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ 4.พระชัยวัฒน์หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง 5.พระชัยวัฒน์พระครูลืม วัดอรุณ( แจ้ง) พระชัยวัฒน์ พระครูลืม วัดอรุณ หนึ่งในห้าเบญจภาคีพระชัยวัฒน์ คลิ๊ก

4.พระผงน้ำมันวัดอัมพวา คุณค่าระดับ'พระสมเด็จ'
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) วัดอรุณได้สร้างพระผงน้ำมันนี้ขณะครองวัดอรุณฯ แล้วนำไปบรรจุไว้ที่วัดอัมพวา เมื่อครั้งที่ท่านได้ไปบูรณะวัดนี้ราวปี ๒๔๕๐ เนื่องจากท่านเกิดและเติบโตบริเวณวัดอัมพวา ซึ่งในขณะนั้นมีสภาพใกล้เป็นวัดร้างเต็มที นอกจากนี้ท่านเจ้าประคุณยังได้นำชุดนี้ไปบรรจุกรุอีกหลายวัด ย่านบ้านช่างหล่อ พรานนก ซึ่งเป็นวัดที่เกี่ยวข้องกับท่านเจ้าประคุณทั้งสิ้น เช่น วัดนาคกลาง วัดดงมูลเหล็ก รวมทั้งที่กรุเจดีย์เล็กวัดอรุณฯ ซึ่งถูกขโมยเจาะเจดีย์เพื่อล้วงเอาพระมาแล้วครั้งหนึ่งในคืนฝนตก
เมื่อปี ๒๕๐๓แต่พระชุดนี้ชาวบ้านและวงการพระเครื่องเรียกกันจนคุ้นหูว่า พระผงน้ำมันวัดอัมพวา เนื่องจากมีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่วัดนี้ เมื่อปี ๒๔๘๔ คราวสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยพระครูแป้น รชโฏ เจ้าอาวาสวัดอัมพวา ครั้งนั้นได้นำพระออกมาแจกเพื่อบำรุงขวัญทั้งทหาร ตำรวจ และชาวบ้านในย่านนั้น ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีรถไบางกอกน้อย อันเป็นที่ตั้งกองกำลังสำคัญของทหารญี่ปุ่น เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ถูกเครื่องบินทิ้งระเบิดไม่เว้นแต่ละวัน ว่ากันว่า คนที่มีพระผงน้ำมันวัดอัมพวา รอดตายจากเหตุการณ์สงครามครั้งนั้นทุกคน

5.พระสมเด็จวัดอรุณราชวราราม ปี 09 หลังตราแผ่นดินเล็ก(ผสมพระสมเด็จวัดระฆังและพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก)

ในปี พ.ศ. 2509 ทางวัดอรุณโดย ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณในสมัยนั้นได้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้นที่ วัดอรุณราชวราราม เป็นพิธียิ่งใหญ่มากในสมัยนั้น โดยทางวัดอรุณได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์จากทั่วประเทศจำนวน 108 รูปและตามใบฝอยของวัดในสมัยนั้นยังระบุไว้อย่างชัดเจนถึงพระเกจิอาจารย์รูปที่ 109 ที่ไม่ได้มาในพิธีแต่ได้ร่วมปลุกอยู่ที่วัดของท่านโดยจะส่งกระแสจิตมาร่วมปลุกเสกในพิธีนี้ พระเกจิอาจารย์รูปที่ 109 ท่านนั้นก็คือ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิตย์ วัดเทพศิรินทราวาส กทม ส่วนมวลสารผสมผงศักดิ์สิทธิ์จากทั่วประเทศ(ตามแจ้งในใบฝอยของทางวัด) ระบุว่าสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ในวาระครบ 100 ปี ของพระเครื่องสมเด็จฯพระพุฒาจารย์ฯ (โต ) พรหมรังษี โดยทางวัดอรุณได้ผสมมวลสารจาก ผงจากพระสมเด็จวัดระฆังที่แตกหัก ผงจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่แตกหัก ผงจากพระสมเด็จวัดเกศไชโยที่แตกหัก โดยเฉพาะผงจากพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่แตกหักนั้นในใบฝอยของวัดอรุณในสมัยนั้นระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ผสมลงในพระสมเด็จวัดอรุณรุ่นนี้อย่างเข้มข้น จุดสังเกตุของพระสมเด็จ วัดอรุณรุ่นนี้คือ ด้านหลังพระสมเด็จรุ่นนี้จะประทับตราแผ่นดิน(เล็ก) ไว้ทุกองค์ พระสมเด็จวัดอรุณราชวราราม ปี 09 หลังตราแผ่นดินเล็ก คลิ๊ก

6.พระสมเด็จ หลวงตาจันทร์ วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2493

พระสมเด็จ วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2493 รุ่นนี้ได้สร้างและปลุกเสกโดยเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมถึงสองรูปคือ ท่านหลวงตาจันทร์ วัดอรุณและท่านหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปรการ เพราะท่านหลวงตาจันทร์ คณะ 4 วัดอรุณ องค์นี้ท่านเป็นสหธรรมมิกที่มีความสนิทสนมกับท่านหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปรการ เป็นอย่างมาก ถึงขนาดถ้าท่านหลวงปู่เผือกมากิจนิมนต์หรือมาธุระในกรุงเทพแล้ว ท่านหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว ท่านจะต้องมาจำพรรษาที่ คณะ 4 วัดอรุณ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชากับท่านหลวงตาจันทร์อยู่เป็นประจำ ซึ่งพระพิมพ์พระสมเด็จของท่านหลวงตาจันทร์ วัดอรุณ หลายๆพิมพ์ก็จะไปเหมือนพระพิมพ์พระสมเด็จหลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว อย่างไม่ผิดเพี้ยน จะต่างก็ตรงใต้ฐานพระพิมพ์สมเด็จของท่านหลวงตาจันทร์ จะมีขีดตรงแนวดิ่งที่กลางเส้นกรอบด้านล่างขององค์พระ เซียนพระในสมัยก่อนจะเอาพระสมเด็จของท่านไปลบรอยขีดออกเพื่อเอาไปเล่นหาเป็น พระสมเด็จของหลวงปู่เผือกวัดกิ่งแก้ว เพราะมีราคาเช่าหาที่แพงกว่า พระสมเด็จ หลวงตาจันทร์ วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2493 คลิ๊ก

7.เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี ปี 2561
เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี ปี 2561 จัดสร้างโดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมรัตนดิลก กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณ รูปปัจจุบัน เป็นเหรียญพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งประวัติศาสตร์ ที่จัดสร้างขึ้นในวาระฉลองกรุงธนบุรี มีอายุครบรอบ 250 ปี เป็นครั้งประวัติศาสต์ของวัดอรุณราชวรารามที่จัดให้พิธีบวงสรวงหน้าองค์พระปรางค์วัดอรุณ ด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีความเชื่อมาแต่ครั้งโบราณว่า คือจุดศูนย์รวมพลังแห่งทวยเทพที่ปกปักรักษาองค์พระปรางค์วัดอรุณ ซึ่งบนยอดพระปรางค์วัดอรุณนั้นได้มีการอัญเชิญองค์พระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้แต่ครั้งโบราณกาล ซึ่งส่งผลให้พิธีบวงสรวงในครั้งนั้นเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ พระอาทิตย์ทรงกรดต่อหน้าผู้คนนับพันที่เข้าร่วมในพิธี

และจัดให้มีพิธีมหาพุทธา-มหาเทวาภิเศกใหญ่ที่สุดในรอบ 250 ปี ณ พระอุโบสถน้อย ที่ประดิษฐานพระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม โดยสุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมในยุคปัจจุบัน เป็นเหรียญพระเจ้าตากแห่งตำนานประวัติศาสตร์นับตั้งแต่มีการสร้างกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี ในวาระฉลองกรุงธนบุรีมีอายุครบรอบการสร้าง ๒๕๐ ปี เป็นเหรียญพระเจ้าตากสินมหาราชที่มากด้วยประสพการณ์แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้เคารพรักและศรัทธาในพระองค์ท่านที่นำไปห้อยบูชา จนเหรียญทั้งสองรุ่นนี้โด่งดังเป็นข่าวในหน้าสื่อหนังสือพิมพ์หลายฉบับ เป็นที่รู้จักต้องการเสาะแสวงหาของท่านผู้ที่มีใจรักเคารพและศรัทธาในพระองค์ท่านทั่วประเทศและทั่วโลกที่มีพี่น้องคนไทยพักอาศัยอยู่ ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ(คลิ๊ก)

8.ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณ และ 9.ภาพถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด หลวงปู่นาค วัดอรุณ ปี 2475 พร้อมประวัติวิธีการสร้างวัตถุมลคลอันศักดิ์สิทธิ์ของท่าน 

หลวงปู่นาคท่านมีความรู้ทั้งในด้านพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐาน พร้อมทั้งยังมีวิทยาคมสูงมาก ท่านได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายจนหมดสิ้น ทั้งวิชาลงหนังหน้าผากเสือ วิชาลงผ้าประเจียดแดง ซึ่งเป็นที่ลือเลื่องของหลวงพ่อหว่าง ขนาดมีนกมาเกาะอยู่ในบริเวณวัด เคยมีคนมาลองยิงยังยิงไม่ออก

ภาพถ่ายข้าวหลามตัด หลวงปู่นาค วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2475 ด้านหน้า-ด้านหลัง ของ คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์)

หลวงปู่นาคท่านได้เคยแจกรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดในปี พ.ศ.2475 เนื่องในโอกาสทำบุญครบ 5 รอบอายุ 60 ปี ซึ่งจริงๆแล้วท่านหลวงปู่นาค ท่านไม่มีเจตนาจะสร้างรูปกระจกข้าวหลามตัดนี้เลย แต่ด้วยเพราะบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านในสมัยนั้นเห็นว่าปีนี้เป็นงานฉลองวันเกิดครบ 5 รอบอายุ 60 ปีของท่าน และก็อยากจะได้รูปถ่ายของท่านไว้บูชาเพื่อเป็นศิริมงคลกัน

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณ แบบมีเชือกควั่นลงรักปิดทอง และแบบไม่มีเชือกควั่นลงรัก ยุคต้นๆของท่านที่ทำแจกหายากมากๆทั้งสองดอกของ คุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์)

จึงได้ไปขอให้ท่านหลวงปู่นาคสร้างรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด ท่านหลวงปู่นาคจึงบอกว่าถ้าอย่างนั้นท่านไม่ขอยุ่งเกี่ยว ถ้าอยากได้กันจริงๆก็ให้ไปหาท่านพระอาจารย์พา วัดระฆังเพื่อขอคำแนะนำเพราะท่านพระอาจารย์พา วัดระฆังท่านได้ทำรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดแบบนี้ขึ้นมาก่อนเมื่อปี 2471 เมื่อทำรูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัดเสร็จแล้ว ลูกศิษย์จึงนำมาถวายท่านหลวงปู่นาคให้ท่านปลุกเสก และแจกในงานฉลองวันเกิดครบ 5 รอบอายุ 60 ปีของท่านดังที่ได้กล่าวมาแล้ว รูปถ่ายติดกระจกข้าวหลามตัด หลวงปู่นาค วัดอรุณ ปี พ.ศ. 2475 คลิ๊ก

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณดอกนี้แบบมีเชือกควั่นลงรักปิดทองยุคต้นๆของท่านที่ทำแจกหายากมากๆของ คุณวิทย์ วัดอรุณ

และท่านหลวงปู่นาคท่านยังได้สร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ เพื่อไว้แจกแก่ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดจะไม่แจกพร่ำเพรื่อ เพราะตามตำราการทำตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาคที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายนั้น ท่านจะต้องทำพิธีปลุกเสกตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ของท่านได้เฉพาะปีที่มีเสาร์ห้าเท่านั้น ซึ่งในสมัยนั้นหากลูกศิษย์ลูกหาคนใดอยากได้ ตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณของท่านหลวงปู่นาคเอาไว้บูชา

ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่ชนะการประกวดมาสองงานของ คุณวิทย์ วัดอรุณ

ส่วนใหญ่จะพากันมาสั่งหนังเสือที่ร้านเจ้ากรมเป๋อหน้าวัดสามปลื้ม เหตุเพราะในสมัยนั้นใครมีของป่าและยาสมุนไพรป่าก็จะนิยมนำมาขายหรือฝากขายที่ร้านนี้ เมื่อได้มาแล้วจะนำส่วนหน้าผากของเสือมาตัดแบ่งตามขนาดใหญ่เล็กแล้วแต่ขนาดของหน้าผากเสือที่ได้มา ถ้าเล็กก็ประมาณ 1 นิ้วหากใหญ่ก็ไม่เกิน 2 นิ้วต่อ 1 ชิ้นหนังหน้าผากเสือ

ใบประกาศที่ชนะการประกวด ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณของ คุณวิทย์ วัดอรุณใบที่ 1

ซื่งเสือหนึ่งตัวจะสามารถตัดแบ่งหนังหน้าผากได้ไม่กี่ชิ้น จากนั้นจะนำมาแช่น้ำเพื่อขูดขนออกให้เกลี้ยง แล้วนำมาฝนให้หนังหน้าผากเสือมีความหนาที่บางลง เพื่อง่ายต่อการจารและม้วนเป็นตะกรุด เมื่อได้หนังหน้าผากเสือตามขนาดที่ต้องการแล้วก็จะนำมาถวายให้ท่าน หลวงปู่นาคท่านจะทำพิธีจารอักขระเลขยันต์ตามสูตร เมื่อจารอักขระเลขยันต์เสร็จแล้ว ท่านจะทำการม้วนตะกรุดโดยใช้ด้ายสายสินเล็กๆมาควั่นเพื่อมัดให้หนังเสือแห้งอยู่ตัวไม่คลายออก

ใบประกาศที่ชนะการประกวด ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณของ คุณวิทย์ วัดอรุณใบที่ 2

ซึ่งในยุดหลังๆปลายชีวิตท่านหลวงปู่นาค ท่านจะให้พระเณรหรือลูกศิษย์วัดในกุฎิของท่านทำการควั่นเชือกตะกรุดแทนท่าน เมื่อเสร็จในขั้นตอนนี้แล้วก็จะทำการลงรักเพื่อรักษาให้หนังเสือมีการรัดตัวและมีอายุการใช้งานคงทนยืนนาน ซึ่งหนังเสือที่นำมาลงรักนั้นจะมีทั้งยังมีเชือกที่ควั่นไว้และไม่มีเชือกที่ควั่นไว้ก็มี และมีทั้งการลงรักแล้วปิดทองและไม่ปิดทองก็มี

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ที่ได้รับตกทอดจากคุณตาคุณตามิ่ง(ยังมีชีวิตอยู่) ซึ่งดอกนี้คุณตามิ่งได้รับจากมือท่านหลวงปู่นาค ในสมัยเป็นเด็กวัดที่ตามมารับใช้ท่านที่วัดอรุณหลังงานปลงศพของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายในปี พ.ศ.2476

เมื่อเสร็จสมบูณ์เป็นตะกรุดหนังหน้าผากเสือแล้วท่านหลวงปู่นาค ท่านจะเริ่มปลุกเสกของท่านไปเรื่อยๆเพื่อรอให้ถึงฤกษ์เสาร์ห้าในปีนั้นๆ จึงจะทำพิธีปลุกเสกใหญ่ในวันเสาร์ห้าอีกครั้ง เมื่อเสร็จจากพิธีปลุกเสกใหญ่ในวันเสาร์ห้าแล้ว หลวงปู่นาคท่านจึงจะทำการแจกจ่ายกับศิษย์ที่ศัทธา หรือศิษย์ที่ได้นำหนังหน้าผากเสือฝากมาไว้ให้ท่านทำพิธีให้ จะเห็นได้ว่าด้วยขั้นตอนวิธีการทำที่สลับซับซ้อนของการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่าน หลวงปู่นาค วัดอรุณ จึงทำให้ได้ตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ที่มีจำนวนค้อนข้างน้อย

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณของลูกชายคุณตาม้วนซึ่งเป็นคุณลุงของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ที่ได้รับตกทอดจากคุณตาม้วน(เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งดอกนี้คุณตาม้วนพี่ชายคนกลางของคุณตามิ่ง ก็ได้รับจากมือท่านหลวงปู่นาค ในสมัยเป็นเด็กวัดที่ตามมารับใช้ท่านที่วัดอรุณหลังงานปลงศพของหลวงพ่อหว่าง วัดเทียนถวายในปี พ.ศ.2476

และมีจำนวนการสร้างที่มีจำนวนจำกัดเป็นอย่างยิ่ง จึงทำให้เป็นที่ใฝ่หาของบรรดาท่านที่นิยมศรัทธาในองค์หลวงปู่นาค วัดอรุณ เป็นอย่างยิ่ง จนในยุคปัจจุบันนี้จะหาตะกรุดหนังหน้าผากเสือวัดอรุณ ของท่านจริงๆชมกันได้ยากยิ่ง ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ นั้นเข้มขลังมาก มีประสบการณ์มากมาย ถึงขนาดใครใส่ตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านเดินผ่านคอกวัวควายในสมัยนั้น วัวควายยังตื่นกลัววิ่งหนีแตกตื่นกันอย่างลนลาน ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ พระพิมลธรรม(หลวงปู่นาค วัดอรุณ) วัดอรุณราชวราราม คลิ๊ก

เด็กชายทั้งสามท่านในภาพนี้ เคยไปรับใช้อยู่กับหลวงปู่นาค เริ่มแรกเป็นคุณตากุ ตอนอยู่วัดสุทัศน์ ปี 2463 และตามมาคุณตาม้วน ตามิ่ง ประมาณปี 2476 หลังจัดงานศพท่านอาจารย์ท่าน หลวงปู่สว่าง วัดเทียนถวาย ปทุมธานีทั้งสามท่านนี้เป็นคุณตาของ คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก

ป.ล.ขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ เป็นเรื่องที่ผู้เขียนสงสัยมาหลายสิบปี เพราะเป็นเพียงการได้ฟังมาจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท ซึ่งท่านก็ฟังมาจากคุณปู่กร อรรถโกวิท ซึ่งเป็นพ่อของท่านอีกที จึงยังมีข้อสงสัยในใจอยู่อีกหลายอย่าง แต่เมื่อได้มารู้จักกับคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ซึ่งคุณตาทั้งสามท่านของคุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ท่านเคยมารับใช้ท่านหลวงปู่นาคอยู่ที่วัดอรุณในสมัยที่ท่านหลวงปู่นาคท่านยังมีชีวิตอยู่ คือ 1.คุณตากุ 2.คุณตาม้วน 3.คุณตามิ่ง ก่อนที่พวกท่านและชาวปทุมธานีอีกหลายท่าน จะเดินทางกลับไปอยู่ที่วัดเทียนถวายเมื่อท่านหลวงปู่นาคท่านได้มรณะภาพลง ผู้เขียนจึงได้ไหว้วานขอให้คุณอนุสิษฐ์ บุญมากไปช่วยสอบถามถึงขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ จากคุณตามิ่งให้อีกครั้ง เพื่อยืนยันถึงสิ่งที่ได้รับรู้มาจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท ว่าจะตรงกันหรือไม่(ซึ่งขณะที่ทำการบันทึกนี้ คุณตามิ่งท่านยังมีชีวิตอยู่) ก็ได้ข้อมูลที่ตรงกันคือ "เมื่อม้วนตะกรุดหนังหน้าผากเสือเสร็จแล้ว ท่านหลวงปู่นาคท่านจะเอาด้ายสายสินเส้นเล็กๆสีขาวมาควั้นเพื่อยึดตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านไว้เพื่อไม่ให้คลายตัวออก" จึงได้ลงบันทึกการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของท่านหลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่ถูกต้องนี้ไว้ เพื่อมิให้ขั้นตอนการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่นาค วัดอรุณที่ถูกต้องได้สูญหายไป

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆและภาพถ่ายจาก คุณอนุสิษฐ์ บุญมาก ซึ่งคุณตาของคุณอุสิษฐ์ทั้งสามท่านเคยมาเป็นเด็กวัดดูแลรับใช้อยู่กับหลวงปู่นาค ที่วัดสุทัศน์ตลอดจนถึงวัดอรุณ ท่านทั้งสามได้เล่าเหตุการณ์ตอนที่ท่านได้มาดูแลรับใช้ท่านหลวงปู่นาคให้แก่คุณอนุสิษฐ์ฟังอย่างละเอียด เริ่มแรกคือคุณตากุ(เสียชีวิตแล้ว) ตอนที่อยู่วัดสุทัศน์ ปี พ.ศ. 2463 และต่อมาเป็นคุณตาม้วน(เสียชีวิตแล้ว)และตามิ่ง(ยังมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันอายุเก้าสิบกว่าปี) สองท่านหลังตามท่านหลวงปู่นาค มาจากปทุมธานี หลังจากที่ท่านหลวงปู่นาคไปเป็นแม่งานจัดงานศพปลงให้กับท่านพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่สว่าง วัดเทียนถวาย ที่ปทุมธานี เมื่อปี พ.ศ. 2476 ท่านที่สองที่ทางทีมงานกระฉ่อนต้องขอขอบคุณคือ คุณวิทย์ วัดอรุณ ที่ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกบางส่วนที่ท่านได้ฟังจากคุณลุงกวี อรรถโกวิท(เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งคุณลุงกวีท่านก็ได้ฟังตกทอดมาจาก คุณปู่กร อรรถโกวิท(เสียชีวิตแล้ว) พ่อของท่านซึ่งเป็นคนเก่าคนแก่ผู้รู้จริงและทันในเหตุการสร้างวัตถุมงคลของ หลวงปู่นาค และวัตถุมงคลของวัดอรุณในยุคก่อนปี พ.ศ.2500 อีกหลายรุ่นหลายพิธี และคุณวิทย์ วัดอรุณ(อัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์) ยังได้เอื้อเฟื้อภาพวัตถุมงคแท้ๆของ หลวงปู่นาค วัดอรุณ ที่หาชมได้ยากแล้วในปัจจุบันนี้มาให้ชมกัน

ขอบันทึกไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์และเทอดเกียรติคุณแด่ ท่านพระพิมลธรรม(นาค สุมนนาโค) พระผู้เป็นที่รักและเคารพยิ่งของพวกเราชาววัดอรุณ บันทึกเมื่อ วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2556

ร่วมบันทึกโดย วิทย์ วัดอรุณ

หนังสือพิมพ์กะฉ่อนดอมคอม แว่น วัดอรุณ รายงาน

.....

วัตถุมงคลเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี        
วัตถุประสงค์   
1.เพื่อหารายได้เข้ากองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม จำนวน 1,000,000 บาท               
2.สร้างพระผงของขวัญแจกฟรีแก่ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทั่วประเทศ จำนวน 50,000 เหรียญ                                                

รายการวัตถุมงคล เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี    

ลำดับที่ 1 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 3.5 เซนติเมตร    
1.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 22 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 75,000 บาท  
1.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 2,000 บาท   
1.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 400 บาท       
1.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 300 บาท    
1.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 200 บาท  

ลำดับที่ 2 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขนาด 2.5 เซนติเมตร    
2.1 เนื้อทองคำ น้ำหนัก 10 กรัม ขึ้น - ลง จำนวนการสร้าง 59 เหรียญ บูชาเหรียญละ 38,000 บาท  
2.2 เนื้อเงิน จำนวนการสร้าง 800 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
2.3 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา สร้าง 8 สี 1.ลงยาสีธงชาติ 2.ลงยาสีแดง 3.ลงยาสีเหลือง 4.ลงยาสีชมพู 5.ลงยาสีเขียว 6.ลงยาสีส้ม 7.ลงยาสีฟ้า 8.ลงยาสีม่วง จำนวนการสร้างสีละ 800 เหรียญ รวมสร้าง 6,400 เหรียญ บูชาเหรียญละ 350 บาท       
2.4 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช จำนวนการสร้าง 6,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 250 บาท    
2.5 เนื้อทองแดง จำนวนการสร้าง 10,000 เหรียญ บูชาเหรียญละ 150 บาท   

ลำดับที่ 3  เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เนื้อผงพุทธคุณ 108     
3.1 ฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ จำนวนการสร้าง 300 เหรียญ บูชาเหรียญละ 1,500 บาท   
3.2 ฝังตะกรุดเงิน 1 คู่ จำนวนการสร้าง 500 เหรียญ บูชาเหรียญละ 600 บาท

ลำดับที่ 4 เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน)  บูชาชุดละ 12,500 บาท   
(ชุดกรรมการ 1 ชุด ได้รับเหรียญทั้งหมด 24 เหรียญ ประกอบด้วย 4.1 เนื้อเงิน ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.2 เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา 8 สี ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.3 เนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร  4.4 เนื้อทองแดง ทั้งขนาด 3.5 เซนติเมตร และขนาด 2.5 เซนติเมตร 4.5 เนื้อผงพุทธคุณ 108 แบบฝังตะกรุดทองคำ และแบบฝังตะกรุดเงิน) 

รายนามพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสก เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี
1.พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม กรุงเทพฯ
2.พระภาวนาวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์) วัดประดู่ พระอารามหลวง สมุทรสงคราม
3.พระครูสุวรรณโชติวุฒิ (หลวงพ่อตี๋) วัดหูช้าง นนทบุรี

4.พระครูวิลาศกาญจนธรรม (หลวงพ่อเล็ก) วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
5.พระครูภาวนาภัทรคุณ (ท่านพ่ออติโชติ) วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
6.พระครูยติธรรมานุยุต (หลวงพ่อแป๊ะ) วัดสว่างอารมณ์ นครปฐม

7.พระครูประภาสธรรมทัต (หลวงพ่อป้อม) วัดหนองม่วง ราชบุรี
8.พระปลัดอำพล ฐิตปุญฺโญ (หลวงพ่ออ๊อด) วัดหูช้าง นนทบุรี 
9.พระครูสมุห์คำนวน ปริสุทฺโธ (หลวงพ่อนวล) วัดแก้วเจริญ สมุทรสงคราม
10.พ่อครูศิริพงษ์ ครุพันธ์กิจ (เกจิฆราวาสผู้เรืองวิทยาคมที่มีความศรัทธาในพระองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง)

รายนามคณะกรรมการการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่มมหาเศรษฐี

ประธานฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคุณะภาค๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายสงฆ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระวชิรรัตนาภรณ์ ดร. (ชุมพร) เลขาเจ้าคุณะภาค๙ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

ที่ปรึกษาฝ่ายฆราวาส การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พ่อครูศิริพงศ์ ครุพันธ์กิจ

ประธานการจัดสร้าง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณอัครวิทย์ รัตนประสิทธิ์ (วิทย์ วัดอรุณ)

ประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.พลเอก ดร.เดชา เหมกระศรี นายกสมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมถ์
2.คุณวันชัย ลาภวิไลพงศ์ (โต วัดอรุณ) ประธาน กต.ตร สถานนีตำรวจนครบาลบางกอกใหญ่
3.คุณธนิตย์ ลี้ชัยศิริมงคล (เสี่ยบุ้ง) เจ้าของร้านทองซิงแสงนภาโกลด์ (SSNP GOLD)
4.คุณเพ็ญจันทร์ ล้อสีทอง ประธานสมาพันธ์สตรีทำความดีแห่งประเทศไทย

รองประธานอุปถัมภ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
1.คุณณัฐกาญจน์ ทรัพย์โภค ฝ่ายประชาสัมพันธ์และแนะแนว คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณยายสมใจ ณ นคร ประธานมูลนิธิ ณ นคร และสายสัมพันธ์

รองประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
คุณจารุวัตร จันทร์โพธิ์ศรี(อาจารย์ไก่ ทิพยจักร)

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ การจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พลโท ชัยธัช สุวรรณกาญจน์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก
พลโท โกศล ชูใจ ที่ปรึกษาพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม
พลเรือโท ธัชพงศ์ บุษบง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพเรือ
ท่านพิทักษ์ อบสุวรรณ อัยการอาวุโส สำนักงานคดียาเสพติด
ท่านสุภาภรณ์ นิปวณิชย์ อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดียาเสพติด 9
ท่านชิติพัทธ์ คงมาก อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและการบังคับคดีจังหวัดราชบุรี
ท่านอาณัติ ศรีสุดดี อัยการจังหวัดชัยบาดาล
พันเอก(พิเศษ) มหินท์ ตุงคะเศรณี ผู้อำนวยการกองการศึกษา โรงเรียนทหารสารวัตร
พันเอก(พิเศษ) เสกสรรค์ พรหมศักดิ์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12
คุณณรงค์ วโรดมสถาน (ออด) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)
คุณปริญญา แก้วตัน (ล้าน) กรรมการบริหารสมาคมผู้สื่อข่าวต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย)

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี
พระครูพิสิฐสรวุฒิ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูพิสุทธิสรคุณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม
พระครูสมุห์ประครอง สุปติฏฺฐิโต วัดอรุณราชวราราม
พระมหาสุวิทย์ ปวิชฺชกิตฺติ วัดอรุณราชวราราม
พระมหากนกพล ธมฺมธีโร วัดอรุณราชวราราม
พระมหาณัฐนนท์ เขมานนฺโท วัดอรุณราชวราราม
พระมหาไตรภพ ติสฺสนาโค วัดอรุณราชวราราม
พระมหาหัสดี จรณธมฺโม วัดอรุณราชวราราม 
พระครูปลัดธนันท์รัฐ โชติธมฺโม วัดประยุรวงศาวาส

คุณฉัตรชัย ทองสวัสดิ์
คุณสมบัติ ทองสวัสดิ์ ประธานชุมชนปรกอรุณ
คุณวรวิทย์ โชคขจิตสัมพันธ์  ประธานชุมชนลานมะขาม-บ้านหม้อ  
คุณสมโภชน์ สูงโพธิ์  ประธานชุมชนข้างโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน
คุณนพรัตน์ มงคลวิเชียร (แว่น วัดอรุณ)
คุณสมเกียรติ เสิศกาญจนาพร (หยอง วัดอรุณ)
คุณประพัฒน์ จันทร์วันเพ็ญ (แต๊บ วัดอรุณ)
คุณกฤษณะ เนาว์สถาน (นะ เมืองเพชร)
คุณกมล เล้าโสภาภิรมย์ (เตี้ย สวนทะเล)
คุณสรยุทธ์ จุลเจริญนนท์ (ป้อม punk berry)
คุณจันทร์ดาราอัปสร รัตนประสิทธิ์ (อาจารย์ฝนทิพย์)
คุณบัญชา ปานนิวัฒน์ (ป๋าชู วัดเศวต)
คุณสุชาดา ปานนิวัฒน์ (เจ้แป้น วัดเศวต)
คุณวิโรจน์ หอมหวาน (ทนายโรจน์ เพชรบุรี)
คุณมนตรี วิไลสมสกุล (ติ๊ก จันทบุรี)
คุณชลัช ชมเจริญ (กุ้ง ท่าพระจันทร์)